- TH Subhadradis 02 ACAR-02-007
- Item
- 2533
Part of บทความ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
254 results directly related Exclude narrower terms
Part of บทความ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 1]
Part of บทความ
การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 2]
Part of บทความ
การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ตะเกียงแบบอาเล็กซานเดรียที่พงตึก (ประเทศไทย)
Part of บทความ
ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ตะเกียงที่ขุดพบที่ตำบลพงตึก จ.กาญจนบุรี เป็นแบบที่ทำขึ้น ณ เมืองอาเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยปโตเลเม และมีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่6 บนฝาตะเกียงที่เปิดใส่น้ำมันเป็นภาพสลักรูปหน้าเทพเจ้า Silenus มีเถาวัลย์ เป็นเครื่องประดับอยู่ข้างบน บนด้ามถือเป็นรูปปลาโลมา ศาสตราจารย์ Picard กล่าวยืนยันถึงการที่ตะเกียงโรมันนี้ได้เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ โดยเทียบเคียงแล้วเก่ากว่าตะเกียงแบบ copte ในพิพิธภัณฑ์ Louvre กรุงปารีส และเป็นสินค้าที่ส่งออกมานอกประเทศโดยการค้าขายทางเรือ ซึ่งแย้งกับความเห็นของ ศาสตราจารย์ Coedes ที่กล่าวว่าตะเกียงนี้คงใช้จุดในที่ฝังศพ.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ที่พักคนเดินทางของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
Part of บทความ
จารึกบทที่ 122 ถึง 126 ของปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา กล่าวถึงที่พักคนเดินทาง 121 แห่ง ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างตามทางเดินที่มีอยู่ในราชอาณาจักรของพระองค์ ที่พักคนเดินทางเหล่านี้สร้างด้วยศิลา ซึ่งมีไฟตรงกับอาคารในจารึกกล่าวไว้ว่ามี 57 แห่ง บนทางระหว่างเมืองพระนคร (อังกอร์) กับราชธานีของประเทศจัมปามี 17 แห่งจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย และมี 44 แห่งบนทาง ซึ่งมีเมืองต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน นายเดอลาจองกีแยร์ จัดไว้ว่าเป็นโบราณสถานแบบ “ปราสาททัพเจย” แต่ นายฟีโนต์ เรียกว่า “ธรรมศาลา” ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เพิ่มเติมไว้ในบทความว่า ที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบในประเทศไทยมี 7 แห่ง ในจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือน จังหวัดบุรีรัมย์ พบ 5 แห่ง คือ ปราสาททมอ ปราสาทบ้านบุ ปราสาทโคกปราสาท ปราสาทหนองปล่อง และปราสาทเทพสถิตย์ ส่วนที่จังหวัดนครราชสีมา พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทห้วยแคน.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
เนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ตามการสำรวจทางอากาศ
Part of บทความ
ตามภูมิศาสตร์ ที่ราบสูงทางตะวันออกของประเทศไทยอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 101 องศา และ 106 องศาทางตะวันออก และระหว่างเส้นแวง 14 องศา และ 19 องศา ทางเหนือ อาจเรียกชื่อว่า ที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีเมืองโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองสำคัญ จากภาพถ่ายทางอากาศมีโบราณสถานจำนวนมาก ในบริเวณเนื้อที่เพียง 1 ตารางไมล์จะมีโบราณสถานที่มีขนาดและอายุต่างกันอยู่ตั้ง 3 หรือ 4 แห่งเป็นอย่างน้อย มีกลุ่มเนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอซึ่งตั้งอยู่เป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ซึ่งอาจแบ่งแยกสถานที่เหล่านี้ได้ดังนี้ ก) เมืองเล็ก ๆ ที่มีการป้องกัน 200 เมือง มีเนินดินหลายเนินซึ่งมีศูนย์กลางร่วมและมีการก่อสร้างที่ได้ระเบียบ เกือบจะเป็นวงกลม ข) ที่ตั้ง “เมืองใหญ่“ 4 แห่ง เป็นแบบคล้ายกันแต่มีช่องว่างกว้างอยู่ระหว่างกำแพงชั้นในและชั้นนอก ค) ที่ตั้งหลายแห่งตั้งอยู่บนพื้นที่เป็นหิน คงจะเป็นส่วนของหมู่เดียวกัน ง) เนินดินที่มีรูปไม่สม่ำเสมอจำนวนหนึ่ง มีการวางแผนผังแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง และคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 3 หมู่ข้างต้น.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 2]
Part of บทความ
ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี โดยมีการยกตัวอย่างประติมากรรมต่าง ๆ ในศิลปะอินเดียระยะนั้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นพร้อมกับอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะอมรวดีนั้น มีการเน้นความเคลื่อนไหวอย่างมาก
ในช่วงหลัง เป็นบทความแนะนำศิลปะคุปตะและศิลปะหลังคุปตะ มีการกล่าวถึงพระพุทธรูปที่สารนาถที่มีจีวรเรียบบางเหมือนผ้าเปียกน้ำ รวมถึงกล่าวถึงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม ทั้งในศาสนาพุทธและฮินดู ที่เทวาลัยเทวคฤหะ และถ้ำอชันตา-กาณเหรี เอเลฟันตะด้วย
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 3]
Part of บทความ
ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะหลังคุปตะเนื่องในศาสนาฮินดูที่ถ้ำเอลโลร่า (สะกดในบทความว่าเอลอระ) ในช่วงหลัง เป็นบทความที่แนะนำศิลปะสมัยที่ 4 ของอินเดีย อันแบ่งเป็นศิลปะทมิฬและศิลปะทางทิศเหนือ กล่าวถึงทั้งสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งมีแนวโน้มทางศิลปะที่หลากหลาย ไม่วาการแบ่งแยกทรงวิมานและทรงศิขระ การแสดงอำนาจของประติมากรรมอินเดียใต้ที่แตกต่างไปจากความอ่อนช้อยและเต็มไปด้วยราคะของประติมากรรมอินเดียเหนือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 4]
Part of บทความ
ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงการเผยแพร่ของวัฒนธรรมอินเดีย ต่อมาได้กล่าวถึงศิลปะชวาภาคกลางในประเทศอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ทั้งสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าจันทิ ประติมากรรมในศาสนาพุทธและฮินดูที่คล้ายกับศิลปะอินเดียอย่างมาก มีการยกตัวอย่างจากบุโรพุทโธและจันทิอื่น ๆ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล