พระพุทธรูป -- ไทย -- สมัยทวารวดี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

พระพุทธรูป -- ไทย -- สมัยทวารวดี

Equivalent terms

พระพุทธรูป -- ไทย -- สมัยทวารวดี

Associated terms

พระพุทธรูป -- ไทย -- สมัยทวารวดี

5 Archival description results for พระพุทธรูป -- ไทย -- สมัยทวารวดี

5 results directly related Exclude narrower terms

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบจากเมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพ บางท่านเรียกว่า เมืองอภัยสาลี เดิมตั้งอยู่ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงค้นพบเมืองนี้เมื่อ พ.ศ. 2448 ประติมากรรมศิลาที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ต่อมาพบศิลาจารึกอีก 2 หลัก แสดงว่าอาณาจักรเจนละหรือขอมรุ่นแรกในขณะนั้นได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงยังลุ่มแม่น้ำป่าสักแล้ว โบราณวัตถุซึ่งถูกลักลอบออกไปจากเมืองศรีเทพ 3 ชิ้น และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน (Norton Simon Museum of Art) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ 1) เทวรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.14 เมตร คาดว่าเป็นพระอาทิตย์และเป็นชิ้นที่สำคัญที่สุด 2) แผ่นทอง สูงประมาณ 30 ซม. ดุนเป็นเทวรูปพระนารายณ์ 3) พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สลักด้วยศิลาทรายสีเทา สูงประมาณ 2.18 เมตร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย

วัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยจากที่พบในหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal มีทั้งหมด 11 ชิ้น ดังนี้ 1) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11 2) รูปเทพธิดาศิลาทราย 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูง 1.10 เมตร สมัยทวาราวดี 4) พระพิมพ์ดินเผารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 12 เซนติเมตร 5) รูปพระอิศวรศิลาสูงประมาณ 70 เซนติเมตร มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 6) แผ่นทองดุนนูนเป็นรูปพระอิศวร สูง 17 เซนติเมตร อาจมาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 7) แผ่นเงินดุนนูนเป็นรูปพระพุทธองค์ สูง 14 เซนติเมตร อาจค้นพบจาก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 8) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนสูง 51 เซนติเมตร ศิลปทวาราวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สูง 22 เซนติเมตร คาดว่าค้นพบทางภาคใต้ของประเทศไทย 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร เป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดและงามที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาประติมากรรมซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณศิลปวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชนประเทศสหรัฐอเมริกาจากหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal ได้แก่ 1) พระพุทธรูปสำริดปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร คล้ายกับศิลปะทวารวดี 2) เทพธิดาศิลาทราย (เทวสตรี) 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร คล้ายกับเทวรูปที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.10 เมตร สมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 4) พระพิมพ์ดินเผา สูงประมาณ 12 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับพระพิมพ์ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 5) พระอิศวรศิลา สูงประมาณ 70 เซนติเมตร กล่าวว่าได้มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 6) แผ่นทองดุนนูนรูปพระอิศวร สูงประมาณ 17 เซนติเมตร อาจพบที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 7) แผ่นเงินดุนนูนรูปพระพุทธองค์ สูงประมาณ 14 เซนติเมตร คล้ายกับที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 8) พระพุทธรูปสำริด ยืนตริภังค์ สูงประมาณ 51 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสำริด สูงประมาณ 22 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 10) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สูงประมาณ 44 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายกับที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูงประมาณ 1.20 เมตร ลักษณะคล้ายกับศิลปะขอม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 โดยบทความนี้หวังว่าให้คนไทยมีความกระตือรือร้นในการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานของเราให้มากยิ่งขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

มีการค้นพบประติมากรรมสำริดจำนวนหนึ่ง ที่ปราสาทแห่งหนึ่งในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และถูกนำลักลอบออกนอกประเทศเกือบหมด คงมีเหลืออยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์ของเอกชนเพียง 2-3 รูปเท่านั้น นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ (Albert Le Bonheur) กล่าวถึงรูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูง 46 เซนติเมตร ซึ่งพิพิธภัณฑ์กีเมต์ได้ซื้อไว้ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมสำริดซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัยเหล่านี้ กับอาณาจักรศรีจานาศะ และค้านความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปศรีวิชัยสำหรับลักษณะรูปภาพ (iconography) ของประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย นายเลอบอนเนอได้นำไปเปรียบเทียบกับภาพสลักที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ใกล้กับเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับการกำหนดอายุเห็นว่ายังไม่อาจกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนนางสาวเอมมา ซี บังเกอร์ (Emma C. Bunker) ได้รวบรวมรูปภาพเกี่ยวกับประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย และให้รูปปราสาทอิฐที่ค้นพบประติมากรรมสำริดเหล่านี้ไว้ด้วย แต่ไม่ได้บอกชื่อปราสาท พร้อมทั้งรูปประติมากรรมสำริดที่ค้นพบอีก 24 รูป ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และร้านค้าของเก่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Pierre Dupont : l'archeologie mone de Dvaravati : a review

The late Professor Dupont's great book has been warmly welcomed not only by specialists in Southeast Asian art and archaeology throughout the world , but also by many members of the general public in Thailand, among whom the interest in archaeology is steadily growing.
The book is dedicated by the author to his distinguished teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont thanks whose who helped to prepare the work for publication after her husband's death. Then, after a short preface by the author, comes the text itself, consisting of 9 chapters (almost 300 pages). Finally there are inventories of the objects discovered in the excavations of Davaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc. There are 24 pages of drawings, plans and maps, and 541 photographs. He ends with a briefer summary of the enduring influence of certain other types of Dvaravti image, and of Dvaravati architecture associated with the Theravada.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล