History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

History

Equivalent terms

History

Associated terms

History

86 Archival description results for History

86 results directly related Exclude narrower terms

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามกับนางแอนนา ลิโอโนเวนส์

นางแอนนา ลิโอโนเวนส์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเดินทางกลับประเทศ นางแอนนาแต่งหนังสือขึ้น 2 เล่ม คือ “ครูหญิงชาวอังกฤษ ณ ราชสำนักไทย” (The English Governess at the Siamese Cour) และ “ความรักในฮาเร็ม” (The Romance of the Harem) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่นางแอนนาระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่นางได้พบระหว่างเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ในราชสำนักสยาม อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่บันทึกไว้หลายเหตุการณ์มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เนื่องจากนางแอนนาบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ตามทัศนคติและความเข้าใจของตนเอง รวมไปถึงเหตุการณ์หลายอย่างคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ไม่ใช่จากประสบการณ์ของนางแอนนาเอง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนางซูสีไทเฮา

พระนางซูสีไทยเฮา เดิมชื่อนางเยโฮนาลา (ดอกกล้วยไม้) ถือกำเนิดในสกุลแมนจู ที่ค่อนข้างขัดสน ได้รับการคัดเลือกขึ้นเป็นนางสนมของพระเจ้าเซียนฟงกษัตริย์องค์ที่ 7 ในราชวงศ์เช็ง หรือ ชิง นางเยโฮนาลาเป็นหญิงฉลาดเฉลียว มักอาสาช่วยเหลือพระเจ้าเซียนฟงในการเก็บรักษาเอกสารราชการจนกระทั่งมีความรู้เกี่ยวกับราชการงานเมืองเป็นอย่างดี เมื่อนางมีโอรสกับพระเจ้าเซียนฟง จึงได้เลื่อนขั้นขึ้นเป็นพระสนมเอก และได้พระนามว่า “ซูสี” ต่อมา โอรสของนางได้ขึ้นครองราชสมบัติ นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการและกลายเป็นผู้ปกครองประเทศจีนอย่างแท้จริง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เมื่อมีพระชนม์ 73 พรรษา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 1]

บทความกล่าวถึงวิธีการแบ่งยุคสมัยย่อยในศิลปะขอม และประติมากรรมขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งในแง่ของวัสดุต่าง ๆ ทั้งโลหะ ศิลา ปูนปั้น ไม้ ซึ่งมีเงื่อนไขทางด้านเทคนิคแตกต่างกันไป ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปร่างและท่าทางโดยเน้นถึงสุนทรียภาพของประติมากรรมขอม.

Boisselier, Jean

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 1]

ก่อนการมีศิลปะอินเดียอย่างแท้จริง มีศิลปะของเมืองฮาระปาและโมฮนโจ-ทาโรในลุ่มน้ำสินธุราว 1450 ก่อนพุทธกาล ที่มีการจัดการผังเมืองอย่างเป็นระบบ และตราประทับที่ส่วนใหญ่เป็นรูปสัตว์ และเทวดานั่ง ศิลปะแบบอินเดียอย่างแท้จริงสมัยที่ 1 คือศิลปะของสัญจี สมัยราชวงศ์โมรยะ และศุงคะ ราว พ.ศ. 250-650 มีสูปที่พัฒนาจากเนินดินฝังศพ ถ้ำที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมเครื่องไม้คือถ้ำภัชชา เบทสา กาลี เป็นต้น ส่วนประติมากรรมคือเสาพระเจ้าอโศก ที่ได้อิทธิพลแบบกรีก ส่วนสมัยที่ 2 ราว พ.ศ. 550-950 มีศิลปะกรีกภายในรูปพุทธศาสนา ที่น่าจะเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าทำพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ที่พักคนเดินทางของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

จารึกบทที่ 122 ถึง 126 ของปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา กล่าวถึงที่พักคนเดินทาง 121 แห่ง ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างตามทางเดินที่มีอยู่ในราชอาณาจักรของพระองค์ ที่พักคนเดินทางเหล่านี้สร้างด้วยศิลา ซึ่งมีไฟตรงกับอาคารในจารึกกล่าวไว้ว่ามี 57 แห่ง บนทางระหว่างเมืองพระนคร (อังกอร์) กับราชธานีของประเทศจัมปามี 17 แห่งจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย และมี 44 แห่งบนทาง ซึ่งมีเมืองต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน นายเดอลาจองกีแยร์ จัดไว้ว่าเป็นโบราณสถานแบบ “ปราสาททัพเจย” แต่ นายฟีโนต์ เรียกว่า “ธรรมศาลา” ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เพิ่มเติมไว้ในบทความว่า ที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบในประเทศไทยมี 7 แห่ง ในจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือน จังหวัดบุรีรัมย์ พบ 5 แห่ง คือ ปราสาททมอ ปราสาทบ้านบุ ปราสาทโคกปราสาท ปราสาทหนองปล่อง และปราสาทเทพสถิตย์ ส่วนที่จังหวัดนครราชสีมา พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทห้วยแคน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 2]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 1]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับศิลปะทวารวดี

ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เชื่อว่า อาณาจักรทวารวดีส่วนใหญ่น่าจะตั้งอยู่บนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง จนกระทั่งถึงแถบเมืองเพชรบุรีทางทิศใต้ ศิลปะทวาราวดีมีแบบอย่างในการก่อสร้างที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานประติมากรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปยืนและธรรมจักร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดินแดนที่เป็นอาณาจักรทวาราวดีโดยเฉพาะจากนครปฐม สำหรับศิลปะทวาราวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ได้รับอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยที่แผ่ขยายขึ้นมายังภาคกลางและภาคตะวันออกของแหลมอินโดจีนทั้งหมด แม้จะไม่ได้เข้ามายังอาณาจักรทวาราวดีโดยตรงแต่ก็ทิ้งร่องรอยที่สำคัญไว้ทางสถาปัตยกรรมและลวดลายเครื่องประดับ อันอาจเห็นได้ชัดที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี.

Boisselier, Jean

Results 11 to 20 of 86