Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

7 Archival description results for Art History

7 results directly related Exclude narrower terms

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 14]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงสถาปัตยกรรมจีนและญี่ปุ่นไปพร้อมกัน โดยเน้นศิลปะญี่ปุ่นมากกว่าเพราะหลงเหลือตัวอย่างมากกว่า เช่น ศาลเจ้าที่มักสร้างขึ้นเลียนแบบของโบราณ วัดโฮริวจิ และศาลาฟินิกซ์ที่เบียวโดอิน
ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะเอเชียกลาง ที่ได้รับอิทธิพลคันธาระผสมผสานกับศิลปะจีน ตะวันตกและอิหร่าน มีการยกตัวอย่างจิตรกรรมที่มิราน กิซีล ดันดันอุยลิค เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 13]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงจิตรกรรมสมัยราชวงศ์ซึ่งมีความเป็นธรรมชาตินิยม นิยมเขียนภาพทิวทัศน์และพันธุ์พืช มีการยกตัวอย่างชิ้นงานพร้อมกับชื่อจิตรกรคนสำคัญ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่น ทั้งระฆังสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมเล่าเรื่องนิทานพื้นเมือง (ยามาโตเอะ) และหน้ากากสำหรับละครโนะ ท้ายสุดกล่าวถึงภาพพิมพ์ในระยะหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 12]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงพุทธประติมากรรมและจิตรกรรมในศิลปะจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งได้รับอิทธิพลอินเดียและส่งอิทธิพลไปถึงศิลปะญี่ปุ่น ในช่วงกลางกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่นทั้งประติมากรรมและจิตรกรรม เช่นที่วัดโฮริวจิ ในช่วงท้ายของบทความพูดถึงศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่งซึ่งจิตรกรรมโดดเด่นกว่าประติมากรรม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 11]

ประติมากรรมในศิลปะสมัยราชวงศ์เว่ย (เว้) สมัยราชวงศ์เหลียง และสมัยราชวงศ์สุย ทั้งรูปสิงห์ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงอิทธิพลพุทธศิลป์จีนต่อศิลปะญี่ปุ่นระยะต้น รวมถึงกล่าวถึงศิลปะจีนในสมัยราชวงศ์ถังด้วย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 10]

ช่วงต้นของบทความให้ข้อมูลสังเขปศิลปะจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งปรากฏเครื่องสัมฤทธิ์และประติมากรรมสลักหิน ในช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงจิตรกรรมภาพม้วนในสมัยราชวงศ์เว่ย (เว้).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 3]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล