- TH Subhadradis 02 ACAR-01-053
- Item
- 2512
Part of บทความ
พระพุทธรูปอินเดียแบบคุปตะ เจริญขึ้นทางภาคกลางของประเทศอินเดียในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9-10 และจัดเป็นพระพุทธรูปอินเดียที่งามที่สุด พระพุทธรูปแบบนี้มีประภามณฑลสลักเป็นลวดลายเต็มทั้งแผ่น พระเกศาขมวดกลมนูน มีพระเกตุมาลาประกอบอยู่ข้างบน พระขนงสลักเป็นเส้นนูนชัดเจนและไม่ได้จรดกัน พระเนตรมีม่านพระเนตรข้างบนตัดเป็นเส้นตรง พระศอเป็นริ้ว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน กลุ่มแรกครองจีวรห่มคลุมเป็นริ้ว กลุ่มที่สองริ้วของผ้าจีวรหายไป และมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด 2) แบบประทับนั่ง ครองจีวรห่มคลุมเรียบและนั่งขัดสมาธิเพชรอย่างเดียว 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท ครองจีวรห่มคลุมเรียบไม่มีริ้ว พระพุทธรูปแบบหลังคุปตะเจริญขึ้นหลังสมัยราชวงศ์คุปตะ (ราว พ.ศ. 860-1090) ลงไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธรูปแบบนี้มักเป็นพระพุทธรูปสลักนูน ส่วนใหญ่ไม่มีประภามณฑลประกอบ พระเกตุมาลาเป็นรูปกรวยค่อนข้างสูง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กสลักนูนขึ้นมา และวาดเป็นเส้นตรงเหนือพระนลาฏ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน ครองผ้าจีวรทั้งห่มคลุมและห่มเฉียง 2) แบบประทับนั่ง ครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท มีลักษณะพิเศษ คือ มักแสดงปางปฐมเทศนาและครองจีวรห่มเฉียง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล