- TH Subhadradis 06 MISC
- Fonds
- ระหว่าง 2489-2547
วีดิทัศน์ และงานอื่น ๆ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
วีดิทัศน์ และงานอื่น ๆ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิ ดิสกุล
Part of ปกิณกะ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
โปสเตอร์ นิทรรศการ 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of ปกิณกะ
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดกิจกรรมรำลึก ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ผ่านนิทรรศการ “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล”
โดยมี หม่อมราชวงศ์ดำรงเดช ดิศกุล ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดนิทรรศการ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้กล่าวคำรำลึกถึงท่านอาจารย์ สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ สมาชิกราชสกุลดิศกุลศาสตราจารย์ ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คณบดี ทีมผู้บริหารสำนักหอสมุดกลาง ศิษย์เก่าตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมพิธีเปิดและชมนิทรรศการฯ โดยมี ผศ.นันทพล จั่นเงิน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะผู้จัดงาน ได้ทำหน้าที่นำชมในครั้งนี้
ในพิธีเปิดนิทรรศการฯ ครั้งนี้ สมาคมนักศึกษาเก่าคณะโบราณคดี ได้มอบพระรูปประติมากรรม ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ให้แก่หอสมุดวังท่าพระ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ผู้แทนสมาคมฯ เป็นผู้มอบ
ภายในนิทรรศการบอกเล่าบทบาทสำคัญทั้ง 5 บทบาทของท่านอาจารย์ ได้แก่ บทบาทในฐานะอาจารย์ , บทบาทในฐานะภัณฑารักษ์, บทบาทในฐานะมัคคุเทศก์, บทบาทในฐานะนักวิชาการ, บทบาทในฐานะการจัดการมรดกวัฒนธรรมระดับนานาชาติ ตลอดจนการจัดแสดง ต้นฉบับลายมือ ต้นฉบับบทความ หนังสือและภาพถ่ายของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
นิทรรศการ “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล” จัดแสดงระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน - 28 ธันวาคม 2566
หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เสวนา 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of ปกิณกะ
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมเสวนา “100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล” ผ่านการถ่ายทอดพระเกียรติคุณของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ในบทบาทฐานะอาจารย์ , บทบาทในฐานะภัณฑารักษ์, บทบาทในฐานะมัคคุเทศก์, บทบาทในฐานะนักวิชาการ, บทบาทในฐานะการจัดการมรดกวัฒนธรรมระดับนานาชาติ
โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผนพัฒนา, ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์, ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นผู้ร่วมเสวนา และดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี
หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วีดิทัศน์สัมภาษณ์ คุณเพลินพิศ กำราญ
Part of ปกิณกะ
นางสาวเพลินพิศ กำราญ จบการศึกษาจากคณะโบราณคดีรุ่นที่ 9 เมื่อปีพุทธศักราช 2506 ช่วงแรกของการศึกษา ในรุ่นของคุณเพลินพิศเรียกท่านอาจารย์ว่าอาจารย์ท่านชาย ก่อนเปลี่ยนเป็นเรียกท่านอาจารย์ในภายหลัง คุณเพลินพิศกล่าวว่าการสอนสั่งของท่านอาจารย์ใช้ภาพประกอบและคำช่วยที่ทำให้จดจำบทเรียนได้ง่าย ท่านเป็นผู้มีเมตตาต่อนักศึกษา คอยสอนสั่งโดยไม่ถือตนทั้งในมหาวิทยาลัยหรือเวลาออกไปทำกิจกรรมภาคสนาม ให้ความช่วยเหลืออุปการะคุณผู้อื่นอย่างไม่แบ่งแยก
“ มีรุ่นพี่ผู้ชายคนหนึ่ง เขามาจากสุโขทัย ท่านก็มีพระเมตตา ตอนแรกท่านไม่ทราบว่าเขาอาศัยอยู่ที่ไหน แต่ตอนหลังเมื่อทราบว่าเป็นเด็กต่างจังหวัด ท่านก็ไปฝากให้อาศัยอยู่ที่วังสวนผักกาด ฝึกเป็นมัคคุเทศน์ แล้วก็ส่งไปเรียนเป็นกิจลักษณะ ก็เลยคิดว่า เออ ท่านมีพระเมตตานะ ”
“ การไปขุดค้นที่อู่ทอง ท่านอาจารย์ก็ไปอยู่กับพวกเราระหว่างการขุดค้น ตอนกลางคืนที่พักหลังจากการขุดค้น ที่อู่ทองจะมีตลาดกลางคืน เราก็ไปดูหนัง แล้วก็มีขนมน้ำแข็งไสสมัยก่อน ก่อนดูหนังพวกเราจะต้องไปทานขนมน้ำแข็งไส ถ้าท่านอาจารย์ไปท่านอาจารย์ก็จะบอกวันนี้ฉันเลี้ยง ใครที่ได้รับเลี้ยงก็รู้สึกเป็นหน้าเป็นตา คุยไปหลายวัน ประทับใจท่านมาก ”
“ ท่านอาจารย์จะสอนให้รู้ในสิ่งที่เรียน แล้วก็จดจำเพื่อเอาไปใช้ในการทำงาน ”
(คลิกรูปภาพเพื่อรับชมวีดิทัศน์สัมภาษณ์)
เพลินพิศ กำราญ
วีดิทัศน์สัมภาษณ์ อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ
Part of ปกิณกะ
อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ จบการศึกษาจากคณะโบราณคดีรุ่นที่ 19 แรกเริ่มเดิมทีรู้จักท่านอาจารย์ผ่านผู้เป็นแม่ ซึ่งเคยเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับท่านอาจารย์เมื่อครั้งศึกษาอยู่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้นอาจารย์เผ่าทองศึกษาต่อที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรก็ได้เข้าเรียนกับท่านอาจารย์โดยตรง
ในสมัยเรียน อาจารย์เผ่าทองตั้งใจทำกิจกรรมควบคู่กับเล่าเรียน รับวิชาความรู้และการอบรมสั่งสอนของท่านอาจารย์มาสม่ำเสมอ แม้จบการศึกษามาหลายปีก็ยังคงได้รับพระเมตตา อาจารย์เผ่าทองกล่าวว่าสิ่งที่ท่านอาจารย์ส่งต่อในฐานะครูบาอาจารย์ ตนยังคงระลึกถึงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
“ ตอนนั้นท่านเกษียณแล้วก็มาทรงงานอยู่ที่ SPAFA ผมก็เดินทางจากบ้านไปขอเฝ้ากราบพระบาทรับพร จำได้ว่าเอาหน้าผากลงไปบนหลังรองเท้าท่าน ท่านก็ลูบหัวตบหัว ประทานพรให้มีความเจริญรุ่งเรือง ให้ประสบความสำเร็จให้อะไรต่าง ๆ ก็เป็นอะไรที่เราซาบซึ้งมาก ”
“ความเป็นครูอาจารย์ของท่านมันไม่ได้ขาดกันเฉพาะในมหาวิทยาลัย ความเป็นครูบาอาจารย์ของท่านเนี่ยต่อเนื่องกันมาอยู่เสมอ ”
“ ยังใช้วิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ของท่านเนี่ยสอนอยู่ ก็ต้องกราบพระบาทเอาไว้ว่าเป็นพระกรุณาอย่างสูงล้นเกล้าที่ทำให้เรามีอาชีพที่ดี ได้ใช้อาชีพที่ท่านประทานสอนไว้เลี้ยงตัวโดยตรง รวมทั้งได้นำมารับใช้ประเทศชาติ ถ้าไม่มีท่านก็คงไม่มีเราในวันนี้ ไม่มีเราที่จะมานั่งอยู่ตรงนี้ทุกวันนี้ครับ ”
(คลิกรูปภาพเพื่อรับชมวีดิทัศน์สัมภาษณ์)
เผ่าทอง ทองเจือ
วีดิทัศน์สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล
Part of ปกิณกะ
รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล เข้าศึกษาที่คณะโบราณคดี สาขาภาษาไทย ในปี พ.ศ.2536 แต่ด้วยความสามารถด้านศิลปะไทยที่ปรากฏอย่างเด่นชัด เป็นผลให้ท่านอาจารย์จึงประทานคำแนะนำให้ย้ายมาศึกษาในสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะเมื่อปี พ.ศ. 2537
สำหรับอาจารย์รุ่งโรจน์ การแปลผลางานวิชาการต่างประเทศทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสของท่านอาจารย์ช่วยสร้างรากฐานองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีเป็นอย่างมาก
“ ผมรู้จักท่านชายนะ แรก ๆ คืออ่านจากหนังสือตำราพระพุทธเจดีย์สยาม เพราะท่านเป็นคนเขียนเชิงอรรถ พอมาเจอท่านจริง ๆ ท่านเป็นคนอธิบายรู้เรื่อง มีที่มาที่ไป ในเรื่องความจำอย่าไปเถียงกับท่านชาย ท่านจำได้ทั้งหมด ”
“ การศึกษาโบราณคดีกับประวัติศาสตร์ศิลป์เนี่ยมันเปลี่ยนแปลงไปเพราะท่านเอาทฤษฎีวิวัฒนาการมาใช้ ”
“ ท่านชายเป็นจุดเริ่มต้นของผม ”
รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล