จารึก -- ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

จารึก -- ไทย

Equivalent terms

จารึก -- ไทย

Associated terms

จารึก -- ไทย

3 Archival description results for จารึก -- ไทย

3 results directly related Exclude narrower terms

ตอบคุณปรีดา ศรีชลาลัย

คุณปรีดา ศรีชลาลัย ผู้สนใจในวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ได้กรุณาเขียนบทความเรื่อง "ข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับโบราณคดีไทย" โดยได้พยายามพิสูจน์ว่าชนชาติไทยได้ลงมาอยู่ในแหลมทองหรือประเทสไทยปัจจุบันนี้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนชาติอื่น โดยกล่าวถึงเหตุผลทั้งทางด้านชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อบ้านเมือง แม่น้ำ ภูเขา ในปัจจุบัน ล้วนเป็นชื่อภาษาไทยทั้งสิ้น ลัทธิศาสนาซึ่งชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็ออกเสียงตรงตามสำเนียงคำของอินเดียเป็นส่วนมาก วิชาหนังสือที่ชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็รับสืบสำเนียงคำอ่านออกเสียงสระพยัญชนะ ตรงตามแบบฉบับของอินเดียที่สุด และยังกล่าวถึงหลักฐานจารึกภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดมีอยู่ 2 แห่ง คือที่ถ้ำฤษีเขางู จังหวัดราชบุรี และที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Pierre Dupont : l'archeologie mone de Dvaravati : a review

The late Professor Dupont's great book has been warmly welcomed not only by specialists in Southeast Asian art and archaeology throughout the world , but also by many members of the general public in Thailand, among whom the interest in archaeology is steadily growing.
The book is dedicated by the author to his distinguished teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont thanks whose who helped to prepare the work for publication after her husband's death. Then, after a short preface by the author, comes the text itself, consisting of 9 chapters (almost 300 pages). Finally there are inventories of the objects discovered in the excavations of Davaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc. There are 24 pages of drawings, plans and maps, and 541 photographs. He ends with a briefer summary of the enduring influence of certain other types of Dvaravti image, and of Dvaravati architecture associated with the Theravada.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลาจารึกเกี่ยวกับอาณาจักรศรีจานาศะ

ได้ค้นพบแผ่นศิลามีจารึกสองด้านอยู่ในเนินดินใกล้กับโบสถ์พราหมณ์ หรือเทวสถานทางทิศตะวันออกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา จารึกสูงประมาณ 45 เซนติเมตร กว้าง 22 เซนติเมตร ด้านแรกมีจารึกภาษาสันสกฤต 18 บรรทัด แต่งเป็นโศลกทั้งหมด ยกเว้นบทที่ 6 จารึกเริ่มต้นด้วยการสรรเสริญ 2 บท บทแรกสรรเสริญพระศังกร (ศิวะ) บทที่ 2 สรรเสริญนางปารพตี ต่อจากนั้นจึงกล่าวถึงรายพระนามพระราชแห่งอณาจักรจานาศปุระ จารึกนี้สร้างขึ้นเพื่อฉลองการสร้างพระรูปพระชนนี เป็นพระเทวีคือชายาของพระศิวะ เมื่อศักราช 859 (พ.ศ. 1480) โดยที่ราชวงศ์นี้ได้ปรากฏขึ้นในศิลาจารึกหลักนี้เป็นครั้งแรก และแตกต่างไปจากราชวงค์ที่ปกครองอาณาจักรขอมอยู่ในขณะนั้น สำหรับอาณาจักรศรีจานาศะหรือจานาศปุระแห่งนี้ ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่ามีอาณาเขตกว้างขวางแค่ไหน และมีราชธานีอยู่ที่พระนครศรีอยุธยา หรือเมืองอื่น ๆ เป็นต้นว่า เมืองลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล