ศิลปกรรมขอม

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศิลปกรรมขอม

Equivalent terms

ศิลปกรรมขอม

Associated terms

ศิลปกรรมขอม

10 Archival description results for ศิลปกรรมขอม

10 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 10]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู ทั้งพระพรหม พระนารายณ์และอวตารของพระองค์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นนรสิงหาวตาร ตรีวิกรม พระราม พระกฤษณะ พระพลราม พระกัลกิน จากนั้นจึงกล่าวถึงพระอิศวรและศิวลึงค์ ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงประติมากรรมผสมทั้งพระหริหระและอรรธนารีศวร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]

บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 16]

ประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยหลังเมืองพระนครสามารถแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ประติมากรรมขนาดเล็ก เครื่องใช้ในกิจพิธีและเครื่องใช้สอย เชิงเทียน กระดึง ภาชนะต่าง ๆ เครื่องม้า และอาวุธ ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงรักษารูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร แต่บางส่วนแสดงถึงอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะไทย นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ ของศิลปะเขมรทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร ที่น่าศึกษา ได้แก่ เครื่องเหล็ก เครื่องทองและเงิน (ในบทความใช้คำว่า “เครื่องเพชรพลอย) โดยในกลุ่มหลังนี้ ประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอย แม่พิมพ์เครื่องประดับ ที่ประทับตรา และเงินตรา.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 18]

นักวิชาการพยายามจัดกลุ่มเครื่องดินเผาที่พบในประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มแรกคือ เครื่องดินเผาสมัยเมืองพระนคร ซึ่งยังสามารถจัดเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 1) ภาชนะเนื้อดินปนทราย ไม่มีเคลือบ มีเคลือบไม่สม่ำเสมอ หรือเคลือบสีน้ำตาลแก่ และ 2) เครื่องดินเผาเนื้อดินค่อนข้างแดงมีเคลือบสีน้ำตาล
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังพบเครื่องดินเผากลุ่มอื่น ๆ อีก คือ 1) เครื่องดินเผาสมัยหลังเมืองพระนคร 2) เครื่องถ้วยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 3) เครื่องถ้วยจีน 4) เครื่องถ้วยไทย 5) เครื่องถ้วยต่างประเทศอื่น ๆ 6) พระพิมพ์.

Boisselier, Jean

อายุของภาพสลักนูนต่ำรุ่นหลัง 2 ภาพที่ปราสาทนครวัด

ที่ผนังระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดนั้นมีภาพสลักทั้งหมด 8 ภาพ โดยมี 2 ภาพที่สลักบนปีกเหนือของระเบียงด้านตะวันออก แสดงการรบพุ่งระหว่างพระนารายณ์และอสูร กับที่สลักอยู่บนปีกตะวันออกของระเบียงด้านเหนือแสดงรูปพระกฤษณะรบชนะพระเจ้ากรุงพาณ อาจสลักขึ้นหลังการก่อสร้างปราสาทนครวัด และหลังกว่าภาพสลักนูนต่ำอีก 6 ภาพ โดยทั้ง 2 ภาพมีศักราชจารึกอยู่ใต้ภาพระบุว่า ใน พ.ศ. 2089 พระราชาเขมรพระนามว่า นักองค์จันท์ได้เป็นผู้สั่งให้สลักภาพบนระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดให้แล้วสำเร็จ ซึ่งสำเร็จลงใน พ.ศ. 2106 และภาพสลักทั้ง 2 ภาพนี้ มีอิทธิพลของศิลปะจีนอยู่บ้าง แต่อิทธิพลส่วนใหญ่มาจากศิลปะไทย เพราะมีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่างรูปเทวดาบางองค์บนภาพสลักนี้กับรูปเทวดาในหนังสือตำนานเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ของไทย รวมทั้งฆ้องวง เครื่องประดับ ลวดลายดอกไม้ภายในเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายรูปกินรีแบบไทยและฉัตร ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ในศิลปะอยุธยาของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 1975.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล