Archaeology

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Archaeology

Equivalent terms

Archaeology

Associated terms

Archaeology

5 Archival description results for Archaeology

5 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]

บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 6]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) แต่เดิมในอินเดีย ลัทธิไวษณพนิกายเชื่อว่าพระวาสุเทพเป็นเทวดาสูงสุด ต่อมาในสมัยราชวงศ์คุปตะจึงเปรียบเทียบพระวาสุเทพ หรือพระกฤษณะคือพระนารายณ์ ซึ่งในช่วงนี้เองที่ส่งอิทธิพลไปยังอาณาจักรขอม ชื่อของพระนารายณ์ปรากฏในคัมภีร์และจารึกต่าง ๆ โดยมีการเรียกนามแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละนามแสดงถึงปรัชญาที่คล้ายคลึงกับลัทธิไศวนิกาย พระนารายณ์คือพระพรหมันสูงสุด สิ่งมีชีวิตเบื้องต้น และสิ่งมีชีวิตที่สูงสุด เป็นเทพทั้งสามที่ออกมาเป็นต้นเหตุแห่งการเกิด การักษา และการทำลายของจักรวาล ในส่วนประติมานานวิทยาของพระนารายณ์เกี่ยวข้องกับการอวตารซึ่งมีถึง 39 ปาง เทวรูปนายรายณ์แสดงเป็นเทวรูป 8 กร หรือ 4 กร พระหัตถ์ทั้งถือสิ่งของต่าง ๆ รูปพระนารายณ์แสดงปางกวนเกษียรสมุทร รูปพระนารายณ์ทรงครุฑซึ่งอาจอยู่พร้อมกับพระศรีและพระภูมิพระชายาของพระนารายณ์ และรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์

Bhattacharya, Kamaleswar

ศิลปะจาม

ศิลปะจามอาจแบ่งออกได้เป็น 6 สมัย ดังนี้ 1) ศิลปะสมัยก่อนฮัวลาย ราวพุทธศตวรรษที่13 2) ศิลปะสมัยฮัวลาย ราวพุทธศตวรรษที่14 3) ศิลปสมัยดงเดือง ราวพุทธศตวรรษที่15 4) ศิลปสมัยเมซอน A1 (มิเซิน A1) ราวพุทธศตวรรษที่ 15 -16 5) ศิลปะสมัยบิญดิ่ญ ราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 6) ศิลปสมัยหลัง ราวพุทธศตวรรษที่ 19-23 ทั้งนี้ งานศิลปกรรมของชาวจามที่ยังสามารถศึกษาได้คือ สถาปัตยกรรมและลวดลายเครื่องประดับ และประติมากรรม โดยในแต่ละยุคสมัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล