Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

4 Archival description results for Art History

4 results directly related Exclude narrower terms

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean

ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับศิลปะทวารวดี

ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เชื่อว่า อาณาจักรทวารวดีส่วนใหญ่น่าจะตั้งอยู่บนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง จนกระทั่งถึงแถบเมืองเพชรบุรีทางทิศใต้ ศิลปะทวาราวดีมีแบบอย่างในการก่อสร้างที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานประติมากรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปยืนและธรรมจักร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดินแดนที่เป็นอาณาจักรทวาราวดีโดยเฉพาะจากนครปฐม สำหรับศิลปะทวาราวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ได้รับอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยที่แผ่ขยายขึ้นมายังภาคกลางและภาคตะวันออกของแหลมอินโดจีนทั้งหมด แม้จะไม่ได้เข้ามายังอาณาจักรทวาราวดีโดยตรงแต่ก็ทิ้งร่องรอยที่สำคัญไว้ทางสถาปัตยกรรมและลวดลายเครื่องประดับ อันอาจเห็นได้ชัดที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี.

Boisselier, Jean

Pierre Dupont : l'archeologie mone de Dvaravati : a review

The late Professor Dupont's great book has been warmly welcomed not only by specialists in Southeast Asian art and archaeology throughout the world , but also by many members of the general public in Thailand, among whom the interest in archaeology is steadily growing.
The book is dedicated by the author to his distinguished teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont thanks whose who helped to prepare the work for publication after her husband's death. Then, after a short preface by the author, comes the text itself, consisting of 9 chapters (almost 300 pages). Finally there are inventories of the objects discovered in the excavations of Davaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc. There are 24 pages of drawings, plans and maps, and 541 photographs. He ends with a briefer summary of the enduring influence of certain other types of Dvaravti image, and of Dvaravati architecture associated with the Theravada.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ วัดพระเชตุพนฯ มี พระศรีสรรเพชญ พระพุทธเทวปฏิมากร พระโลกนาถ พระพุทธปูปวัดเขาอินทร์ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระคันธารราฐ วัดมหาธาตุฯ มีพระประธานในพระอุโบสถและวิหาร หอพระสุราลัยพิมาน มีพระพุทธจุลจักร และพระพุทธจักรวรรดิ สมัยรัชกาลที่ 2 ได้แก่ วัดอรุณฯ มีพระพุทธธรรมิสรราช วัดสุทัศน์ฯ มีพระศรีศากยมุนี สมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธนฤมิตร พระพุทธรังสฤษดิ์ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ 34 ปาง วัดพระเชตุพนฯ มีพระไสยาสน์ วัดสุทัศน์ฯ มีพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดราชโอรสฯ มีพระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร วัดกัลยาณมิตรมีพระพุทธไตรรัตนนายก วัดราชนัดดามีพระเศรษฐตมมุนี วัดเฉลิมพระเกียรติมีพระพุทธมหาโลกาภินันท์ สมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ วัดปทุมวันมีพระเสริม วัดคฤหบดีมีพระแซกคำ วัดอัปสรสวรรค์มีพระฉันสมอ พระประธานในอุโบสถวัดเทพธิดาฯ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระสัมพุทธพรรณี ซึ่งประดิษฐานไว้แทนพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเชิญไปไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระนิรันตราย 18 องค์ที่วัดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย วัดอรุณฯ มีพระพุทธนฤมิตและพระอรุณ วัดราชประดิษฐ์มีพระพทุธสิหิงคปฏิมากร พระปฐมเจดีย์มีพระสิหิงค์ วัดปทุมวนารามมีพระใส วัดหงส์รัตนารามมีพระแสน วัดเสนาสน์มีพระอินทร์ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ พระพุทธรูปคันธารราฐ วัดบวรนิเวศมีพระพุทธวัชรญาณ พระพุทธปัญญาอัคคะ พระสมุทรนินนาท วัดเบญจมบพิตรมีพระพุทธอังคีรส พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธนรสีห์น้อย วัดราชาธิวาสมีพระสัมพุทธพรรณีจำลอง วัดนิเวศธรรมประวัติมีประพุทธนฤมลธรรโมภาส ใน พ.ศ. 2500 ได้มีความพยายามที่จะสร้างพระพุทธรูปแบบรัตนโกสินทร์ จึงมอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้คิดแบบ เพื่อให้เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปที่จะประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำหรับพระชัย หรือ พระชัยวัฒน์โปรดฯ ให้หล่อขึ้นทุกรัชกาล และยังมีพระแก้วประจำรัชกาลอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ประดิษฐานอยู่ในหอพระสุราลัยพิมาณในพระบรมมหาราชวัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล