ประติมากรรม -- ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ประติมากรรม -- ไทย

Equivalent terms

ประติมากรรม -- ไทย

Associated terms

ประติมากรรม -- ไทย

2 Archival description results for ประติมากรรม -- ไทย

2 results directly related Exclude narrower terms

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

มหิษมรรททินี

การประชุมสภาศึกษาวัฒนธรรมทมิฬระหว่างชาติ ครั้งที่ 2 (Second International Congress of Tamil Studies) ณ เมืองมาดราส ประเทศอินเดีย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-8 ม.ค. 2511 ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษพร้อมฉายภาพนิ่งประกอบเรื่อง มหิษมรรททินีในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปมหิษมรรททินี (Mahisa – marddini) หรือมหิษาสุรมรรทินี (Mahisasuramardini) ที่พบในประเทศไทยรูปนี้ เป็นประติมากรรมศิลาสูงทั้งเดือย 1.60 เมตร ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ลักษณะเป็นภาพสลักนูนสูงรูปพระอุมาหรือนางทุรคา 4 กร ประทับยืนอยู่บนศีรษะควาย กล่าวได้ว่าได้รับแบบมาจากประเทศอินเดีย สมัยราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ประติมากรรมแบบนี้จัดว่าเก่าที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล