Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

11 Archival description results for Art History

11 results directly related Exclude narrower terms

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 12]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 7 สรุป) อาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย เห็นได้ชัดจากจารึกภาษาสันสกฤต และศาสนาที่มาจากคัมภีร์ต่าง ๆ วิวัฒนาการทางศาสนาซึ่งได้รับจากอินเดียแพร่หลายในอาณาจักรขอมอย่างรวดเร็ว ทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย มีหลักฐานจารึกและประติมากรรมที่หลงเหลืออยู่มาก รวมทั้งมีการเคารพบูชาศักติ หรือสัญลักษณ์ของพระนารายณ์และพระอิศวรด้วย การรับอิทธิพลจากอินเดียในอาณาจักรขอมมีการผสมผสานกับประเพณีพื้นเมือง ทำให้มีลักษณะดั้งเดิมของตนเอง แต่ก็อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานของอิทธิพลอินเดียที่เป็นพื้นฐานในศาสนาพราหมณ์

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 9]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระขันธกุมาร ในอาณาจักรขอมไม่พบว่ามีการบูชาอย่างแพร่หลาย มีจารึกและประติมากรรมอยู่เล็กน้อย เป็นรูปพระขันธกุมารมี 2 กร ประทับนั่งเหนือนกยูงและพระกรยึดคอนกยูงอยู่ เทวดาผู้รักษาทิศและเทวดานพเคราะห์ เทวดาผู้รักษาทิศมีจำนวนแตกต่างกันไป มีจำนวน 8 องค์หรือ 10 องค์ สลักเป็นภาพนูนต่ำประจำทิศของอาคาร ชื่อผู้รักษาทิศจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามคัมภีร์สำหรับเทวดานพเคราะห์ ประกอบด้วยเทพ 9 องค์ ตามลำดับคือพระอาทิตย์ พระจันทร์ เทพผู้รักษาทิศ 5 องค์ พระราหู และพระเกตุ มารดา 7 องค์ พบเป็นภาพสลักบนทับหลังแต่ไม่ปรากฏในจารึก คือ รูปนางจามุณฑา นางไอนทรี นางวาราหิ นางไวษณวี นางเกามารี นางมเหศวร และนางพราหมี พระวิศวกรรม พระอินทร์ และพระอัคนี ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระวิศวกรรมได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรก และมีการบูชาอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นการบูชาในฐานะช่างของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เช่นเดียวกับพระอินทร์ด้วย แต่พระอัคนีพบประติมากรรมเพียงองค์เดียว

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 7]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) รูปแบบประติมานวิทยาของพระนารายณ์ที่พบในอาณาจักรขอม ยังมีรูปพระนารายณ์ปางตรีวิกรม หรือตรีบาท พบในภาพเขียนและภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น ในส่วนปราสาทนครวัดมีภาพสลักนูนต่ำที่แสดงพระนารายณ์อวตารเป็นพระรามตามเรื่องราวในคัมภีร์รามายณะ อย่างไรก็ตามการอวตารเป็นพระกฤษณะดูจะสำคัญที่สุด และยังปรากฎรูปวราหาวตาร นรสิงหาวตาร และกูรมาวตาร ซึ่งการบูชาพระนารายณ์ในปางต่างๆแพร่หลายมากในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นอกจากเทวรูปมีการสร้างพระวิษณุบาทเป็นสัญลักษณ์ด้วย พระนารายณ์มีศักติคือพระศรีหรือพระลักษมีและพระเทวีหรือพระอุมา และมีการสร้างรูปของพระชายาทั้งสององค์ จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ซึ่งดินแดนแถบมธุราก็ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาณาจักรขอมด้วย

Bhattacharya, Kamaleswar

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]

บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 7]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะปลาย จำนวน 2 สมัย คือศิลปะนครวัดและศิลปะบายน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาศิลปะสมัยหลังอีก 2 สมัย คือ ศิลปะหลังบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูน มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสุนทรียภาพ.

Boisselier, Jean

Results 1 to 10 of 11