History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

History

Equivalent terms

History

Associated terms

History

86 Archival description results for History

86 results directly related Exclude narrower terms

พงศาวดารจีนกับภาพยนตร์กำลังภายใน

กล่าวถึงประวัติราชวงศ์จีน ตั้งแต่สังคมบุรพกาล หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมทาสได้แก่ สมัยราชวงศ์เซีย ราชวงศ์ส่าง ราชวงศ์จิวตะวันตก และราชวงศ์จิวตะวันออก สมัยสังคมศักดินาได้แก่สมัยเลียดก๊ก ราชวงศ์จิ๋น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สมัยสามก๊ก ราชวงศ์จิ้น สมัย 6 ราชวงศ์ ราชวงศ์วุย ราชวงศ์ถัง สมัยห้าราชวงศ์ ราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์หงวน และราชวงศ์เหม็ง นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงภาพยนตร์กำลังภายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์จีน เช่น เจ้าชายฮั่วตูแห่งราชวงศ์หงวนจากเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้ม จูเหวียงจาง เหวินเหวิน และเอี้ยนอ๋องแห่งราชวงศ์เหม็งจากเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู้ลิ้มภาคที่ 2 กษัตริย์คังฮีแห่งราชวงศ์เช็งจากเรื่องอุ้ยเซียวป้อ องค์ชายสี่ องค์ชายสิบสี่จากเรื่องศึกสายเลือด พรรคบัวขาวจากเรื่องกระบี่ไร้เทียมทานและจอมยุทธจักรมังกรฟ้า นอกจากนั้น ยังมีภาพยนตร์เรื่องศึกสายเลือด และศึกสองนางพญา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประวัติหอเขียนวังสวนผักกาด

หอเขียนวังสวนผักกาดนี้เดิมอยู่ที่วัดบ้านกลิ้งบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างอำเภอบางประอิน และพระนครศรีอยุธยา เป็นตำหหนักของเจ้านาย เดิมมีอยู่ด้วยกัน 2 หลัง คือเป็นหอไตรหลังหนึ่งและหอเขียนอีกหลังหนึ่ง หอไตรเป็นห้องมีระเบียงรอบ ปลูกอยู่บนเสาสูง หอเขียนเป็นศาลาไม้มีฝา 3 ด้าน ด้านหน้าเปิดโล่ง ทั้ง 2 หลังมีภาพรายลดน้ำประกอบเต็มทุกฝา ภายหลังหอเขียนได้ทรุดโทรมลงมาก ชาวบ้านจึงรื้อหอไตรและหอเขียนลง แล้วรวมเอาไม้มาปลูกใหม่เป็นหอไตรหลังเดียว มีห้องในและระเบียงล้อมรอบ
ภายหลัง กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ได้ติดต่อกับเจ้าอาวาสขอกระทำผาติกรรมไถ่ถอนลงมาปลูกที่วัง โดยจะสร้างศาลาใหม่ถวายแทนที่วัด และได้ทำการฉลองหอเขียนใหม่ได้ทำในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นวันฉลองอายุของ ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ ภาพที่เขียนมีทั้งภาพพุทธประวัติ ภายชาวต่างชาติ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประวัติศาสตร์พม่าสมัยโบราณโดยย่อ

ชนชาติพยู หรือปยู ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศพม่าก่อนการอพยพลงมาของชนชาติทิเบต-พม่า โดยอาศัยอยู่แถบเมืองแปรทางภาคกลางของประเทศพม่า เรียกชื่อว่า อาณาจักรศรีเกษตร และมีหลักฐานว่าอาจตั้งมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 สำหรับอาณาจักรมอญได้ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1368 ส่วนเมืองพุกามของชนชาติพม่าซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองแปรได้ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ใน พ.ศ. 1392 เมืองพุกามได้เริ่มเข้ามาอยู่ในขั้นประวัติศาสตร์พร้อมกับพระเจ้าปยินพยะ ได้ทรงสร้างกำแพงล้อมรอบเมืองพุกาม กษัตริย์ที่สำคัญของเมืองพุกามได้แก่ พระเจ้าอโนรถา พระเจ้ากยันซิตถา พระเจ้าอลองคสิถุ พระเจ้านรปติสิถุ พระเจ้าถิโลมินโล พระเจ้านรถิหปเต ต่อมาเมืองพุกามล่มจมไป ประเทศพม่าได้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ทิศใต้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟ้ารั่ว ทิศเหนืออยู่ภายใต้อำนาจของ 3 พี่น้องไทย คือ อถินขยะ ยซะถินกยันและถิหถุ และทิศตะวันออกสร้างเมืองตองอูขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 1823 ต่อมาเมื่ออาณาจักรพม่าตั้งขึ้นใหม่ มีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้านันทบุเรง พระเจ้ามหาธรรมราชา พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา พระเจ้าอลองพระ พระเจ้าสินพยูชิน พระเจ้าปะดุง พระเจ้าพะคยีดอ พระเจ้าพุกาม พระเจ้ามินดง พระเจ้าสีป่อ ต่อมาประเทศอังกฤษได้ประเทศพม่าทั้งหมดเป็นเมืองขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2428 และให้เอกราชแก่พม่าเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประวัติพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นาคปรก ปางมารวิชัย สมัยศรีวิชัย

พระพุทธรูปนาคปรก สำริด ปางมารวิชัย สมัยศรีวิชัย จากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพระพุทธรูปนาคปรกที่งามที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากในสมัยศรีวิชัยนั้น พุทธศาสนาลัทธิมหายานกำลังแพร่หลายอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย และการสร้างเป็นปางมารวิชัยแทนปางทรงแสดงสมาธิก็ไม่น่าจะผิดอะไร คงเพื่อแสดงถึงความหมายของบรรดาสัปดาห์ต่างๆ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญสมาธิภายหลังการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จากความสำคัญของพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวจึงมีการสร้างพระบูชา พระกริ่ง เหรียญ หรือพระผง พระพุทธรูปขึ้นถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบ 3 รอบ และทรงมีพระประสูติกาลในวันเสาร์ รวมทั้งเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเป็นการสมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในการนำไปช่วยเหลือการศึกษาแก่เยาวชนในประเทศไทย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ตอบคุณปรีดา ศรีชลาลัย

คุณปรีดา ศรีชลาลัย ผู้สนใจในวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ได้กรุณาเขียนบทความเรื่อง "ข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับโบราณคดีไทย" โดยได้พยายามพิสูจน์ว่าชนชาติไทยได้ลงมาอยู่ในแหลมทองหรือประเทสไทยปัจจุบันนี้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนชาติอื่น โดยกล่าวถึงเหตุผลทั้งทางด้านชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อบ้านเมือง แม่น้ำ ภูเขา ในปัจจุบัน ล้วนเป็นชื่อภาษาไทยทั้งสิ้น ลัทธิศาสนาซึ่งชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็ออกเสียงตรงตามสำเนียงคำของอินเดียเป็นส่วนมาก วิชาหนังสือที่ชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็รับสืบสำเนียงคำอ่านออกเสียงสระพยัญชนะ ตรงตามแบบฉบับของอินเดียที่สุด และยังกล่าวถึงหลักฐานจารึกภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดมีอยู่ 2 แห่ง คือที่ถ้ำฤษีเขางู จังหวัดราชบุรี และที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 7]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่าเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 6]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่าเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 5]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่าเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิชาโบราณคดีจีน [ตอนที่ 4]

โบราณคดีจีนสมัยหินเก่าจนถึงสมัยหินใหม่ (600,000 ปี มาแล้ว – 3,500 ปี ก่อนพุทธกาล) ได้ค้นพบมนุษย์ลันเถียร มนุษย์วานรที่เก่าที่สุดมีชีวิตราว 500,000 ปี มาแล้ว วัฒนธรรมแบบยางเชา (Yang-chao) วัฒนธรรมแบบซิงเหลียนกัง และวัฒนธรรมแบบลองชาน อยู่ในปลายสมัยหินใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์ส่างเป็นราชวงศ์ที่เริ่มใช้สัมฤทธิ์และตัวอักษรนับว่า เริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก การค้นพบบ่อน้ำที่เก่าที่สุดแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์จิวภาคตะวันตกเป็นผู้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในทิศตะวันออกไกล นอกจากนั้นยังพบภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผา และเริ่มมีระฆังจีน สมัยเลียดก๊กเป็นสมัยที่ความรู้ทางปัญญาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีการค้นพบซากโรงหล่อโลหะ แม่พิมพ์สำหรับหล่ออาวุธ เครื่องรัก การฝังเงินฝังทองลงไปในโลหะ สร้างกำแพงเมืองจีน และกำหนดมาตราชั่งตวงวัดใหม่ ส่วนการใช้หนังสือเดินทางพบในสมัยราชวงศ์จิ๋น สมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีการสอบจอหงวน ทางเดินของสินค้าไหมกลายเป็นแกนแห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศจีนกับเมืองอันติโอคุสบนฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน ระบบชลประทานดีขึ้น มีการใช้เหล็กกันทั่วไป สมัยราชวงศ์ซินในระยะนี้ พุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศจีน เริ่มมีกระเบื้องถ้วย (porcelain) สมัยราชวงศ์ถังมีการบรรจุ มิงคีหรือประติมากรรมที่เกี่ยวกับการศพนับร้อยจนกระทั่งต้องออกกฎหมายกำหนดการใช้มิงคี พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับเครื่องกระเบื้องถ้วยเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ

การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ 3 เรื่อง 1) ปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละ โดยทั่วไป ประวัติศาสตร์สมัยโบราณในประเทศกัมพูชาสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (pre-Angkorean period) และมีอายุก่อน พ.ศ. 1355 นั้น นิยมใช้ชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น ศาสตราจารย์โคลด ชาค (Claude Jacques) ศาสตราจารย์เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ศาสตราจารย์ฟิโนต์ (Louis Finot) ศาสตราจารย์ดูปองต์ (P. Dupont) 2) เดิม ศาสตราจารย์เซเดส์ เขียนไว้ในหนังสือว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอมทรงเป็นเชื้อชาติมาลายู และเสด็จขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เปลี่ยนความเห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นจ้าชายขอมแต่ดั้งเดิม 3) หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นซากโบราณสถานที่เนินทางพระ พบวัตถุสำคัญที่สลักจากศิลาคือ องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืน เศียรพระพุทธรูป ประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น เศียรพระพุทธรูปหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็ก และพระพิมพ์ เครื่องประดับปูนปั้นรูปเทวดา มนุษย์และยักษ์ ประติมากรรมปูนปั้นในศาสนาฮินดู เศียรเทวดา ครุฑ ลวดลายพันธุ์พฤกษา แผ่นอิฐมีจารึกตัวอักษรขอมว่า “ ก “ และเครื่องมือเหล็กสำหรับสกัดศิลา หลักฐานที่ค้นพบนี้ยืนยันว่า เมืองสุวรรณปุระในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา คงจะเป็นเมืองสุพรรณบุรีของไทยอย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 41 to 50 of 86