Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

4 Archival description results for Art History

4 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรม 4 รูป ซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ภายในประเทศไทย

ได้ค้นพบประติมากรรมที่สำคัญ 4 รูป ภายในประเทศไทย 1) เทวรูปพระคเณศศิลา สูง 1.70 เมตร พบ ณ เทวาลัยเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี กำหนดอายุไว้ว่าอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 เทียบได้กับเทวรูปพระคเณศจาก Tuol Phak Kin อีก 3 องค์ พบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ 2) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สูง 47 เซนติเมตร อาจหล่อขึ้นในศิลปะขอมสมัยไพรกเมง อายุราว พ.ศ.1200-1250 3) พระโพธิสัตว์อีกองค์อาจเป็นพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเนื่องจากสัญลักษณ์บนมวยผมหลุดหายไป สูง 1.37 เมตร คงหล่อขึ้นหลังกว่ารูปแรก ระหว่าง พ.ศ.1250-1350 4) พระพุทธรูปสำริด สูง 1.20 เมตร ในศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

มีการค้นพบประติมากรรมสำริดจำนวนหนึ่ง ที่ปราสาทแห่งหนึ่งในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และถูกนำลักลอบออกนอกประเทศเกือบหมด คงมีเหลืออยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์ของเอกชนเพียง 2-3 รูปเท่านั้น นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ (Albert Le Bonheur) กล่าวถึงรูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูง 46 เซนติเมตร ซึ่งพิพิธภัณฑ์กีเมต์ได้ซื้อไว้ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมสำริดซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัยเหล่านี้ กับอาณาจักรศรีจานาศะ และค้านความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปศรีวิชัยสำหรับลักษณะรูปภาพ (iconography) ของประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย นายเลอบอนเนอได้นำไปเปรียบเทียบกับภาพสลักที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ใกล้กับเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับการกำหนดอายุเห็นว่ายังไม่อาจกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนนางสาวเอมมา ซี บังเกอร์ (Emma C. Bunker) ได้รวบรวมรูปภาพเกี่ยวกับประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย และให้รูปปราสาทอิฐที่ค้นพบประติมากรรมสำริดเหล่านี้ไว้ด้วย แต่ไม่ได้บอกชื่อปราสาท พร้อมทั้งรูปประติมากรรมสำริดที่ค้นพบอีก 24 รูป ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และร้านค้าของเก่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รูปพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย สมัยศรีวิชัยในพิพิธสถานแห่งชาติพระนคร

ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปนี้ ขุดได้ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวบาน แสดงปางปฐมเทศนา พระเกตุมาลาค่อนข้างใหญ่ เครื่องอาภรณ์ประกอบด้วยกุณฑล กรองศอ และพาหุรัด มีสิงห์4 ตัว แบกบัลลังก์บนแท่นซึ่งรองรับฐานบัว มีผ้าทิพย์ห้อยลงมาเป็นรูปครึ่งวงกลม ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง สองข้างบัลลังก์มีดอกบัวซึ่งบนดอกบัวมีสตรียืนถือดอกบัวมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งแสดงปางประทานพร
ศ.เซเดส์ เชื่อว่า รูปบุคคลนี้เป็นรูปประโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงอย่างที่สุดกับประติมากรรมของสกุลช่างอินเดีย-ชวา และคิดว่าคงอยู่ในศิลปแบบนั้น แต่ ดร.เคมเปอร์ส (Dr. A-J. Bernet Kempers) เห็นว่าเป็นลักษณะของศิลปอินเดียทางทิศเหนือโดยเฉพาะ ไม่ใช่ลักษณะของประติมากรรมสัมฤทธิ์ในเกาะชวา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมสัมฤทธิ์พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

กรมศิลปากรค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 ขนาดความสูงเฉพาะองค์ 140 เซนติเมตร รวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร คงหล่อขึ้นในศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย ระหว่าง พ.ศ. 1600-1650
ศาสตราจารย์ บวสเซอลีเย่ เห็นว่าเป็นประติมากรรมซึ่งมีแกนในเป็นดินพร้อมกับแกนในเป็นเหล็ก คงเป็นรูปของทวารบาล และมีลักษณะพิเศษคือ เป็นสัมฤทธิ์ชุบทองและหล่ออย่างดี เดิมคงตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลาง หรืออาจตั้งอยู่ภายในมุขหน้าปราสาทหลังนั้น หรือตั้งอยู่หน้าปราสาทองค์ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นปราสาทหลังที่สำคัญที่สุด รูปนี้น่าจะเป็นรูปของนันทิเกศวร หรือนันทีเกศวร โดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ทั้งนี้ ประติมากรรมนี้มีรอยแตกยาวอยู่บนทั้งประติมากรรมและฐาน ควรค้นหาวิธีหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของรายแตกแยกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ให้มีสนิมเกิดเพิ่มขึ้น สำหรับการจัดแสดงต้องมีเครื่องยึดภายใต้รักแร้เพื่อป้องกันมิให้ระดับที่ข้อเท้าต้องแตกแยกออก และจัดไว้ในตู้กระจกที่ป้องกันความชื้นได้.

Boisselier, Jean