Exhibition

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Exhibition

Equivalent terms

Exhibition

Associated terms

Exhibition

18 Archival description results for Exhibition

18 results directly related Exclude narrower terms

วีดิทัศน์สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล

รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล เข้าศึกษาที่คณะโบราณคดี สาขาภาษาไทย ในปี พ.ศ.2536 แต่ด้วยความสามารถด้านศิลปะไทยที่ปรากฏอย่างเด่นชัด เป็นผลให้ท่านอาจารย์จึงประทานคำแนะนำให้ย้ายมาศึกษาในสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะเมื่อปี พ.ศ. 2537

สำหรับอาจารย์รุ่งโรจน์ การแปลผลางานวิชาการต่างประเทศทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสของท่านอาจารย์ช่วยสร้างรากฐานองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีเป็นอย่างมาก

“ ผมรู้จักท่านชายนะ แรก ๆ คืออ่านจากหนังสือตำราพระพุทธเจดีย์สยาม เพราะท่านเป็นคนเขียนเชิงอรรถ พอมาเจอท่านจริง ๆ ท่านเป็นคนอธิบายรู้เรื่อง มีที่มาที่ไป ในเรื่องความจำอย่าไปเถียงกับท่านชาย ท่านจำได้ทั้งหมด ”

“ การศึกษาโบราณคดีกับประวัติศาสตร์ศิลป์เนี่ยมันเปลี่ยนแปลงไปเพราะท่านเอาทฤษฎีวิวัฒนาการมาใช้ ”

“ ท่านชายเป็นจุดเริ่มต้นของผม ”

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล

วีดิทัศน์สัมภาษณ์ อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ

อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ จบการศึกษาจากคณะโบราณคดีรุ่นที่ 19 แรกเริ่มเดิมทีรู้จักท่านอาจารย์ผ่านผู้เป็นแม่ ซึ่งเคยเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับท่านอาจารย์เมื่อครั้งศึกษาอยู่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้นอาจารย์เผ่าทองศึกษาต่อที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรก็ได้เข้าเรียนกับท่านอาจารย์โดยตรง

ในสมัยเรียน อาจารย์เผ่าทองตั้งใจทำกิจกรรมควบคู่กับเล่าเรียน รับวิชาความรู้และการอบรมสั่งสอนของท่านอาจารย์มาสม่ำเสมอ แม้จบการศึกษามาหลายปีก็ยังคงได้รับพระเมตตา อาจารย์เผ่าทองกล่าวว่าสิ่งที่ท่านอาจารย์ส่งต่อในฐานะครูบาอาจารย์ ตนยังคงระลึกถึงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

“ ตอนนั้นท่านเกษียณแล้วก็มาทรงงานอยู่ที่ SPAFA ผมก็เดินทางจากบ้านไปขอเฝ้ากราบพระบาทรับพร จำได้ว่าเอาหน้าผากลงไปบนหลังรองเท้าท่าน ท่านก็ลูบหัวตบหัว ประทานพรให้มีความเจริญรุ่งเรือง ให้ประสบความสำเร็จให้อะไรต่าง ๆ ก็เป็นอะไรที่เราซาบซึ้งมาก ”

“ความเป็นครูอาจารย์ของท่านมันไม่ได้ขาดกันเฉพาะในมหาวิทยาลัย ความเป็นครูบาอาจารย์ของท่านเนี่ยต่อเนื่องกันมาอยู่เสมอ ”

“ ยังใช้วิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ของท่านเนี่ยสอนอยู่ ก็ต้องกราบพระบาทเอาไว้ว่าเป็นพระกรุณาอย่างสูงล้นเกล้าที่ทำให้เรามีอาชีพที่ดี ได้ใช้อาชีพที่ท่านประทานสอนไว้เลี้ยงตัวโดยตรง รวมทั้งได้นำมารับใช้ประเทศชาติ ถ้าไม่มีท่านก็คงไม่มีเราในวันนี้ ไม่มีเราที่จะมานั่งอยู่ตรงนี้ทุกวันนี้ครับ ”

(คลิกรูปภาพเพื่อรับชมวีดิทัศน์สัมภาษณ์)

เผ่าทอง ทองเจือ

วีดิทัศน์สัมภาษณ์ คุณเพลินพิศ กำราญ

นางสาวเพลินพิศ กำราญ จบการศึกษาจากคณะโบราณคดีรุ่นที่ 9 เมื่อปีพุทธศักราช 2506 ช่วงแรกของการศึกษา ในรุ่นของคุณเพลินพิศเรียกท่านอาจารย์ว่าอาจารย์ท่านชาย ก่อนเปลี่ยนเป็นเรียกท่านอาจารย์ในภายหลัง คุณเพลินพิศกล่าวว่าการสอนสั่งของท่านอาจารย์ใช้ภาพประกอบและคำช่วยที่ทำให้จดจำบทเรียนได้ง่าย ท่านเป็นผู้มีเมตตาต่อนักศึกษา คอยสอนสั่งโดยไม่ถือตนทั้งในมหาวิทยาลัยหรือเวลาออกไปทำกิจกรรมภาคสนาม ให้ความช่วยเหลืออุปการะคุณผู้อื่นอย่างไม่แบ่งแยก

“ มีรุ่นพี่ผู้ชายคนหนึ่ง เขามาจากสุโขทัย ท่านก็มีพระเมตตา ตอนแรกท่านไม่ทราบว่าเขาอาศัยอยู่ที่ไหน แต่ตอนหลังเมื่อทราบว่าเป็นเด็กต่างจังหวัด ท่านก็ไปฝากให้อาศัยอยู่ที่วังสวนผักกาด ฝึกเป็นมัคคุเทศน์ แล้วก็ส่งไปเรียนเป็นกิจลักษณะ ก็เลยคิดว่า เออ ท่านมีพระเมตตานะ ”

“ การไปขุดค้นที่อู่ทอง ท่านอาจารย์ก็ไปอยู่กับพวกเราระหว่างการขุดค้น ตอนกลางคืนที่พักหลังจากการขุดค้น ที่อู่ทองจะมีตลาดกลางคืน เราก็ไปดูหนัง แล้วก็มีขนมน้ำแข็งไสสมัยก่อน ก่อนดูหนังพวกเราจะต้องไปทานขนมน้ำแข็งไส ถ้าท่านอาจารย์ไปท่านอาจารย์ก็จะบอกวันนี้ฉันเลี้ยง ใครที่ได้รับเลี้ยงก็รู้สึกเป็นหน้าเป็นตา คุยไปหลายวัน ประทับใจท่านมาก ”

“ ท่านอาจารย์จะสอนให้รู้ในสิ่งที่เรียน แล้วก็จดจำเพื่อเอาไปใช้ในการทำงาน ”

(คลิกรูปภาพเพื่อรับชมวีดิทัศน์สัมภาษณ์)

เพลินพิศ กำราญ

พระประวัติ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้ารมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจิม ดิศกุล ประสูติเมื่อวันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2466 จนเมื่อพระชันษาได้ 1 เดือน หม่อมเจิมจึงได้ถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ตามที่ได้ทรงเคยขอไว้ตั้งแต่ที่หม่อมเจิมมีครรภ์ กระทั่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา สิ้นพระชนม์ลง จึงกลับมาประทับที่วังวรดิศตามเดิมเมื่อพระชันษาได้ 11 ปี

ด้านการศึกษา ทรงสำเร็จการศึกษาด้านอักษรศาสตร์จากจุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2486 จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ทรงได้รับทุนจากบริติชเคาน์ซิลให้เสด็จไปทอดพระเนตรงานด้านการพิพิธภัณฑ์และโบราณคดี ณ ประเทศอังกฤษ แล้วจึงตั้งพระทัยที่จะศึกษาต่อด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีที่โรงเรียนลูฟ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษา และจะทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่อังกฤษ แต่ยังมิทันสำเร็จก็มีเหตุให้เสด็จกลับเมืองไทยก่อน ในปี พ.ศ.2496

ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว ทรงเข้าทำงานในกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และย้ายไปเป็นหัวหน้าแผนกหอสมุดดำรงราชานุภาพ สังกัดกรมศิลปากร จนกระทั่งทรงศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศและเสด็จกลับไทยแล้ว ก็ยังทรงปฏิบัติงานในกรมศิลปากรอยู่ แต่ย้ายมาประจำตำแหน่งภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้มักจะทรงเป็นวิทยากร ถวายการนำชม และทรงนำชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยแด่แขกคนสำคัญของบ้านเมือง ทั้งพระประมุขและประมุขของชาติต่าง ๆ ที่มาเยือนประเทศไทยโดยตลอด

ระหว่างที่ทรงเป็นภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ก็ทรงสอนนักศึกษาของคณะโบราณคดี และ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วประเทศด้วย โดยทรงวางรากฐานการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหลักสูตรการศึกษาเป็นเช่นเดียวกับที่ทรงได้รับการศึกษามาจากประเทศ ทรงนิพนธ์ตำราทางวิชาการ หนังสือนำชม หนังสือทรงแปลจากภาษาต่างประเทศ หนังสือที่ทรงชำระใหม่ หนังสือรวมบทความ บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสารต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ จำนวนหลายเรื่อง เช่น เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ศิลปะอินเดีย ศิลปะลังกา ชวา ขอม เที่ยวเมืองลังกา ศิลปะอินโดนีเซียสมัยโบราณ ประติมากรรมขอม ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม ศิลปะในประเทศไทย เป็นต้น ต่อมาภายหลังจึงทรงโอนย้ายมาเป็นศาสตราจารย์ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งทั้งทางด้านบริหาร จนเกษียณอายุราชการในปี 2529 แต่ก็ยังคงเสด็จเข้ามาสอนที่คณะโบราณคดีอยู่เสมอจนประชวร ในปี 2540 นอกจากนี้ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SPAFA และ คณะกรรมการต่าง ๆ ของกรมศิลปากรอยู่ตลอด

ภายหลังจากที่ทรงเกษียณอายุราชการแล้วและประชวรด้วยโรคพระหทัย ซึ่งทรงได้รับการผ่าตัดแล้ว แต่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ยังทรงทำงานอยู่เรื่อยมา ทั้งงานสอนในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และการเป็นคณะกรรมการต่าง ๆ ของทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ตามปรกติ กระทั่งวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ทรงลื่นล้มในห้องสรง และประชวรทรุดลงตามลำดับ จนสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สิริพระชันษาได้ 80 ปี

ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

เนื้อหาจัดแสดงภายในนิทรรศการ 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมเสวนา “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล” ผ่านการถ่ายทอดพระเกียรติคุณของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ในบทบาทฐานะอาจารย์ , บทบาทในฐานะภัณฑารักษ์, บทบาทในฐานะมัคคุเทศก์, บทบาทในฐานะนักวิชาการ, บทบาทในฐานะการจัดการมรดกวัฒนธรรมระดับนานาชาติ
โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผนพัฒนา, ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์, ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นผู้ร่วมเสวนา และดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี

หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เสวนา 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมเสวนา “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล” ผ่านการถ่ายทอดพระเกียรติคุณของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ในบทบาทฐานะอาจารย์ , บทบาทในฐานะภัณฑารักษ์, บทบาทในฐานะมัคคุเทศก์, บทบาทในฐานะนักวิชาการ, บทบาทในฐานะการจัดการมรดกวัฒนธรรมระดับนานาชาติ
โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผนพัฒนา, ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์, ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นผู้ร่วมเสวนา และดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี

หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โปสเตอร์ นิทรรศการ 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดกิจกรรมรำลึก ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ผ่านนิทรรศการ “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล”
โดยมี หม่อมราชวงศ์ดำรงเดช ดิศกุล ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดนิทรรศการ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้กล่าวคำรำลึกถึงท่านอาจารย์ สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ สมาชิกราชสกุลดิศกุลศาสตราจารย์ ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คณบดี ทีมผู้บริหารสำนักหอสมุดกลาง ศิษย์เก่าตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมพิธีเปิดและชมนิทรรศการฯ โดยมี ผศ.นันทพล จั่นเงิน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะผู้จัดงาน ได้ทำหน้าที่นำชมในครั้งนี้
ในพิธีเปิดนิทรรศการฯ ครั้งนี้ สมาคมนักศึกษาเก่าคณะโบราณคดี ได้มอบพระรูปประติมากรรม ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ให้แก่หอสมุดวังท่าพระ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ผู้แทนสมาคมฯ เป็นผู้มอบ
ภายในนิทรรศการบอกเล่าบทบาทสำคัญทั้ง 5 บทบาทของท่านอาจารย์ ได้แก่ บทบาทในฐานะอาจารย์ , บทบาทในฐานะภัณฑารักษ์, บทบาทในฐานะมัคคุเทศก์, บทบาทในฐานะนักวิชาการ, บทบาทในฐานะการจัดการมรดกวัฒนธรรมระดับนานาชาติ ตลอดจนการจัดแสดง ต้นฉบับลายมือ ต้นฉบับบทความ หนังสือและภาพถ่ายของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
นิทรรศการ “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล” จัดแสดงระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน - 28 ธันวาคม 2566

หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Results 11 to 18 of 18