Archaeology

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Archaeology

Equivalent terms

Archaeology

Associated terms

Archaeology

254 Archival description results for Archaeology

254 results directly related Exclude narrower terms

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean

พระธรรมจักรจารึกภาษามคธ ได้มาจากจังหวัดนครปฐม

ธรรมจักรวงหนึ่งที่มาจากการขุดค้นพบระหว่างบริเวณพระปฐมเจดีย์และพระประโทน เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ของพระองค์เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุยุคล ปรากฏจารึกภาษามคธหลายตำแหน่ง ได้แก่ บนขอบกงรอบนอกล้อมรอบลายดอกไม้ บนกำ 15 ซี่ บนขอบล้อมรอบลวดลายซึ่งประดับดุมทั้งชั้นในและชั้นนอก เนื้อความในจารึกกล่าวถึงพระอริยสัจ 4 ประโยชน์แห่งมรรค ญาณ 9 ประการ และลักษณะของธรรมจักร จารึกดังกล่าวเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงวัฒนธรรมสมัยทวารวดี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระธยานิพุทธที่บุโรพุทโธในเกาะชวา

บุโรพุทโธในเกาะชวาเป็นศาสนสถานที่ประกอบด้วยระเบียงในผังสี่เหลี่ยม 4 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นลานวงกลม 3 ชั้น ทั้งนี้ ผนังด้านในของระเบียงผังสี่เหลี่ยมแต่ละชั้นใช้เป็นผนังด้านนอกของระเบียงชั้นต่อไปขึ้นไปข้างบนจึงทำให้ระเบียงมี 4 ชั้น แต่ผนังมี 5 ชั้น
ที่ผนังระเบียงเหล่านี้นอกจากจะแกะสลักภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีการประดิษฐานประติมากรรมพระพุทธรูปภายในซุ้ม โดยพระพุทธรูปในแต่ละชั้นแสดงปาง (มุทรา) ต่างกัน ส่วนลานวงกลมด้านบนประดิษฐานสถูปเจาะรูเล็ก ๆ ภายในสถูปแต่ละองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปาง (มุทรา) เดียวกัน สถูปเหล่านี้เรียงรายเป็นแถว 3 แถวล้อมรอบสถูปใหญ่ผนังทึบไว้ตรงกลาง ภายในสถูปองค์นี้ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ
ศาสตราจารย์ ฟัน โลฮุยเซน เดอ ลิว ศึกษาตีความทางประติมานวิทยาของพระพุทธรูปกลุ่มดังกล่าว สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปที่ผนังระเบียง 4 ชั้นแรกแทนพระธยานิพุทธเจ้าประจำทิศหลักทั้ง 4 ทิศ ส่วนพระพุทธรูปในระเบียงชั้นที่ 5 เป็นพระสมันตภัทรในสถานะพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ส่วนพระพุทธรูปภายในสถูปที่เจาะรูเล็ก ๆ หมายถึงพระมหาไวโรจนะ เป็นพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ 6 ส่วนประติมากรรมที่อยู่ภายในสถูปองค์กลางอาจสัมพันธ์กับนิกายที่นับถือพระวัชรสัตว์และพระวัชรธรในสถานะสูงสุด.

Van Lohuizen-de Leeuw, J.E.

ผลอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้ Radiocarbon ทดลองอายุพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย

การใช้ Radiocarbon ทดลองอายุของพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ครั้งแรกใน พ.ศ. 2504 ส่งตัวอย่างแกนดินเผาไป 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์ ภาคเหนือ ผลการทดลองพบว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1709-1904 ชิ้นที่สองมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์สมัยสุโขทัยจากวัดพระเชตุพนฯ ผลการทดลองให้อายุระหว่าง พ.ศ. 2148-2198 ต่อมาได้ส่งตัวอย่างไปทดลองซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มตัวอย่างชิ้นที่ 3 จากพระพุทธรูปที่มีจารึกบอกศักราชที่สร้างไว้เพื่อ่ใช้เป็นการบังคับได้ว่าผลจากการทดลองเหล่านี้เชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด ผลการทดลองสรุปได้ว่า การทดลองอายุของพระพุทธรูปด้วยการใช้ Radiocarbon ไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ เนื่องจากอายุของแกนดินซึ่งอยู่ภายในพระพุทธรูปไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอายุของพระพุทธรูปเหล่านั้นด้วย การทดลองอายุของ Radiocarbon ควรใช้เป็นเพียงหลักฐานสำหรับสนับสนุนเท่านั้น การกำหนดอายุตามแบบศิลปหรือตามหลักฐานอื่น ๆ อาจจะได้ผลแน่นอนกว่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมสัมฤทธิ์พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

กรมศิลปากรค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 ขนาดความสูงเฉพาะองค์ 140 เซนติเมตร รวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร คงหล่อขึ้นในศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย ระหว่าง พ.ศ. 1600-1650
ศาสตราจารย์ บวสเซอลีเย่ เห็นว่าเป็นประติมากรรมซึ่งมีแกนในเป็นดินพร้อมกับแกนในเป็นเหล็ก คงเป็นรูปของทวารบาล และมีลักษณะพิเศษคือ เป็นสัมฤทธิ์ชุบทองและหล่ออย่างดี เดิมคงตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลาง หรืออาจตั้งอยู่ภายในมุขหน้าปราสาทหลังนั้น หรือตั้งอยู่หน้าปราสาทองค์ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นปราสาทหลังที่สำคัญที่สุด รูปนี้น่าจะเป็นรูปของนันทิเกศวร หรือนันทีเกศวร โดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ทั้งนี้ ประติมากรรมนี้มีรอยแตกยาวอยู่บนทั้งประติมากรรมและฐาน ควรค้นหาวิธีหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของรายแตกแยกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ให้มีสนิมเกิดเพิ่มขึ้น สำหรับการจัดแสดงต้องมีเครื่องยึดภายใต้รักแร้เพื่อป้องกันมิให้ระดับที่ข้อเท้าต้องแตกแยกออก และจัดไว้ในตู้กระจกที่ป้องกันความชื้นได้.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 18]

นักวิชาการพยายามจัดกลุ่มเครื่องดินเผาที่พบในประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มแรกคือ เครื่องดินเผาสมัยเมืองพระนคร ซึ่งยังสามารถจัดเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 1) ภาชนะเนื้อดินปนทราย ไม่มีเคลือบ มีเคลือบไม่สม่ำเสมอ หรือเคลือบสีน้ำตาลแก่ และ 2) เครื่องดินเผาเนื้อดินค่อนข้างแดงมีเคลือบสีน้ำตาล
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังพบเครื่องดินเผากลุ่มอื่น ๆ อีก คือ 1) เครื่องดินเผาสมัยหลังเมืองพระนคร 2) เครื่องถ้วยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 3) เครื่องถ้วยจีน 4) เครื่องถ้วยไทย 5) เครื่องถ้วยต่างประเทศอื่น ๆ 6) พระพิมพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 17]

มีนักวิชาการศึกษาเครื่องดินเผาในศิลปะขอมไม่มากนัก ในบทความนี้แบ่งเครื่องดินเผาออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) เครื่องดินเผาที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม และ2) ภาชนะดินเผา โดยในกลุ่มเครื่องดินเผาที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคสมัย คือ สมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร สำหรับกลุ่มภาชนะดินเผา แบ่งออกเป็น 2 สมัย ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนคร และสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 16]

ประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยหลังเมืองพระนครสามารถแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ประติมากรรมขนาดเล็ก เครื่องใช้ในกิจพิธีและเครื่องใช้สอย เชิงเทียน กระดึง ภาชนะต่าง ๆ เครื่องม้า และอาวุธ ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงรักษารูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร แต่บางส่วนแสดงถึงอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะไทย นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ ของศิลปะเขมรทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร ที่น่าศึกษา ได้แก่ เครื่องเหล็ก เครื่องทองและเงิน (ในบทความใช้คำว่า “เครื่องเพชรพลอย) โดยในกลุ่มหลังนี้ ประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอย แม่พิมพ์เครื่องประดับ ที่ประทับตรา และเงินตรา.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.

Boisselier, Jean

Results 41 to 50 of 254