Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

226 Archival description results for Art History

226 results directly related Exclude narrower terms

จิตรกรรมและประติมากรรมสมัยสุโขทัย

เป็นความจริงที่ว่าศิลปแบบสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปสมัยอื่น ๆ เป็นต้นว่าจากพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย และจากเกาะลังกา แต่ศิลปแบบสุโขทัยนั้นมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะของตนเอง ซึ่งมาจากความชาญฉลาดและความเลื่อมใสในศาสนาอย่างลึกซึ้งของชนชาติไทย
พระพุทธรูปแบบสุโขทัยบางรูป สวยงามมากจนกระทั่งดูคล้ายกับว่ามีลักษณะของสตรีปนอยู่ มีบุคคลเพียงจำนวนน้อยที่ประจักษ์ว่าลักษณะเช่นนี้เกิดจากความเคารพนับถืออย่างลึกซึ้งที่ช่างไทยสมัยโบราณมีต่อพระพุทธองค์ และเกิดจากการทำรูปภาพขึ้นตามมโนภาพดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เป็นของโลกที่ไม่มีตัวตน ซึ่งรูปลักษณะของเพศไม่มีอยู่อีกต่อไป ดังนั้นพระพุทธรูปเป็นของสวรรค์ยิ่งกว่าของโลกมนุษย์

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ตะเกียงแบบอาเล็กซานเดรียที่พงตึก (ประเทศไทย)

ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ตะเกียงที่ขุดพบที่ตำบลพงตึก จ.กาญจนบุรี เป็นแบบที่ทำขึ้น ณ เมืองอาเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยปโตเลเม และมีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่6 บนฝาตะเกียงที่เปิดใส่น้ำมันเป็นภาพสลักรูปหน้าเทพเจ้า Silenus มีเถาวัลย์ เป็นเครื่องประดับอยู่ข้างบน บนด้ามถือเป็นรูปปลาโลมา ศาสตราจารย์ Picard กล่าวยืนยันถึงการที่ตะเกียงโรมันนี้ได้เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ โดยเทียบเคียงแล้วเก่ากว่าตะเกียงแบบ copte ในพิพิธภัณฑ์ Louvre กรุงปารีส และเป็นสินค้าที่ส่งออกมานอกประเทศโดยการค้าขายทางเรือ ซึ่งแย้งกับความเห็นของ ศาสตราจารย์ Coedes ที่กล่าวว่าตะเกียงนี้คงใช้จุดในที่ฝังศพ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับศิลปทางภาคเหนือของประเทศไทย

ศิลปทางภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมดตั้งแต่สมัยแรกลงมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ถูกจัดเป็นศิลปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปแบบสิงห์ถูกจัดเป็นศิลปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ซึ่งเจริญขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1300 และ 1900 แต่กริสโวลด์เห็นว่า พระพุทธรูปแบบสิงห์อยู่ในสมัยเดียวกับศิลปแบบเชียงแสนรุ่นหลัง หรืออาจเรียกชื่อใหม่ว่า “สกุลช่างเชียงใหม่” และเชื่อว่า สกุลช่างแบบเชียงแสนรุ่นแรกไม่ได้ผลิตพระพุทธรูปแบบใดออกมาเลย จากหลักฐานที่ค้นพบบ่งว่า สมัยแห่งการผลิตศิลปกรรมอย่างใหญ่ทางภาคเหนือเริ่มขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ราว พ.ศ. 2000 และพระพุทธรูปที่งามที่สุดทั้งในแบบสิงห์และแบบอื่นๆ คงผลิตขึ้นในระหว่างนั้นจนถึง พ.ศ. 2100 ซึ่งหลักฐานใหม่ที่น่าสนใจที่สุด คือ การค้นพบพระพุทธรูปซึ่งมีจารึกอยู่บนฐานบอกศักราชที่หล่อขึ้นกว่าร้อยองค์ ราว 12 องค์เป็นแบบสิงห์ และมีจารึกว่าหล่อขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2013 ถึง 2066.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 1]

ก่อนการมีศิลปะอินเดียอย่างแท้จริง มีศิลปะของเมืองฮาระปาและโมฮนโจ-ทาโรในลุ่มน้ำสินธุราว 1450 ก่อนพุทธกาล ที่มีการจัดการผังเมืองอย่างเป็นระบบ และตราประทับที่ส่วนใหญ่เป็นรูปสัตว์ และเทวดานั่ง ศิลปะแบบอินเดียอย่างแท้จริงสมัยที่ 1 คือศิลปะของสัญจี สมัยราชวงศ์โมรยะ และศุงคะ ราว พ.ศ. 250-650 มีสูปที่พัฒนาจากเนินดินฝังศพ ถ้ำที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมเครื่องไม้คือถ้ำภัชชา เบทสา กาลี เป็นต้น ส่วนประติมากรรมคือเสาพระเจ้าอโศก ที่ได้อิทธิพลแบบกรีก ส่วนสมัยที่ 2 ราว พ.ศ. 550-950 มีศิลปะกรีกภายในรูปพุทธศาสนา ที่น่าจะเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าทำพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 2]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี โดยมีการยกตัวอย่างประติมากรรมต่าง ๆ ในศิลปะอินเดียระยะนั้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นพร้อมกับอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะอมรวดีนั้น มีการเน้นความเคลื่อนไหวอย่างมาก
ในช่วงหลัง เป็นบทความแนะนำศิลปะคุปตะและศิลปะหลังคุปตะ มีการกล่าวถึงพระพุทธรูปที่สารนาถที่มีจีวรเรียบบางเหมือนผ้าเปียกน้ำ รวมถึงกล่าวถึงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม ทั้งในศาสนาพุทธและฮินดู ที่เทวาลัยเทวคฤหะ และถ้ำอชันตา-กาณเหรี เอเลฟันตะด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 3]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะหลังคุปตะเนื่องในศาสนาฮินดูที่ถ้ำเอลโลร่า (สะกดในบทความว่าเอลอระ) ในช่วงหลัง เป็นบทความที่แนะนำศิลปะสมัยที่ 4 ของอินเดีย อันแบ่งเป็นศิลปะทมิฬและศิลปะทางทิศเหนือ กล่าวถึงทั้งสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งมีแนวโน้มทางศิลปะที่หลากหลาย ไม่วาการแบ่งแยกทรงวิมานและทรงศิขระ การแสดงอำนาจของประติมากรรมอินเดียใต้ที่แตกต่างไปจากความอ่อนช้อยและเต็มไปด้วยราคะของประติมากรรมอินเดียเหนือ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 4]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงการเผยแพร่ของวัฒนธรรมอินเดีย ต่อมาได้กล่าวถึงศิลปะชวาภาคกลางในประเทศอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ทั้งสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าจันทิ ประติมากรรมในศาสนาพุทธและฮินดูที่คล้ายกับศิลปะอินเดียอย่างมาก มีการยกตัวอย่างจากบุโรพุทโธและจันทิอื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 5]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 6]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 7]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงวิวัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม โดยยกตัวอย่างนาคตั้งแต่สมัยพระโคจนถึงศิลปะบายน ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงภาพจำหลักเล่าเรื่องในศิลปะขอม โดยมีการยกตัวอย่างจากปราสาทบันทายสรี นครวัดและบายน (ในบทความเรียกศิลปะบายนว่า “บรรยงก์)

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 151 to 160 of 226