Archaeology

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Archaeology

Equivalent terms

Archaeology

Associated terms

Archaeology

254 Archival description results for Archaeology

254 results directly related Exclude narrower terms

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 2]

การเข้าร่วมประชุมสภาผู้มีความรู้ด้านตะวันออกระหว่างชาติครั้งที่ 27 โดยได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนไปยังกรุงวอชิงตันดีซี และนครนิวยอร์ค ก่อนที่จะเดินทางไปยังนครลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อเยี่ยมเยียนผู้รู้จักและหาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก และกรุงปารีส เข้าชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก เยี่ยมศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และเดินทางกลับประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ ทุก ๒ ปี ครั้งที่ ๒ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ หรือ International Council of Museums (ICOM) ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 17-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ผู้เขียนเป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าประชุมในแผนกพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งพิจารณาปัญหาสำคัญต่าง ๆ เช่น เรื่องพิพิธภัณฑ์ในโบราณสถาน การแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชาติของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ และการขุดค้นทางโบราณคดี การใช้แสงไฟฟ้าในพิพิธภัณฑ์ หนทางและวิธีการที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์และประชาชนที่พิพิธภัณฑ์นั้นรับใช้ การป้องกันอัคคีภัยในพิพิธภัณฑ์ ความร่วมมือกันในการจัดแสดงศิลปะระหว่างชาติ แผนการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ สเกลแสดงถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ นอกจากนั้น UNESCO ยังเสนอให้ประเทศสมาชิกส่งภาพศิลปวัตถุสถานต่าง ๆ ของตนมายัง UNESCO สิ่งละ 4 ภาพ เพื่อแบ่งแยกเก็บไว้ในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ในอนาคตถ้าตัวศิลปวัตถุสถานถูกทำลายไปในสงครามจะได้มีภาพเก็บไว้ให้ดูได้ต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

กำหนดอายุปราสาทพนมรุ้ง

การขุดแต่งและบูรณะปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ทำให้พบข้อมูลที่อาจกำหนดอายุสมัยของปราสาทแห่งนี้ได้ราว 5 สมัย คือนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงพุทธศตวรรษที่ที่ 18 สิ่งก่อสร้างสำคัญที่กำหนดอายุได้เก่าที่สุดลงมาจนถึงใหม่สุดได้แก่ ปรางค์อิฐสององค์ ปรางค์น้อย ปรางค์องค์ใหญ่และระเบียงที่ล้อมรอบ ทางเดินและสะพานนาคและวิหารสองหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อปุจฉาเรื่องบ้านเชียงระหว่าง ดร. สุด แสงวิเชียร กับ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อสงสัยของ ดร.สุด แสงวิเชียร ที่มีต่อบทความเรื่อง Prehistoric art ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล เกี่ยวกับอายุของวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียทดลองอายุโดยวิธี Thermoluminescence พบว่า มีอายุราว 4000 B.C. หรือประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง ดร.สุด แสงวิเชียร ไม่เชื่อถือการหาอายุบ้านเชียงโดยวิธีคาร์บอน 14 ดังกล่าว ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล แจ้งแหล่งข้อมูลบทความการทดลองอายุบ้านเชียงของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียและแหล่งข้อมูลบุคคลชื่อ Dr. H.G. Quaritch Wales พร้อมยืนยันว่า การค้นคว้าทางด้านโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยยังไม่เป็นที่ยุติ เป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้ากันต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อเท็จจริง : พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เคยเล่าว่า เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ไม้สิบสอง ที่วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ความจริงแล้วไม่ใช่เจดีย์องค์เดิมที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยทัย แต่เชื่อว่าเจดีย์ทรงกลมแฝด 2 องค์ ซึ่งคงสร้างสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ น่าจะเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยทัยองค์หนึ่ง และพระราชบุตรีที่สิ้นพระชนม์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งเจดีย์ทรงกลมทั้ง 2 องค์ ได้ถูกรื้อทิ้งไปแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการค้นพบพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แต่ ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม ค้นคว้าพบว่า เจดีย์ไม้สิบสององค์นี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะและขุดค้นภายในพระเจดีย์ดังกล่าว ปรากฏว่าได้ค้นพบพระธาตุของพระอรหันต์ใส่ผอบไว้จำนวนมาก แต่ไม่พบพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ

การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ 3 เรื่อง 1) ปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละ โดยทั่วไป ประวัติศาสตร์สมัยโบราณในประเทศกัมพูชาสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (pre-Angkorean period) และมีอายุก่อน พ.ศ. 1355 นั้น นิยมใช้ชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น ศาสตราจารย์โคลด ชาค (Claude Jacques) ศาสตราจารย์เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ศาสตราจารย์ฟิโนต์ (Louis Finot) ศาสตราจารย์ดูปองต์ (P. Dupont) 2) เดิม ศาสตราจารย์เซเดส์ เขียนไว้ในหนังสือว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอมทรงเป็นเชื้อชาติมาลายู และเสด็จขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เปลี่ยนความเห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นจ้าชายขอมแต่ดั้งเดิม 3) หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นซากโบราณสถานที่เนินทางพระ พบวัตถุสำคัญที่สลักจากศิลาคือ องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืน เศียรพระพุทธรูป ประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น เศียรพระพุทธรูปหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็ก และพระพิมพ์ เครื่องประดับปูนปั้นรูปเทวดา มนุษย์และยักษ์ ประติมากรรมปูนปั้นในศาสนาฮินดู เศียรเทวดา ครุฑ ลวดลายพันธุ์พฤกษา แผ่นอิฐมีจารึกตัวอักษรขอมว่า “ ก “ และเครื่องมือเหล็กสำหรับสกัดศิลา หลักฐานที่ค้นพบนี้ยืนยันว่า เมืองสุวรรณปุระในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา คงจะเป็นเมืองสุพรรณบุรีของไทยอย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ถ้ำงาม ปัจจุบันเรียกว่า ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. มีภาพใหญ่สลักอยู่บนผนังถ้ำทางด้านซ้ายใกล้กับปากถ้ำ เป็นภาพนูนต่ำพระพุทธรูปทรงแสดงปางประทานธรรม (วิตรรกะ) ประทับนั่งห้อยพระบาท (ประลัมพปทาสน์) อยู่บนบัลลังก์ ทรงครองจีวรด้วยการยึดชายผ้าอุตราสงค์ไว้ ด้านซ้ายเป็นรูปพระอิศวรประทับอยู่ในท่าสบายพระทัย (ลลิตาสน์) และมีลักษณะเป็นนักบวช เทวรูปพระนารายณ์ทรงศิราภรณ์คล้ายกับประติมากรรมบางรูปจากเมืองศรีเทพ คือ สวมหมวกรูปทรงกระบอกมีรัศมีเป็นรูปไข่ หรือวงโค้งหลายหยัก จักรของพระนารายณ์มีขนาดใหญ่มาก ดูค่อนข้างแปลก ส่วนรูปเทวดากำลังเหาะทั้งทรงผม เครื่องแต่งกายและท่าทาง ทำให้นึกถึงภาพนูนต่ำปั้นด้วยปูนหรือดินเผาที่พบทางแถบภาคตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สรุปว่า ทั้งพระพุทธรูป เทวรูปพระอิศวร และพระนารายณ์ในถ้ำพระโพธิสัตว์ อาจจัดอยู่ในศิลปะทวาราวดีได้อย่างแท้จริง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 1]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่า เริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 2]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่า เริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 71 to 80 of 254