Art History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art History

Equivalent terms

Art History

Associated terms

Art History

3 Archival description results for Art History

3 results directly related Exclude narrower terms

Prasat Phra Viharn

Prasat Phra Viharn is one of the most beautiful ruins of antiquity. Situated at a majestic height on the Dongrek Mountain Range, which marks the frontier between Cambodia and south-east Thailand, it is a Khmer shrine built between the 11th and 13th centuries. A series of sanctuaries and flights of stone stairways leads up the mountain to the temple tower, the centre of the worship of the god Siอa, to whom the shrine was dedicated. The extensive ruins, older than Angkor Wat, are evocatively preserved; roofs and columns have fallen, but the great native stone walls remain, and the massive carvings have been only softened and mellowed by the centuries.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ปราสาทพระวิหารในแง่ศิลป

ปราสาทพระวิหารได้วางแผนผังอย่างฉลาดยิ่ง เปรียบเสมือนการค่อย ๆ ก้าวขึ้นไปสู่ที่ประทับพระผู้เป็นเจ้า คือยังเขาไกรลาส ประกอบด้วยแผนผังที่สลับซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม ซึ่งสร้างบนเชิงเนินเขาสูงขึ้นไปตลอดระยะ 105 เมตร และสิ้นสุดตรงหน้าผาใหญ่ตั้งเด่นอยู่เหนือพื้นที่ราบเบื้องล่าง

บริเวณซุ้มประตูชั้นแรกใน 4 ชั้น มีภาพสลักบนซุ้มประตูแสดงรูปเทวดาและเรื่องราวต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อขึ้นไปยังซุ้มประตูหลังที่สองซึ่งมีแผนผังเป็นรูปกากบาทคล้ายกับซุ้มประตูชั้นอื่น เมื่อขึ้นไปยังซุ้มประตูที่ 3 และซุ้มประตูที่ 4 ก็จะพบเทวาลัยศาสนสถานสร้างบนยอดเขาซึ่งอีกด้านหนึ่งจะตัดดิ่งลงไปเป็นหน้าผาทันที

บริเวณเทวาลัยสร้างขึ้นตามต้นแบบของอินเดีย คือเป็นเขตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันศักดิ์สิทธิ์ล้อมรอบไปด้วยระเบียงมุงหลังคารูปโค้ง ลักษณะอันสวยงามอันหนึ่งของปราสาทพระวิหารคือ ความละเอียดอ่อนของลวดลายที่สลักขึ้น เส้นนอกของลวดลายกรอบหน้าบันแตกต่างไปจากรูปนาคซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่เสมอในศาสนสถานเขมร ลายนี้อาจวิวัฒน์มาจากลวดลายมการหรือเหราแบบอินเดียซึ่งปรากฎเช่นเดียวกันบนทับหลังปราสาทสมโบร์ไพรกุกในประเทศกัมพูชา

ศิลป์ พีระศรี

ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอม

ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอมปรากฏหลักฐานให้เห็นทั้งในงานสถาปัตยกรรมในศาสนาและประติมากรรม โดยในกลุ่มประติมากรรมยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธรูป ทั้งนี้ การที่ศิลปกรรมสมัยก่อนเมืองพระนครปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่านั้น เนื่องจากในสมัยโบราณ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมไปถึงพระราชวัง สร้างด้วยวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ต่างจากการสร้างศาสนสถานและประติมากรรมในศาสนา นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ศิลปะขอมได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย และต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นของตนเอง โดยเฉพาะประติมากรรม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล