Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

3 Archival description results for Art History

3 results directly related Exclude narrower terms

นางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์สมัยลพบุรี ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายเกี่ยวกับรูปนางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2518 ที่กล่าวว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-14 คือในสมัยระหว่างศิลปขอมสมัยไพรกเมง – กำพงพระ - กุเลน รูปนางปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปสตรีสูง 59 เซนติเมตร พบที่อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี การกำหนดอายุของประติมากรรมรูปนี้กำหนดได้ 2 ทาง คือ จากทรงผมและผ้านุ่ง ทรงผมที่รวบขึ้นไปเป็นมวยและห้อยตกลงมาเป็นวงพร้อมทั้งมีขมวดอยู่ภายใน มีมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร คือ ในสมัยไพรกเมง - กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ 13-14) ส่วนผ้าทรงเป็นผ้านุ่งจีบเป็นริ้วทั้งตัวและนุ่งแบบพับป้ายนั้น ไม่เคยปรากฎในศิลปขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-14) ผู้เขียนยืนยันว่า รูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปรัชญาบารมีสัมฤทธิ์รูปนี้ เป็นประติมากรรมสมัยลพบุรีที่หล่อขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มิใช่ศิลปแบบก่อนขอมราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 5]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ผลอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้ Radiocarbon ทดลองอายุพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย

การใช้ Radiocarbon ทดลองอายุของพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ครั้งแรกใน พ.ศ. 2504 ส่งตัวอย่างแกนดินเผาไป 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์ ภาคเหนือ ผลการทดลองพบว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1709-1904 ชิ้นที่สองมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์สมัยสุโขทัยจากวัดพระเชตุพนฯ ผลการทดลองให้อายุระหว่าง พ.ศ. 2148-2198 ต่อมาได้ส่งตัวอย่างไปทดลองซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มตัวอย่างชิ้นที่ 3 จากพระพุทธรูปที่มีจารึกบอกศักราชที่สร้างไว้เพื่อ่ใช้เป็นการบังคับได้ว่าผลจากการทดลองเหล่านี้เชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด ผลการทดลองสรุปได้ว่า การทดลองอายุของพระพุทธรูปด้วยการใช้ Radiocarbon ไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ เนื่องจากอายุของแกนดินซึ่งอยู่ภายในพระพุทธรูปไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอายุของพระพุทธรูปเหล่านั้นด้วย การทดลองอายุของ Radiocarbon ควรใช้เป็นเพียงหลักฐานสำหรับสนับสนุนเท่านั้น การกำหนดอายุตามแบบศิลปหรือตามหลักฐานอื่น ๆ อาจจะได้ผลแน่นอนกว่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล