Archaeology

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Archaeology

Equivalent terms

Archaeology

Associated terms

Archaeology

3 Archival description results for Archaeology

3 results directly related Exclude narrower terms

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย

วัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยจากที่พบในหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal มีทั้งหมด 11 ชิ้น ดังนี้ 1) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11 2) รูปเทพธิดาศิลาทราย 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูง 1.10 เมตร สมัยทวาราวดี 4) พระพิมพ์ดินเผารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 12 เซนติเมตร 5) รูปพระอิศวรศิลาสูงประมาณ 70 เซนติเมตร มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 6) แผ่นทองดุนนูนเป็นรูปพระอิศวร สูง 17 เซนติเมตร อาจมาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 7) แผ่นเงินดุนนูนเป็นรูปพระพุทธองค์ สูง 14 เซนติเมตร อาจค้นพบจาก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 8) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนสูง 51 เซนติเมตร ศิลปทวาราวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สูง 22 เซนติเมตร คาดว่าค้นพบทางภาคใต้ของประเทศไทย 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร เป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดและงามที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาประติมากรรมซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Pierre Dupont : l'archeologie mone de Dvaravati : a review

The late Professor Dupont's great book has been warmly welcomed not only by specialists in Southeast Asian art and archaeology throughout the world , but also by many members of the general public in Thailand, among whom the interest in archaeology is steadily growing.
The book is dedicated by the author to his distinguished teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont thanks whose who helped to prepare the work for publication after her husband's death. Then, after a short preface by the author, comes the text itself, consisting of 9 chapters (almost 300 pages). Finally there are inventories of the objects discovered in the excavations of Davaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc. There are 24 pages of drawings, plans and maps, and 541 photographs. He ends with a briefer summary of the enduring influence of certain other types of Dvaravti image, and of Dvaravati architecture associated with the Theravada.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลาจารึกภาษามอญ ที่เมืองลำพูน หลักที่ 1

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) ซึ่งแรกตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่า ได้พบศิลาจารึกภาษามอญ 7 หลัก ที่เมืองลำพูน เดิมคืออาณาจักรหริภุญชัยในสมัยโบราณและบริเวณใกล้เคียง ดังนี้ วัดดอน (วัดดอนแก้ว) วัดกู่กุด วัดแสนข้าวห่อ วัดมหาวัน วัดบ้านหลุย (วัดบ้านหลวย) และวัดต้นแก้ว (จารึกวัดดอนแก้ว ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 4 ไม่ได้มีการแปลในบทความนี้) ปัจจุบันรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย ตัวอักษรที่ใช้จารึกภาษามอญนั้นรูปร่างของตัวอักษรมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ใช้ในจารึกภาษามอญในรัชกาลของพระเจ้ากยันซิตถา ที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า (พ.ศ. 1628 - 1656) แต่จารึกภาษามอญที่เมืองลำพูนจารึกขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 และใกล้เคียงกับภาษามอญในสมัยปัจจุบันมากกว่า ทั้งมีคำหลายคำที่ไม่เคยค้นพบในจารึกภาษามอญโบราณในประเทศพม่า ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 1 จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ1 (วัดดอนแก้ว) จารึกจากวัดดอน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ.1) ขุดค้นพบที่วัดดอน เมื่อ พ.ศ. 2460 จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 35 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าสววาธิสิทธิ ทรงสถาปนาวัดเชตวันเมื่อพระชนมายุได้ 26 พรรษา ต่อมา เมื่อพระชนมายุได้ 31 พรรษา โปรดให้สร้างกุฏิ และเสนาสนะแด่ภิกษุสงฆ์ อีกทั้งจารพระไตรปิฎกไว้เป็นจำนวนมาก มีการสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ ทางด้านหน้าของวัดเชตวัน โดยพระเจ้าสววาธิสิทธิ พระชายา 2 พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระโอรส โดยมีการกล่าวถึงบริเวณที่ตั้งของเจดีย์ ซึ่งเรียงกันจากทิศตะวันออกไปหาทิศตะวันตก และการผนวชของพระเจ้าสววาธิสิทธิ และพระราชโอรส 2 พระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า มหานาม และ กัจจายะ ตามลำดับ โดยพระมหาเถระนามว่า ราชคุรุ เป็นประธานในการผนวช ในขณะนั้นพระเจ้าสววาธิสิทธิทรงมีพระชนมายุได้ 32 พรรษา

Halliday, Robert