สุพรรณบุรี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

สุพรรณบุรี

Equivalent terms

สุพรรณบุรี

Associated terms

สุพรรณบุรี

2 Archival description results for สุพรรณบุรี

2 results directly related Exclude narrower terms

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 1]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการนำนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรไปทำการขุดค้นที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 1 คณะโบราณคดีนำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองที่ซากพระเจดีย์นอกคูเมือง บริเวณแนวปูนปั้นที่เคยใช้ประดับพระเจดีย์ได้พบปูนปั้นจำนวนมาก และวัตถุต่างๆ ที่น่าสนใจ 30 ชิ้น มีทั้งองค์พระพุทธรูป ฐานพระพุทธรูป ฐานบัวพระพุทธรูปและพระบาท ครุฑและปีกครุฑ เศียรพระพุทธรูป ลายก้านขด องค์เทวรูป พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์แบบทวาราวดีปางเทศนาสูง 13 เซนติเมตร และพระพิมพ์ดินเผาแบบทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สูง 8 ½ เซนติเมตร หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พระเจดีย์องค์นี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยทวาราวดีรุ่นหลัง ครั้งที่ 2 ได้นำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองอีก ส่วนใหญ่พบวัตถุปูนปั้นและได้ขุดพบพระพุทธรูปปูนปั้นยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นแบบอู่ทองยุคที่ 1 สูง 34 เซนติเมตร เศียรเทวดาแบบทวาราวดีรุ่นหลังขนาดสูง 15 เซนติเมตร และลวดลายปูนปั้นแปลกๆ เช่นลายบันได ลายประจำยาม ลายวงกลมโค้งต่อกัน จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่า ศิลป ณ.เมืองอู่ทองมีสืบลงมาตั้งแต่แบบทวาราวดีจนถึงแบบอู่ทอง สันนิษฐานว่า เมื่อศิลปแบบคุปตะแพร่ออกมาจากประเทศอินเดีย คงจะมาเจริญแพร่หลายที่เมืองนครปฐม ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลก่อน ต่อจากนั้นจึงได้แผ่ขึ้นมายังอู่ทอง ทำให้ได้รับอิทธิพลของชาวพื้นเมืองมากขึ้นและฝีมือก็คลายลง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล