การขุดค้นทางโบราณคดี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

การขุดค้นทางโบราณคดี

Equivalent terms

การขุดค้นทางโบราณคดี

Associated terms

การขุดค้นทางโบราณคดี

2 Archival description results for การขุดค้นทางโบราณคดี

2 results directly related Exclude narrower terms

Notes : further notes on Prasat Muang Singh, Kanchanaburi province

บทความใน Journal of Siam Society ใน ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521) เป็นบทความที่วิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมปราสาทเมืองสิงห์ซึ่งอยู่ในระหว่างการขุดแต่งโดยกรมศิลปากร และวิเคราะห์ประเด็นประติมากรรมที่ค้นพบ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

This is an article originally published in the Journal of Siam Society in 1978 focusing on the architecture and the sculpture during the excavation by the Fine Art Department. The article also studies the image of Avalokiteshvara discovered from the site.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สาส์น 2 ศาสตราจารย์ ศจ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ศจ. น.พ. สุด แสงวิเชียร : คนไทยอยู่ที่นี่หรือมาจากไหน?

จดหมายระหว่าง ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เกี่ยวกับคนไทยในดินแดนไทยเมื่อ 4,000 ปี มาแล้ว ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ เคยแสดงปาฐกถาเรื่อง ทับหลัง 4 ชิ้น จากประสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันจังหวัดสระแก้ว) ว่า “ปราสาทที่สร้างอยู่ในดินแดนประเทศไทยนั้น เข้าใจว่าเป็นของช่างอีกพวกหนึ่งไม่ใช่พวกช่างเขมร แต่เป็นช่างที่อยู่ในบริเวณใกล้กับปราสาท” ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด คิดว่า น่าจะเป็นช่างพื้นเมืองซึ่งอาจเป็นคนไทยที่ลอกเลียนแบบจากฝีมือช่างเขมร ซึ่งจากการขุดค้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ว่า อาจมีคนไทยอยู่ในดินแดนไทยอย่างน้อยประมาณ 4,000 ปี แต่ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ เชื่อว่า คนไทยอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนตามหลักทางด้านภาษาศาสตร์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด เห็นด้วยว่า ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโครงกระดูกของคนผิวเหลืองนั้นเป็นคนไทย แต่เสนอสิ่งที่มนุษย์เมื่อ 4,000 ปี ในดินแดนประเทศไทยทำขึ้นใช้ในการดำเนินชีวิต คือ เครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา ลูกรอก (pulley) การควั่นงาช้างทำเป็นลูกปัด และเครื่องขุดทำจากหิน เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล