Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

8 Archival description results for Art History

8 results directly related Exclude narrower terms

ตอบคุณปรีดา ศรีชลาลัย

คุณปรีดา ศรีชลาลัย ผู้สนใจในวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ได้กรุณาเขียนบทความเรื่อง "ข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับโบราณคดีไทย" โดยได้พยายามพิสูจน์ว่าชนชาติไทยได้ลงมาอยู่ในแหลมทองหรือประเทสไทยปัจจุบันนี้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนชาติอื่น โดยกล่าวถึงเหตุผลทั้งทางด้านชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อบ้านเมือง แม่น้ำ ภูเขา ในปัจจุบัน ล้วนเป็นชื่อภาษาไทยทั้งสิ้น ลัทธิศาสนาซึ่งชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็ออกเสียงตรงตามสำเนียงคำของอินเดียเป็นส่วนมาก วิชาหนังสือที่ชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็รับสืบสำเนียงคำอ่านออกเสียงสระพยัญชนะ ตรงตามแบบฉบับของอินเดียที่สุด และยังกล่าวถึงหลักฐานจารึกภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดมีอยู่ 2 แห่ง คือที่ถ้ำฤษีเขางู จังหวัดราชบุรี และที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ไปประเทศเวียดนาม

ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาและศึกษาโบราณวัตถุสถานในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 17-30 กันยายน 2525 ซึ่งได้แสดงปาฐกถาเป็นภาษาฝรั่งเศสที่สถาบันโบราณคดีครั้งแรกเรื่อง การค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย กล่าวถึงโบราณวัตถุสำริดซึ่งค้นพบใหม่ที่บ้านดอนตาล จังหวัดนครพนม ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบ้านเชียง ปราสาทขอมที่ค้นพบใหม่ ณ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยเฉพาะการงมเครื่องถ้วยชามจากเรือที่สัตหีบ ครั้งที่ 2 เรื่องศิลปะสมัยคลาสสิคในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-24 ครั้งที่ 3 แสดงปาฐกถาที่สถาบันการศึกษาเกี่ยวกับภาคเอเชียอาคเนย์เกี่ยวกับการตั้งรัฐไทยสมัยโบราณในประเทศไทย ครั้งที่ 4 แสดงปาฐกถาที่สถาบันสังคมศาสตร์ เรื่องการค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ไปชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองดานัง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจามที่ดีที่สุด ปราสาทโพนคร หมู่บ้านจาม ปราสาทโพกลวงการาย และพิพิธภัณฑ์ Blanchard de la Brosse.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยหรือหริภุญชัย ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

พระพุทธรูปทรงเครื่องยืนสำริด สูง 87 เซนติเมตร ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณองค์นี้ ค้นพบที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะของศิลปะต่าง ๆ หลายแบบปะปนกัน เมื่อ พ.ศ. 2513 ผู้เขียนเคยจัดให้อยู่ในสมัยลพบุรี โดยมีอิทธิพลของศิลปอินเดียสมัยปาละเข้ามาปะปน และตีพิมพ์ในหนังสือ ชื่อ ศิลปวัตถุชิ้นเอกของเอกชน (Masterpieces from Private Collection) แต่บัดนี้ผู้เขียนมีความเห็นเปลี่ยนแปลงไป โดยจัดให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปสมัยหริภุญชัยตอนปลายราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากหลักฐานทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะสร้อยคอที่แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยนครวัด หลักฐานจากตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ นอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพุทธรูปยังมีจารึกปรากฏอยู่เป็นตัวอักษรขอมและเป็นภาษาบาลี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี

ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 1]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume mentions the ancient objects of Indian Amaravati or early Singhalese and of Dvaravati styles.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Pierre Dupont : l'archeologie mone de Dvaravati : a review

The late Professor Dupont's great book has been warmly welcomed not only by specialists in Southeast Asian art and archaeology throughout the world , but also by many members of the general public in Thailand, among whom the interest in archaeology is steadily growing.
The book is dedicated by the author to his distinguished teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont thanks whose who helped to prepare the work for publication after her husband's death. Then, after a short preface by the author, comes the text itself, consisting of 9 chapters (almost 300 pages). Finally there are inventories of the objects discovered in the excavations of Davaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc. There are 24 pages of drawings, plans and maps, and 541 photographs. He ends with a briefer summary of the enduring influence of certain other types of Dvaravti image, and of Dvaravati architecture associated with the Theravada.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความคิดเกี่ยวกับพระพุทธรูปนาคปรก ของศาสตราจารย์ ชอง บวสเซอลีเย่

พระพุทธรูปนาคปรกมีอยู่เป็นจำนวนมากในศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะขอมและศิลปะลพบุรี ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปนาคปรกของขอมซึ่งเกิดขึ้นราวตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 ในรัชกาลของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 น่าจะได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปนาคปรกรุ่นเก่าในประเทศไทย ซึ่งเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับศิลปะทางภาคใต้ของประเทศอินเดีย และมีอายุอย่างช้าที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 10 ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ ผู้แปลให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ศิลปะสมัยศรีวิชัยและศิลปะลพบุรีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระพุทธรูปนาคปรกในสมัยนั้นอาจเป็นปางสมาธิหรือปางมารวิชัยก็ได้.

Boisselier, Jean

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean