Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

52 Archival description results for Art History

52 results directly related Exclude narrower terms

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดีย [ตอนที่ 1]

ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ยังไม่ปรากฏ แต่ช่างจะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น ดอกบัว หมายถึงปางประสูติ ต้นโพธิ์ หมายถึงปางตรัสรู้ และสถูปหมายถึงปางปรินิพพาน แต่พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 คือ ศิลปะคันธารราฐ มถุรา และอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10-11) แบบหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) และแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ มีลักษณะเป็นแบบกรีก-โรมัน แต่พระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะเป็นแบบอินเดียอย่างแท้จริง คือ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาหรือยักษ์ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดีย [ตอนที่ 2]

ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ยังไม่ปรากฏ แต่ช่างจะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น ดอกบัว หมายถึงปางประสูติ ต้นโพธิ์ หมายถึงปางตรัสรู้ และสถูปหมายถึงปางปรินิพพาน แต่พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 คือ ศิลปะคันธารราฐ มถุรา และอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10-11) แบบหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) และแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ มีลักษณะเป็นแบบกรีก-โรมัน แต่พระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะเป็นแบบอินเดียอย่างแท้จริง คือ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาหรือยักษ์ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดียแบบอมราวดี

ศิลปะอมราวดีเจริญขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 ถึงพุทธศตวรรษที่ 9 ร่วมสมัยกับศิลปะคันธารราฐ พระพุทธรูปในศิลปะอมราวดีก็คงได้รับอิทธิพลมาจากศิลปคันธารราฐและมถุราผสมกัน เพราะศิลปะอมราวดีในขั้นแรกใช้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธรูป จนกระทั่งต่อมาภายหลังจึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ พระพุทธรูปแบบอมราวดีแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน มักยืนหันหน้าตรงอยู่บนฐานบัว ครองจีวรทั้งห่มเฉียงและห่มคลุม 2) แบบประทับนั่ง มีเฉพาะในภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น 3) แบบนาคปรก พระพุทธรูปนาคปรกที่เก่าที่สุดตกอยู่ในแบบพระพุทธรูปประทับนั่งห่มเฉียง แบบที่ 2 ในศิลปะอมราวดี เป็นพระพุทธรูปที่มีวิวัฒนาการโดยเฉพาะของตนเองและเจริญขึ้นในศิลปะอมราวดี 4) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พระพุทธรูปแบบนี้แสดงถึงการคิดค้นลักษณะรูปภาพที่สำคัญแบบใหม่ ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องอยู่กับบัลลังก์ซึ่งมีรูปร่างเหมือนม้านั่งหรือเก้าอี้มีท้าวแขน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะ

พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะ อยู่ในช่วงหลังสมัยราชวงศ์คุปตะ ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 9-14 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน เช่น พระพุทธรูปที่สลักหน้าถ้ำอชันตา พระพุทธรูปแบบทวารวดีที่เก่าที่สุดในประเทศไทยก็คงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปกลุ่มนี้ พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะน่าจะรับอิทธิพลจากอินเดียภาคกลาง รวมทั้งอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คันธารราฐ
พุทธลักษณะมีพระเกตุมาลาเป็นรูปกรวยค่อนข้างสูง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กสลักนูนขึ้นมา การครองจีวรมีทั้งแบบห่มคลุมและครองจีวรห่มเฉียง มีทั้งเรียบไม่มีริ้ว และมีริ้ว พระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปในกลุ่มครองจีวรห่มคลุมมักแสดงปางประทานอภัยแต่บางครั้งก็แสดงปางประทานพร ในกลุ่มพระพุทธรูปยืนแบบครองจีวรห่มเฉียงจะยืนด้วยอาการตริภังค์ 2) กลุ่มแบบประทับนั่ง มีการทำพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเป็นจำนวนมาก พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่และแบบพระเกตุมาลาเป็นรูปกรวย มักครองจีวรห่มเฉียง บางองค์แสดงปางประทานปฐมเทศนา เช่นที่ถ้ำอชันตาที่ 27 ปางสมาธิ ปางประทานพร นิยมนั่งขัดสมาธิเพชร อันเป็นประเพณีของศิลปะอินเดียภาคกลางและภาคเหนือ มักประทับนั่งบนฐานบัว 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พบมากสุดที่ถ้ำอชันตา เอารังคาพาท กันเหรี และเอลโลรา พระพุทธรูปแบบนี้มีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง คือ ปางปฐมเทศนา ท่าของพระชงฆ์ พระชานุแยกออกจากกันและข้อพระบาทเข้ามาชิดกัน ผ้าจีวรมักเลิกขึ้นไปเหนือพระชงฆ์และพระโสณีด้านซ้าย ด้วยเหตุนี้ผ้าจีวรจึงคลุมเฉพาะพระชงฆ์ขวา และต่อจากนั้นจึงเลิกขึ้นไปจนถึงบั้นพระองค์เบื้องซ้าย และมักประทับนั่งเหนือบัลลังก์และพระบาทวางอยู่เหนือฐานบัว.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 1]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 2]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 52