Archaeology

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Archaeology

Equivalent terms

Archaeology

Associated terms

Archaeology

11 Archival description results for Archaeology

11 results directly related Exclude narrower terms

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean

ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับศิลปะทวารวดี

ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เชื่อว่า อาณาจักรทวารวดีส่วนใหญ่น่าจะตั้งอยู่บนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง จนกระทั่งถึงแถบเมืองเพชรบุรีทางทิศใต้ ศิลปะทวาราวดีมีแบบอย่างในการก่อสร้างที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานประติมากรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปยืนและธรรมจักร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดินแดนที่เป็นอาณาจักรทวาราวดีโดยเฉพาะจากนครปฐม สำหรับศิลปะทวาราวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ได้รับอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยที่แผ่ขยายขึ้นมายังภาคกลางและภาคตะวันออกของแหลมอินโดจีนทั้งหมด แม้จะไม่ได้เข้ามายังอาณาจักรทวาราวดีโดยตรงแต่ก็ทิ้งร่องรอยที่สำคัญไว้ทางสถาปัตยกรรมและลวดลายเครื่องประดับ อันอาจเห็นได้ชัดที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี.

Boisselier, Jean

Pierre Dupont : l'archeologie mone de Dvaravati : a review

The late Professor Dupont's great book has been warmly welcomed not only by specialists in Southeast Asian art and archaeology throughout the world , but also by many members of the general public in Thailand, among whom the interest in archaeology is steadily growing.
The book is dedicated by the author to his distinguished teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont thanks whose who helped to prepare the work for publication after her husband's death. Then, after a short preface by the author, comes the text itself, consisting of 9 chapters (almost 300 pages). Finally there are inventories of the objects discovered in the excavations of Davaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc. There are 24 pages of drawings, plans and maps, and 541 photographs. He ends with a briefer summary of the enduring influence of certain other types of Dvaravti image, and of Dvaravati architecture associated with the Theravada.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 3]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. Now the objects of the Lopburi style will be described.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี

ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิจารณ์แบบศิลปในประเทศไทย ของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนมีความเห็นตรงกันกับ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เห็นว่า คำว่า สมัยทางประวัติศาสตร์ และแบบของศิลปะนั้น เป็นระยะเวลาต่างกัน ไม่ควรนำมาใช้ปะปนหรือใช้แทนกัน แต่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ใช้คำว่าศิลปะมอญ แทนคำว่า ศิลปะทวาราวดี พร้อมทั้งยอมรับว่า คำว่า ศิลปะลพบุรี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมตามที่ ดร.พิริยะ กล่าว สำหรับศิลปะไทยที่เสนอให้แบ่งออกตามท้องถิ่น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะคงจะมีมากมายหลายสกุลช่างจนเป็นการยุ่งยากแก่นักศึกษา รวมทั้งเรื่องที่เสนอให้นำศิลปะอู่ทองมารวมกับ ศิลปะอยุธยา และเรียกว่า ศิลปะอยุธยา ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่า เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา และเสนอให้เรียกศิลปะก่อนหน้านั้นว่าศิลปะอยุธยา ผู้เขียนไม่เห็นด้วย สำหรับการศึกษาศิลปะศรีวิชัย หรือศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นคล้อยตามว่าควรจะแยกศึกษาจากกำเนิดที่มาต่าง ๆ กัน นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิจารณ์โบราณวัตถุที่นำมาจัดตั้งแสดงตามรูปในหนังสือ เฉพาะในส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกับ ดร.พิริยะ เท่านั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รอยพระพุทธบาทคู่ที่สระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี

มีการค้นพบโบราณวัตถุชิ้นใหม่ที่สระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี คาดว่าสลักขึ้นในสมัยทวาราวดี อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-15 เชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาท เนื่องจากมีธรรมจักรสลักอยู่บนฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ส่วนหลุมเสาที่อยู่ระหว่างฝ่าพระบาทนั้น ดร.นันทนา ชุติวงศ์ กล่าวว่าอาจทำขึ้นเพื่อรองรับคันฉัตรอันเป็นเครื่องสูงและมักปรากฏอยู่ร่วมกับพระพุทธรูปและสัญลักษณ์แทนพระองค์อื่น ๆ นอกจากนั้น รอยพระทับของฝ่าเท้าไม่ใช่รอยเท้าที่นูนขึ้นเหนือฝ่าเท้าดังตัวอย่างพระบาทคู่อื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

เมืองฟ้าแดด

เมืองฟ้าแดดมีบริเวณล้อมรอบหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กำแพงเมืองประกอบด้วยเชิงเทินดิน มีคูน้ำอยู่กลาง ภายในเชิงเทินมีร่องรอยของเมืองที่เก่าและเล็ก มีพระธาตุยาคู ทางทิศตะวันตกของพระธาตุยาคูมีเนินอีกแห่งหนึ่งซึ่งได้ค้นพบพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ ทิศเหนือของเนินมีสระขนาดใหญ่ ใต้หมู่บ้านเสมามีวัดปัจจุบันชื่อ วัดโพธิศรีเสมา ซึ่งรวบรวมแผ่นหินทรายทำเป็นรูปใบเสมาขนาด 105 x 85 x30 เซนติเมตร ซึ่งค้นพบทั้งในและนอกเชิงเทินเมืองฟ้าแดด บางแผ่นมีภาพสลักศิลปแบบทวาราวดี แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ขั้นที่ 1 มี 4 แผ่น แผ่นที่ 1 แสดงรูปพระพุทธองค์ปางเสด็จลงจากดาวดึงษ์ แผ่นที่ 2 แสดงภาพพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังเมืองกบิลพัสด์ภายหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว แผ่นที่ 3 แสดงภาพเทวดาหรือเจ้าชาย แผ่นที่ 4 แสดงภาพบุคคลกำลังรับคำสั่งจากเจ้าชายและเจ้าหญิงหน้าบรรณ ศาลากลางป่า ขั้นที่2 มี 2 แผ่น สลักแบนกว่าขั้นที่ 1 แผ่นที่1 แสดงรูปเจ้าชายจ้องมองพระพุทธองค์ ซึ่งกำลังประทับอยู่เหนือเมฆ แผ่นที่ 2 แสดงถึงเวสสันดรชาดก ขั้นที่ 3 มี 1 แผ่น แสดงภาพพระพุทธองค์และสานุศิษย์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

แผ่นเงินสมัยทวาราวดีซึ่งขุดพบที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

แผ่นเงิน 66 แผ่น ค้นพบที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในซากพระอุโบสถ (?) ซึ่งเรียกกันว่า อุ่มญาคู ในเมืองคันธารวิสัย ต.คันธาร์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้ขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2515 เมืองคันธารวิสัย มีแผนผังเป็นรูปไข่ มีคูเมืองล้อมรอบอยู่ระหว่างเชิงเทิน 2 ชั้น สิ่งสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ค้นพบในการขุดแต่งซากพระอุโบสถคือ พระพิมพ์ดินเผา ขนาด 14 x 22.5 ซม. เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ภาชนะดินเผาสูง 12.5 ซม. ปากกว้าง 20 ซม. มีแผ่นเงินบุเป็นรูปต่าง ๆ 66 แผ่น อยู่ภายใน ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่าง ๆ กัน ระหว่าง ขนาด 10 x 15 ซม. เป็นแผ่นเงินที่ถูกบุเป็นพระพุทธรูป รูปเทวดาหรือเจ้านาย รูปสถูปและธรรมจักรตั้งอยู่บนยอดเสา ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง อาจสรุปว่าสร้างขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยบุขึ้นในตอนปลายของศิลปะทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 แสดงถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในขณะนั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรม 4 รูป ซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ภายในประเทศไทย

ได้ค้นพบประติมากรรมที่สำคัญ 4 รูป ภายในประเทศไทย 1) เทวรูปพระคเณศศิลา สูง 1.70 เมตร พบ ณ เทวาลัยเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี กำหนดอายุไว้ว่าอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 เทียบได้กับเทวรูปพระคเณศจาก Tuol Phak Kin อีก 3 องค์ พบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ 2) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สูง 47 เซนติเมตร อาจหล่อขึ้นในศิลปะขอมสมัยไพรกเมง อายุราว พ.ศ.1200-1250 3) พระโพธิสัตว์อีกองค์อาจเป็นพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเนื่องจากสัญลักษณ์บนมวยผมหลุดหายไป สูง 1.37 เมตร คงหล่อขึ้นหลังกว่ารูปแรก ระหว่าง พ.ศ.1250-1350 4) พระพุทธรูปสำริด สูง 1.20 เมตร ในศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 11