Art

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Art

Equivalent terms

Art

Associated terms

Art

3 Archival description results for Art

3 results directly related Exclude narrower terms

ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับศิลปทางภาคเหนือของประเทศไทย

ศิลปทางภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมดตั้งแต่สมัยแรกลงมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ถูกจัดเป็นศิลปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปแบบสิงห์ถูกจัดเป็นศิลปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ซึ่งเจริญขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1300 และ 1900 แต่กริสโวลด์เห็นว่า พระพุทธรูปแบบสิงห์อยู่ในสมัยเดียวกับศิลปแบบเชียงแสนรุ่นหลัง หรืออาจเรียกชื่อใหม่ว่า “สกุลช่างเชียงใหม่” และเชื่อว่า สกุลช่างแบบเชียงแสนรุ่นแรกไม่ได้ผลิตพระพุทธรูปแบบใดออกมาเลย จากหลักฐานที่ค้นพบบ่งว่า สมัยแห่งการผลิตศิลปกรรมอย่างใหญ่ทางภาคเหนือเริ่มขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ราว พ.ศ. 2000 และพระพุทธรูปที่งามที่สุดทั้งในแบบสิงห์และแบบอื่นๆ คงผลิตขึ้นในระหว่างนั้นจนถึง พ.ศ. 2100 ซึ่งหลักฐานใหม่ที่น่าสนใจที่สุด คือ การค้นพบพระพุทธรูปซึ่งมีจารึกอยู่บนฐานบอกศักราชที่หล่อขึ้นกว่าร้อยองค์ ราว 12 องค์เป็นแบบสิงห์ และมีจารึกว่าหล่อขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2013 ถึง 2066.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 8]

ในช่วงต้น บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอม ทั้งวัสดุ วิธีการสร้าง ลักษณะทางประติมานวิทยาทั้งในแง่ของรูปร่างและอิริยาบถ การแสดงมุทรา การประทับในท่าประทับยืน ท่าประทับนั่ง ท่าไสยาสน์ ลักษณะทั่วไปของพระพุทธรูป การทรงจีวร ในช่วงท้าย บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนคร โดยมีการแยกออกเป็น 3 หมู่ซึ่งใช้ความแตกต่างของรูปแบบจีวร การยึดชายจีวร มาเป็นเกณฑ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean