สถาปัตยกรรม -- อินเดีย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

สถาปัตยกรรม -- อินเดีย

Equivalent terms

สถาปัตยกรรม -- อินเดีย

Associated terms

สถาปัตยกรรม -- อินเดีย

5 Archival description results for สถาปัตยกรรม -- อินเดีย

Only results directly related

มหาวิหารโพธิที่พุทธคยาและการจำลองแบบ

ต้นพระศรีมหาโพธิและวัชราสน์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับตรัสรู้ ถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มหาวิหารโพธิที่พุทธคยา คงสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์กุษานะ แทนที่อาคารไม่มีหลังคาซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อาคารนี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมหลายครั้ง ประกอบด้วยเรือนธาตุขนาดใหญ่ ซึ่งมีวิหารสำคัญตั้งอยู่ภายในและลานชั้นบนรองรับยอด 5 ยอด ทั้งเรือนธาตุและยอดก่อด้วยอิฐมีลายปูนปั้นประดับ
เอ. บี. กริสโวลด์ (A.B. Griswold) เชื่อว่า ประเทศต่างๆ ได้มีการจำลองแบบเพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปถึงประเทศอินเดียหรือเกาะศรีลังกาสามารถเคารพบูชาแทนได้ เช่น วิหารโพธิที่เมืองพุกาม วิหารที่วัดมหาโพธารามที่เมืองเชียงใหม่ วิหารชเวคูคยีที่เมืองหงสาวดี วิหารวูตาซือ และวิหารปิยุนซูที่กรุงปักกิ่ง วิหารมหาโพธิที่เมืองปาตานในประเทศเนปาล เจดีย์เจ็ดยอดที่เมืองเชียงราย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 1]

ก่อนการมีศิลปะอินเดียอย่างแท้จริง มีศิลปะของเมืองฮาระปาและโมฮนโจ-ทาโรในลุ่มน้ำสินธุราว 1450 ก่อนพุทธกาล ที่มีการจัดการผังเมืองอย่างเป็นระบบ และตราประทับที่ส่วนใหญ่เป็นรูปสัตว์ และเทวดานั่ง ศิลปะแบบอินเดียอย่างแท้จริงสมัยที่ 1 คือศิลปะของสัญจี สมัยราชวงศ์โมรยะ และศุงคะ ราว พ.ศ. 250-650 มีสูปที่พัฒนาจากเนินดินฝังศพ ถ้ำที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมเครื่องไม้คือถ้ำภัชชา เบทสา กาลี เป็นต้น ส่วนประติมากรรมคือเสาพระเจ้าอโศก ที่ได้อิทธิพลแบบกรีก ส่วนสมัยที่ 2 ราว พ.ศ. 550-950 มีศิลปะกรีกภายในรูปพุทธศาสนา ที่น่าจะเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าทำพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 2]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี โดยมีการยกตัวอย่างประติมากรรมต่าง ๆ ในศิลปะอินเดียระยะนั้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นพร้อมกับอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะอมรวดีนั้น มีการเน้นความเคลื่อนไหวอย่างมาก
ในช่วงหลัง เป็นบทความแนะนำศิลปะคุปตะและศิลปะหลังคุปตะ มีการกล่าวถึงพระพุทธรูปที่สารนาถที่มีจีวรเรียบบางเหมือนผ้าเปียกน้ำ รวมถึงกล่าวถึงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม ทั้งในศาสนาพุทธและฮินดู ที่เทวาลัยเทวคฤหะ และถ้ำอชันตา-กาณเหรี เอเลฟันตะด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 3]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะหลังคุปตะเนื่องในศาสนาฮินดูที่ถ้ำเอลโลร่า (สะกดในบทความว่าเอลอระ) ในช่วงหลัง เป็นบทความที่แนะนำศิลปะสมัยที่ 4 ของอินเดีย อันแบ่งเป็นศิลปะทมิฬและศิลปะทางทิศเหนือ กล่าวถึงทั้งสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งมีแนวโน้มทางศิลปะที่หลากหลาย ไม่วาการแบ่งแยกทรงวิมานและทรงศิขระ การแสดงอำนาจของประติมากรรมอินเดียใต้ที่แตกต่างไปจากความอ่อนช้อยและเต็มไปด้วยราคะของประติมากรรมอินเดียเหนือ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณคดีวิจารณ์

การวิจารณ์หนังสือเรื่อง “เจ้าแม่คงคาและยมุนา ณ ประตูศาสนสถานในประเทศอินเดีย” ของนางโอแดต เวียนโนต์ โดยสรุปทฤษฎีวิวัฒนาการของเจ้าแม่คงคาและยมุนาในศิลปะอินเดีย มีการแบ่งขั้นพัฒนาการตามตำแหน่งและความโดดเด่นของเทพีทั้งสองที่ประดับบนกรอบประตู รวมถึงการแพร่กระจายในศิลปะอินเดีย .

Viennot, Odette