- TH Subhadradis 02 ACAR-01-052
- Item
- 2512
Part of บทความ
ศิลปะอมราวดีเจริญขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 ถึงพุทธศตวรรษที่ 9 ร่วมสมัยกับศิลปะคันธารราฐ พระพุทธรูปในศิลปะอมราวดีก็คงได้รับอิทธิพลมาจากศิลปคันธารราฐและมถุราผสมกัน เพราะศิลปะอมราวดีในขั้นแรกใช้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธรูป จนกระทั่งต่อมาภายหลังจึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ พระพุทธรูปแบบอมราวดีแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน มักยืนหันหน้าตรงอยู่บนฐานบัว ครองจีวรทั้งห่มเฉียงและห่มคลุม 2) แบบประทับนั่ง มีเฉพาะในภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น 3) แบบนาคปรก พระพุทธรูปนาคปรกที่เก่าที่สุดตกอยู่ในแบบพระพุทธรูปประทับนั่งห่มเฉียง แบบที่ 2 ในศิลปะอมราวดี เป็นพระพุทธรูปที่มีวิวัฒนาการโดยเฉพาะของตนเองและเจริญขึ้นในศิลปะอมราวดี 4) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พระพุทธรูปแบบนี้แสดงถึงการคิดค้นลักษณะรูปภาพที่สำคัญแบบใหม่ ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องอยู่กับบัลลังก์ซึ่งมีรูปร่างเหมือนม้านั่งหรือเก้าอี้มีท้าวแขน.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล