Showing 36 results

Archival description
บทความ
Print preview View:

36 results with digital objects Show results with digital objects

การกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัย ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุศิลปะในหนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา และบทความเรื่องศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัยระหว่าง พ.ศ.1750-1900 ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เป็นการเขียนตามแนวนอน แทนที่จะเขียนตามประวัติของศิลปะแต่ละแบบตามแนวดิ่ง (vertical) โดยเฉพาะการกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัยใหม่ ดร.พิริยะ มิได้คำนึงถึงลักษณะร่วมกันเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสถานที่ค้นพบเป็นสำคัญที่สุด ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลปะสมัยสุโขทัย เช่น วัดศรีสวาย เจดีย์หรือสถูปศิลาแลงในวัดพระพายหลวง ปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ ประติมากรรมที่ค้นพบที่วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง สถูปจำลองสัมฤทธิ์ กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในวัดมหาธาตุ พระพิมพ์ดินเผา ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 วัดสะพานหิน เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเชลียง พระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดช้างล้อม พระพุทธรูปบุเงินที่วัดพระพายหลวง เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ฯลฯ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จ. สุโขทัย

วัดพระพายหลวงตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยเก่า ศาสนสถานของวัดนี้ คือ พระปรางค์ 3 องค์ตั้งเรียงกัน จากการขุดแต่งค้นพบหลักฐานแสดงถึงศิลปขอมที่เผยแพร่เข้ามา ณ เมืองสุโขทัย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพระปรางค์องค์กลางมีหลักฐานแสดงว่า สมัยสุโขทัยชาวไทยได้มาแก้ไขใหม่เป็นแบบสุโขทัย ภายในซุ้มของพระเจดีย์สำคัญมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสนประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหลายองค์ ด้านหน้าพระเจดีย์มีผนังสูงใหญ่และมีพระพุทธรูปยืนอยู่ 5 องค์ จากร่องรอยโบราณวัตถุสถานที่พบแสดงว่าระหว่าง พ.ศ. 1800 -1825 เป็นระยะที่ก่อสร้างศิลปแบบสุโขทัยขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม ศิลปะลังกาและศิลปะแบบเชียงแสน และมีการดัดแปลงตกแต่งวัดนี้อีกหลายครั้ง แสดงว่าวัดพระพายหลวงเป็นวัดสำคัญอยู่ตลอดสมัยสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การซ่อมปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานก่อน พ.ศ. 1650 เล็กน้อย เป็นปราสาทสำคัญแห่งแรกที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาในระยะนี้ การซ่อมปราสาทหินพิมายด้วยวิธีอะนัสติโลซิส (Anastylosis) ทำให้ได้ขุดค้นพบทับหลังศิลาหลายชิ้น ทับหลังชิ้นที่1 อยู่บนลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก แสดงภาพพระพุทธรูปหลายองค์ทรงเครื่องประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรียงต่อกันไปแสดงปางวิตรรกะ (แสดงธรรม) อาจสลักขึ้นก่อน พ.ศ. 1650 เล็กน้อย ทับหลังชิ้นที่2 อยู่ในลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ตรงกลางสลักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ด้านบนเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ด้านล่างเป็นภาพนางอัปสรกำลังฟ้อนรำ ทับหลังชิ้นที่3 อยู่ในลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ด้านบนสลักเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเรียงเป็นแถวอยู่ภายในซุ้ม องค์กลางใหญ่กว่าองค์ด้านข้างเล็กน้อย ใต้องค์กลางมีสิงห์กำลังแบกอยู่ สองข้างของสิงห์ตัวกลางมีสิงห์อีกข้างละตัว อาจสลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 ทับหลังชั้นที่4 เดิมอาจอยู่ในประตูซุ้มด้านทิศตะวันออก ตรงกลางสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิสำเร็จเพียงครึ่งองค์ ประทับบนบัลลังก์ที่มีหงส์กำลังแบกอยู่ ด้านขวาของพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอีก 4 องค์ คงสลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 ส่วนภาพสลักบนทับหลังของปราสาทองค์กลางบนมุขทิศตะวันออก มีภาพสลักเป็นบุรุษทำท่ากำลังจะฆ่ายักษ์อยู่กลางทับหลัง และมีภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์บนหน้าบันด้านนี้ มุขด้านตะวันออกมีทับหลังเป็นภาพเทวดาหรือกษัตริย์ประทับนั่งอยู่ในเรือที่มีฝีพายหลายคน หน้าบันสลักเป็นภาพพระอิศวรและพระ อุมาทรงโคนนทิ มุขด้านใต้มีหน้าบันสลักเป็นภาพพระศิวนาฎราช มุขด้านตะวันตกมีทับหลังสลักเป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์แต่ยังสลักไม่สำเร็จ ทับหลังหลายชิ้นในบริเวณปราสาทหินพิมาย แสดงภาพบุคคลนุ่งผ้าในตอนปลายศิลปะแบบบาปวน และศิลปะแบบนครวัด อาจกล่าวได้ว่า ปราสาทหินพิมายนี้คงสร้างขึ้นราว พ.ศ. 1625-1675.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 2]

การเข้าร่วมประชุมสภาผู้มีความรู้ด้านตะวันออกระหว่างชาติครั้งที่ 27 โดยได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนไปยังกรุงวอชิงตันดีซี และนครนิวยอร์ค ก่อนที่จะเดินทางไปยังนครลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อเยี่ยมเยียนผู้รู้จักและหาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก และกรุงปารีส เข้าชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก เยี่ยมศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และเดินทางกลับประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จดหมายเรื่องศิลปแบบเชียงแสน

จดหมายของเอ.บี. กริสโวลด์ ถึง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เพื่อคัดค้านข้อความอ้างอิงในบทความเรื่อง “การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล” ที่ว่า กริสโวลด์เป็นผู้กล่าวว่าการผลิตพระพุทธรูปในศิลปแบบเชียงแสนเพิ่งเริ่มต้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2130) และแสดงความเห็นต่อไปว่า “ศิลปแบบเชียงแสน” ย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งผู้แปลไม่เห็นพ้องกับทฤษฎีของกริสโวลด์และเห็นว่า พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้ม ณ พระเจดีย์ทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวงนั้น แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปเชียงแสนรุ่นแรก เนื่องจากพระเจดีย์องค์นี้อาจสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1800 -1825 อันเป็นระยะแรกของสมัยสุโขทัย แสดงว่าศิลปเชียงแสนรุ่นแรกเกิดขึ้นก่อนศิลปสุโขทัย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับศิลปทางภาคเหนือของประเทศไทย

ศิลปทางภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมดตั้งแต่สมัยแรกลงมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ถูกจัดเป็นศิลปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปแบบสิงห์ถูกจัดเป็นศิลปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ซึ่งเจริญขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1300 และ 1900 แต่กริสโวลด์เห็นว่า พระพุทธรูปแบบสิงห์อยู่ในสมัยเดียวกับศิลปแบบเชียงแสนรุ่นหลัง หรืออาจเรียกชื่อใหม่ว่า “สกุลช่างเชียงใหม่” และเชื่อว่า สกุลช่างแบบเชียงแสนรุ่นแรกไม่ได้ผลิตพระพุทธรูปแบบใดออกมาเลย จากหลักฐานที่ค้นพบบ่งว่า สมัยแห่งการผลิตศิลปกรรมอย่างใหญ่ทางภาคเหนือเริ่มขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ราว พ.ศ. 2000 และพระพุทธรูปที่งามที่สุดทั้งในแบบสิงห์และแบบอื่นๆ คงผลิตขึ้นในระหว่างนั้นจนถึง พ.ศ. 2100 ซึ่งหลักฐานใหม่ที่น่าสนใจที่สุด คือ การค้นพบพระพุทธรูปซึ่งมีจารึกอยู่บนฐานบอกศักราชที่หล่อขึ้นกว่าร้อยองค์ ราว 12 องค์เป็นแบบสิงห์ และมีจารึกว่าหล่อขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2013 ถึง 2066.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 2]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี โดยมีการยกตัวอย่างประติมากรรมต่าง ๆ ในศิลปะอินเดียระยะนั้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นพร้อมกับอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะอมรวดีนั้น มีการเน้นความเคลื่อนไหวอย่างมาก
ในช่วงหลัง เป็นบทความแนะนำศิลปะคุปตะและศิลปะหลังคุปตะ มีการกล่าวถึงพระพุทธรูปที่สารนาถที่มีจีวรเรียบบางเหมือนผ้าเปียกน้ำ รวมถึงกล่าวถึงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม ทั้งในศาสนาพุทธและฮินดู ที่เทวาลัยเทวคฤหะ และถ้ำอชันตา-กาณเหรี เอเลฟันตะด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 3]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะหลังคุปตะเนื่องในศาสนาฮินดูที่ถ้ำเอลโลร่า (สะกดในบทความว่าเอลอระ) ในช่วงหลัง เป็นบทความที่แนะนำศิลปะสมัยที่ 4 ของอินเดีย อันแบ่งเป็นศิลปะทมิฬและศิลปะทางทิศเหนือ กล่าวถึงทั้งสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งมีแนวโน้มทางศิลปะที่หลากหลาย ไม่วาการแบ่งแยกทรงวิมานและทรงศิขระ การแสดงอำนาจของประติมากรรมอินเดียใต้ที่แตกต่างไปจากความอ่อนช้อยและเต็มไปด้วยราคะของประติมากรรมอินเดียเหนือ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 4]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงการเผยแพร่ของวัฒนธรรมอินเดีย ต่อมาได้กล่าวถึงศิลปะชวาภาคกลางในประเทศอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ทั้งสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าจันทิ ประติมากรรมในศาสนาพุทธและฮินดูที่คล้ายกับศิลปะอินเดียอย่างมาก มีการยกตัวอย่างจากบุโรพุทโธและจันทิอื่น ๆ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 5]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 36