Art

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art

Equivalent terms

Art

Associated terms

Art

97 Archival description results for Art

97 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 7]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะปลาย จำนวน 2 สมัย คือศิลปะนครวัดและศิลปะบายน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาศิลปะสมัยหลังอีก 2 สมัย คือ ศิลปะหลังบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูน มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสุนทรียภาพ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 6]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะกลาง จำนวน 4 สมัย คือศิลปะแปรรูป ศิลปะบันทายศรี ศิลปะคลังและศิลปะบาปวน มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญ ซึ่งมีทั้งพัฒนาการและการเลียนแบบศิลปะรุ่นเก่า มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 5]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมระยะต้นของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะบาแค็งและศิลปะเกาะแกร์ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาจากความแข็งกระด้างที่แสดงอำนาจในสมัยบาแค็งไปสู่ความเคลื่อนไหวสมัยเกาะแกร์ มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 3]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 3 สมัยคือศิลปะไพรกเมง ศิลปะแบบปราสาทอันเดตและศิลปะกำพงพระ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลัง โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 1]

บทความกล่าวถึงวิธีการแบ่งยุคสมัยย่อยในศิลปะขอม และประติมากรรมขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งในแง่ของวัสดุต่าง ๆ ทั้งโลหะ ศิลา ปูนปั้น ไม้ ซึ่งมีเงื่อนไขทางด้านเทคนิคแตกต่างกันไป ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปร่างและท่าทางโดยเน้นถึงสุนทรียภาพของประติมากรรมขอม.

Boisselier, Jean

โบราณคดีวิจารณ์

การวิจารณ์หนังสือเรื่อง “เจ้าแม่คงคาและยมุนา ณ ประตูศาสนสถานในประเทศอินเดีย” ของนางโอแดต เวียนโนต์ โดยสรุปทฤษฎีวิวัฒนาการของเจ้าแม่คงคาและยมุนาในศิลปะอินเดีย มีการแบ่งขั้นพัฒนาการตามตำแหน่งและความโดดเด่นของเทพีทั้งสองที่ประดับบนกรอบประตู รวมถึงการแพร่กระจายในศิลปะอินเดีย .

Viennot, Odette

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 14]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงสถาปัตยกรรมจีนและญี่ปุ่นไปพร้อมกัน โดยเน้นศิลปะญี่ปุ่นมากกว่าเพราะหลงเหลือตัวอย่างมากกว่า เช่น ศาลเจ้าที่มักสร้างขึ้นเลียนแบบของโบราณ วัดโฮริวจิ และศาลาฟินิกซ์ที่เบียวโดอิน
ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะเอเชียกลาง ที่ได้รับอิทธิพลคันธาระผสมผสานกับศิลปะจีน ตะวันตกและอิหร่าน มีการยกตัวอย่างจิตรกรรมที่มิราน กิซีล ดันดันอุยลิค เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 13]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงจิตรกรรมสมัยราชวงศ์ซึ่งมีความเป็นธรรมชาตินิยม นิยมเขียนภาพทิวทัศน์และพันธุ์พืช มีการยกตัวอย่างชิ้นงานพร้อมกับชื่อจิตรกรคนสำคัญ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่น ทั้งระฆังสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมเล่าเรื่องนิทานพื้นเมือง (ยามาโตเอะ) และหน้ากากสำหรับละครโนะ ท้ายสุดกล่าวถึงภาพพิมพ์ในระยะหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 11 to 20 of 97