History
Taxonomy
Code
Scope note(s)
Source note(s)
Display note(s)
Hierarchical terms
History
Equivalent terms
History
Associated terms
History
86 Archival description results for History
86 results directly related Exclude narrower terms
ที่พักคนเดินทางของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-014
- Item
- 2537
Part of บทความ
จารึกบทที่ 122 ถึง 126 ของปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา กล่าวถึงที่พักคนเดินทาง 121 แห่ง ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างตามทางเดินที่มีอยู่ในราชอาณาจักรของพระองค์ ที่พักคนเดินทางเหล่านี้สร้างด้วยศิลา ซึ่งมีไฟตรงกับอาคารในจารึกกล่าวไว้ว่ามี 57 แห่ง บนทางระหว่างเมืองพระนคร (อังกอร์) กับราชธานีของประเทศจัมปามี 17 แห่งจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย และมี 44 แห่งบนทาง ซึ่งมีเมืองต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน นายเดอลาจองกีแยร์ จัดไว้ว่าเป็นโบราณสถานแบบ “ปราสาททัพเจย” แต่ นายฟีโนต์ เรียกว่า “ธรรมศาลา” ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เพิ่มเติมไว้ในบทความว่า ที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบในประเทศไทยมี 7 แห่ง ในจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือน จังหวัดบุรีรัมย์ พบ 5 แห่ง คือ ปราสาททมอ ปราสาทบ้านบุ ปราสาทโคกปราสาท ปราสาทหนองปล่อง และปราสาทเทพสถิตย์ ส่วนที่จังหวัดนครราชสีมา พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทห้วยแคน.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 1]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-016
- Item
- 2494
Part of บทความ
ก่อนการมีศิลปะอินเดียอย่างแท้จริง มีศิลปะของเมืองฮาระปาและโมฮนโจ-ทาโรในลุ่มน้ำสินธุราว 1450 ก่อนพุทธกาล ที่มีการจัดการผังเมืองอย่างเป็นระบบ และตราประทับที่ส่วนใหญ่เป็นรูปสัตว์ และเทวดานั่ง ศิลปะแบบอินเดียอย่างแท้จริงสมัยที่ 1 คือศิลปะของสัญจี สมัยราชวงศ์โมรยะ และศุงคะ ราว พ.ศ. 250-650 มีสูปที่พัฒนาจากเนินดินฝังศพ ถ้ำที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมเครื่องไม้คือถ้ำภัชชา เบทสา กาลี เป็นต้น ส่วนประติมากรรมคือเสาพระเจ้าอโศก ที่ได้อิทธิพลแบบกรีก ส่วนสมัยที่ 2 ราว พ.ศ. 550-950 มีศิลปะกรีกภายในรูปพุทธศาสนา ที่น่าจะเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าทำพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-031
- Item
- 2510
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงวิธีการแบ่งยุคสมัยย่อยในศิลปะขอม และประติมากรรมขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งในแง่ของวัสดุต่าง ๆ ทั้งโลหะ ศิลา ปูนปั้น ไม้ ซึ่งมีเงื่อนไขทางด้านเทคนิคแตกต่างกันไป ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปร่างและท่าทางโดยเน้นถึงสุนทรียภาพของประติมากรรมขอม.
Boisselier, Jean
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-054
- Item
- 2529
Part of บทความ
พระนางซูสีไทยเฮา เดิมชื่อนางเยโฮนาลา (ดอกกล้วยไม้) ถือกำเนิดในสกุลแมนจู ที่ค่อนข้างขัดสน ได้รับการคัดเลือกขึ้นเป็นนางสนมของพระเจ้าเซียนฟงกษัตริย์องค์ที่ 7 ในราชวงศ์เช็ง หรือ ชิง นางเยโฮนาลาเป็นหญิงฉลาดเฉลียว มักอาสาช่วยเหลือพระเจ้าเซียนฟงในการเก็บรักษาเอกสารราชการจนกระทั่งมีความรู้เกี่ยวกับราชการงานเมืองเป็นอย่างดี เมื่อนางมีโอรสกับพระเจ้าเซียนฟง จึงได้เลื่อนขั้นขึ้นเป็นพระสนมเอก และได้พระนามว่า “ซูสี” ต่อมา โอรสของนางได้ขึ้นครองราชสมบัติ นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการและกลายเป็นผู้ปกครองประเทศจีนอย่างแท้จริง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เมื่อมีพระชนม์ 73 พรรษา.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามกับนางแอนนา ลิโอโนเวนส์
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-055
- Item
- 2542
Part of บทความ
นางแอนนา ลิโอโนเวนส์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเดินทางกลับประเทศ นางแอนนาแต่งหนังสือขึ้น 2 เล่ม คือ “ครูหญิงชาวอังกฤษ ณ ราชสำนักไทย” (The English Governess at the Siamese Cour) และ “ความรักในฮาเร็ม” (The Romance of the Harem) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่นางแอนนาระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่นางได้พบระหว่างเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ในราชสำนักสยาม อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่บันทึกไว้หลายเหตุการณ์มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เนื่องจากนางแอนนาบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ตามทัศนคติและความเข้าใจของตนเอง รวมไปถึงเหตุการณ์หลายอย่างคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ไม่ใช่จากประสบการณ์ของนางแอนนาเอง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 1]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-070
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) อาณาจักรขอมเป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมจากอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีชื่อตามเอกสารและจารึกที่ปรากฎ คือ ฟูนัน เจนละ และกัมพุเทศหรือกัมพุชเทศ ซึ่งดินแดนของอาณาจักรขอมแผ่ขยายออกไปกว้างขวาง ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานในจดหมายเหตุจีน ศิลาจารึก และประติมากรรมได้ชี้ให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นหลัก และลัทธิไวษณพนิกายรวมอยู่ด้วย รวมถึงศาสนาพุทธซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนิกายใด ซึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีจารึกส่วนใหญ่ที่เก่าและแสดงถึงนิกายเถรวาทก่อนจะเป็นนิกายมหายาน
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 2]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-071
- Item
- 2514
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) ลัทธิเทวราชปรากฎขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 ซึ่งทำให้พระราชากลายเป็นสมมติเทพ และเป็นส่วนหนึ่งของพระอิศวรมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล ศาสนาพราหมณ์จึงควบคู่ไปกับอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ทรงนับถือลัทธิไวษณพนิกายและลัทธิเทวราชา รวมทั้งมีการสร้างเทวรูปหริหระแสดงถึงการผสมผสานทั้ง 2 ลัทธิเข้าด้วยกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทำให้ศาสนาในอาณาจักรขอมเป็นศาสนาผสมอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฎในการสร้างยโศธราศรมเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หลายองค์ ส่วนพุทธศาสนาก็ได้มีการสร้างพุทธสถานโดยข้าราชการเนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จนมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกในรัชกาลพระเจ้าชัยวีรวรมันได้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ลัทธิไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ โดยศาสนาในอาณาจักรขอมยังเป็นศาสนาแบบผสมจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีลัทธิพุทธราชาเข้ามาแทนที่เทวราชาที่มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสิ้นสมัยแล้วก็กลับไปนิยมศาสนาพราหมณ์ตามเดิม จน พ.ศ. 1839 พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้ประดิษฐานในอาณาจักรขอม พระเจ้าศรีนทรวรมันได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ต้องสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และกลับไปตั้งมั่นในลัทธิไศวนิกายตามเดิม
Bhattacharya, Kamaleswar
ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-087
- Item
- 2509
Part of บทความ
เนื้อบทความเป็นการย่อใจความจากเรื่องจารึกปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร (La stele du Prah Khan d’Ankor) กล่าวถึง นาย ม. แกลซ (M. Glaize) ได้ค้นพบจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 เป็นศิลาจารึกแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลวดลายบัวอยู่บนฐาน และมีลายดอกบัวสลักอย่างคร่าว ๆ บนยอด สูง 1.85 เมตร กว้างด้านละ 58 เซนติเมตร มีจารึกอยู่ 72 บรรทัด เป็นภาษาสันสกฤต มีทั้งสิ้น 179 บท แต่งเป็นมาตราฉันท์ต่าง ๆ กัน 7 มาตรา ข้อความส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทั้งนโยบายการเมือง พระราชกรณียกิจ การสร้างเมืองชัยศรี การสงคราม การสร้างพระพุทธรูปและประติมากรรมอื่น ๆ การเก็บภาษี การก่อสร้างศาสนสถาน การบำเพ็ญกุศล เฉพาะอย่างยิ่งจารึกตั้งแต่บทที่ 112-116 เกี่ยวข้องกับการแผ่อานุภาพของพระองค์ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นภาคกลางของประเทศไทยหรือไม่ ในจารึกบทสุดท้ายกล่าวว่า จารึกทั้งหมดนี้ผู้ประพันธ์คือ เจ้าชายวีรกุมาร โอรสแห่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระนางราเชนทรเทวี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 การศึกษาภาษาสันสกฤตในราชสำนัก ณ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา อยู่ในขั้นสูงมาก.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศิลาจารึกภาษามอญ ที่เมืองลำพูน หลักที่ 1
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-088
- Item
- 2515
Part of บทความ
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) ซึ่งแรกตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่า ได้พบศิลาจารึกภาษามอญ 7 หลัก ที่เมืองลำพูน เดิมคืออาณาจักรหริภุญชัยในสมัยโบราณและบริเวณใกล้เคียง ดังนี้ วัดดอน (วัดดอนแก้ว) วัดกู่กุด วัดแสนข้าวห่อ วัดมหาวัน วัดบ้านหลุย (วัดบ้านหลวย) และวัดต้นแก้ว (จารึกวัดดอนแก้ว ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 4 ไม่ได้มีการแปลในบทความนี้) ปัจจุบันรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย ตัวอักษรที่ใช้จารึกภาษามอญนั้นรูปร่างของตัวอักษรมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ใช้ในจารึกภาษามอญในรัชกาลของพระเจ้ากยันซิตถา ที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า (พ.ศ. 1628 - 1656) แต่จารึกภาษามอญที่เมืองลำพูนจารึกขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 และใกล้เคียงกับภาษามอญในสมัยปัจจุบันมากกว่า ทั้งมีคำหลายคำที่ไม่เคยค้นพบในจารึกภาษามอญโบราณในประเทศพม่า ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 1 จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ1 (วัดดอนแก้ว) จารึกจากวัดดอน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ.1) ขุดค้นพบที่วัดดอน เมื่อ พ.ศ. 2460 จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 35 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าสววาธิสิทธิ ทรงสถาปนาวัดเชตวันเมื่อพระชนมายุได้ 26 พรรษา ต่อมา เมื่อพระชนมายุได้ 31 พรรษา โปรดให้สร้างกุฏิ และเสนาสนะแด่ภิกษุสงฆ์ อีกทั้งจารพระไตรปิฎกไว้เป็นจำนวนมาก มีการสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ ทางด้านหน้าของวัดเชตวัน โดยพระเจ้าสววาธิสิทธิ พระชายา 2 พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระโอรส โดยมีการกล่าวถึงบริเวณที่ตั้งของเจดีย์ ซึ่งเรียงกันจากทิศตะวันออกไปหาทิศตะวันตก และการผนวชของพระเจ้าสววาธิสิทธิ และพระราชโอรส 2 พระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า มหานาม และ กัจจายะ ตามลำดับ โดยพระมหาเถระนามว่า ราชคุรุ เป็นประธานในการผนวช ในขณะนั้นพระเจ้าสววาธิสิทธิทรงมีพระชนมายุได้ 32 พรรษา
Halliday, Robert