Correspondence

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Correspondence

Equivalent terms

Correspondence

Associated terms

Correspondence

3 Archival description results for Correspondence

Only results directly related

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ ทุก ๒ ปี ครั้งที่ ๒ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ หรือ International Council of Museums (ICOM) ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 17-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ผู้เขียนเป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าประชุมในแผนกพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งพิจารณาปัญหาสำคัญต่าง ๆ เช่น เรื่องพิพิธภัณฑ์ในโบราณสถาน การแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชาติของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ และการขุดค้นทางโบราณคดี การใช้แสงไฟฟ้าในพิพิธภัณฑ์ หนทางและวิธีการที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์และประชาชนที่พิพิธภัณฑ์นั้นรับใช้ การป้องกันอัคคีภัยในพิพิธภัณฑ์ ความร่วมมือกันในการจัดแสดงศิลปะระหว่างชาติ แผนการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ สเกลแสดงถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ นอกจากนั้น UNESCO ยังเสนอให้ประเทศสมาชิกส่งภาพศิลปวัตถุสถานต่าง ๆ ของตนมายัง UNESCO สิ่งละ 4 ภาพ เพื่อแบ่งแยกเก็บไว้ในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ในอนาคตถ้าตัวศิลปวัตถุสถานถูกทำลายไปในสงครามจะได้มีภาพเก็บไว้ให้ดูได้ต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อปุจฉาเรื่องบ้านเชียงระหว่าง ดร. สุด แสงวิเชียร กับ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อสงสัยของ ดร.สุด แสงวิเชียร ที่มีต่อบทความเรื่อง Prehistoric art ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล เกี่ยวกับอายุของวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียทดลองอายุโดยวิธี Thermoluminescence พบว่า มีอายุราว 4000 B.C. หรือประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง ดร.สุด แสงวิเชียร ไม่เชื่อถือการหาอายุบ้านเชียงโดยวิธีคาร์บอน 14 ดังกล่าว ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล แจ้งแหล่งข้อมูลบทความการทดลองอายุบ้านเชียงของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียและแหล่งข้อมูลบุคคลชื่อ Dr. H.G. Quaritch Wales พร้อมยืนยันว่า การค้นคว้าทางด้านโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยยังไม่เป็นที่ยุติ เป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้ากันต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จดหมายเรื่องศิลปแบบเชียงแสน

จดหมายของเอ.บี. กริสโวลด์ ถึง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เพื่อคัดค้านข้อความอ้างอิงในบทความเรื่อง “การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล” ที่ว่า กริสโวลด์เป็นผู้กล่าวว่าการผลิตพระพุทธรูปในศิลปแบบเชียงแสนเพิ่งเริ่มต้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2130) และแสดงความเห็นต่อไปว่า “ศิลปแบบเชียงแสน” ย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งผู้แปลไม่เห็นพ้องกับทฤษฎีของกริสโวลด์และเห็นว่า พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้ม ณ พระเจดีย์ทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวงนั้น แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปเชียงแสนรุ่นแรก เนื่องจากพระเจดีย์องค์นี้อาจสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1800 -1825 อันเป็นระยะแรกของสมัยสุโขทัย แสดงว่าศิลปเชียงแสนรุ่นแรกเกิดขึ้นก่อนศิลปสุโขทัย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล