ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

Equivalent terms

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

Associated terms

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

2 Archival description results for ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

2 results directly related Exclude narrower terms

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ชำแหละทับหลังฯ อย่าให้ไฟไหม้ฟาง

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของประสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ตกลงมาที่พื้นและแตกออกเป็นสองซีก หลักฐานรูปแรกสุดได้ถ่ายไว้สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2472 อีก 31 ปีต่อมา นายมานิต วัลลิโภดม จากกรมศิลปากรถ่ายรูปไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ต่อมา กรมศิลปากรจึงได้พิมพ์เป็นหนังสือ หลังจากนั้นทับหลังก็หายไป ซึ่งกรมศิลปากรไปติดตามได้คืนมาชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันติดอยู่ที่ปราสาทพนมรุ้งแล้ว เมื่อ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับเชิญไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งที่สถาบันชิคาโกด้วยได้พบทับหลังตั้งแสดงอยู่ที่นั่น จึงได้รายงานถึงกรมศิลปากรให้ดำเนินการติดต่อขอคืนในปี พ.ศ. 2519 และเงียบหายไปเป็นเวลากว่า 10 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2531 จึงมีการติดต่อ และส่งคืนให้ในที่สุด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล