Archaeology

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Archaeology

Equivalent terms

Archaeology

Associated terms

Archaeology

2 Archival description results for Archaeology

2 results directly related Exclude narrower terms

โบราณวัตถุสถานสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและการอนุรักษ์

โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยแบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนที่ชนชาติไทยจะเข้าปกครองประเทศ และสมัยที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศแล้ว สำหรับสมัยแรกแบ่งเป็นศิลปะ 5 แบบย่อย ๆ ได้แก่ 1) โบราณวัตถุรุ่นต้นที่ค้นพบในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-11) เช่น ตะเกียงโรมันสำริด ซึ่งค้นพบที่ ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศิลปะทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) เช่น ศิลาจารึกภาษามอญรุ่นเก่าราวพุทธศตวรรษที่ 12 ค้นพบในเขตจังหวัดนครปฐม และลพบุรี 3) เทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) เช่น ศิวลึงค์ และเทวรูปพระนารายณ์ ค้นพบทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย 4) ศิลปะศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18) เช่น เศษเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ถัง ค้นพบทั้งทางฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย 5) ศิลปะลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-19) พบที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนศิลปะในประเทศไทยเมื่อชนชาติไทยเข้าปกครองแล้ว แบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ 6) ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ 18 ถึง พุทธศตวรรษที่ 23) เจริญขึ้นมาทางภาคเหนือของประเทศไทย 7) ศิลปะสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20) ถือกันว่าเป็นศิลปะที่งามที่สุดของไทย เช่น พระพุทธรูปสุโขทัย เครื่องสังคโลก 8) ศิลปะอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17-20) เช่น พระพุทธรูป พระปรางค์องค์ใหญ่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี 9) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23) เช่น จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องอาภรณ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องลายรดน้ำ 10) ศิลปะรัตนโกสินทร์ (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงปัจจุบัน) มีการเลียนแบบศิลปะจีน และศิลปะตะวันตกเป็นศิลปะแบบผสม (eclectic).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จดหมายเรื่องศิลปแบบเชียงแสน

จดหมายของเอ.บี. กริสโวลด์ ถึง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เพื่อคัดค้านข้อความอ้างอิงในบทความเรื่อง “การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล” ที่ว่า กริสโวลด์เป็นผู้กล่าวว่าการผลิตพระพุทธรูปในศิลปแบบเชียงแสนเพิ่งเริ่มต้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2130) และแสดงความเห็นต่อไปว่า “ศิลปแบบเชียงแสน” ย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งผู้แปลไม่เห็นพ้องกับทฤษฎีของกริสโวลด์และเห็นว่า พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้ม ณ พระเจดีย์ทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวงนั้น แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปเชียงแสนรุ่นแรก เนื่องจากพระเจดีย์องค์นี้อาจสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1800 -1825 อันเป็นระยะแรกของสมัยสุโขทัย แสดงว่าศิลปเชียงแสนรุ่นแรกเกิดขึ้นก่อนศิลปสุโขทัย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล