ศิลปกรรมขอม

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศิลปกรรมขอม

Equivalent terms

ศิลปกรรมขอม

Associated terms

ศิลปกรรมขอม

4 Archival description results for ศิลปกรรมขอม

4 results directly related Exclude narrower terms

พระศิวนาฏราชในศิลปลพบุรี

พระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ จัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะขอมนั้นเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เคยค้นพบประติมากรรมลอยตัวรูปพระศิวนาฏราชเลย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรีเป็นภาพสลักนูนต่ำ 4 รูป คือ 1) ภาพสลักบนหน้าบันด้านในของปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร อายุอยู่ในราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 เป็นพระศิวนาฏราชสวมมงกุฏมี 10 กร 2) ทับหลังของปราสาทองค์กลางที่ ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1650 ทับหลังมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปพระศิวนาฏราช 10 กร 3) บนหน้าบันของมุขด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราชหลายกร คงสร้างขึ้นราวระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 4) ทับหลังศิลา เดิมอยู่ที่ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช 2 กร อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 รูปพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำของศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1750 อิทธิพลดั้งเดิมคงมาจากประเทศอินเดียภาคเหนือ แต่ในศิลปะลพบุรีอาจมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียภาคใต้เข้ามาปะปนอยู่บ้าง จึงมีรูปยักษ์เข้ามาผสมอยู่.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 18]

นักวิชาการพยายามจัดกลุ่มเครื่องดินเผาที่พบในประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มแรกคือ เครื่องดินเผาสมัยเมืองพระนคร ซึ่งยังสามารถจัดเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 1) ภาชนะเนื้อดินปนทราย ไม่มีเคลือบ มีเคลือบไม่สม่ำเสมอ หรือเคลือบสีน้ำตาลแก่ และ 2) เครื่องดินเผาเนื้อดินค่อนข้างแดงมีเคลือบสีน้ำตาล
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังพบเครื่องดินเผากลุ่มอื่น ๆ อีก คือ 1) เครื่องดินเผาสมัยหลังเมืองพระนคร 2) เครื่องถ้วยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 3) เครื่องถ้วยจีน 4) เครื่องถ้วยไทย 5) เครื่องถ้วยต่างประเทศอื่น ๆ 6) พระพิมพ์.

Boisselier, Jean