Showing 218 results

Archival description
บทความ
Print preview View:

216 results with digital objects Show results with digital objects

บทความ

  • TH Subhadradis 02 ACAR
  • Fonds
  • 2494 - 2546

ทรงนิพนธ์ ทรงแปลเรียบเรียง ที่จัดพิมพ์ในวารสาร นิตยสาร จุลสาร และหนังสือ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนิพนธ์

บทความที่ ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดีศกุล ทรงนิพนธ์ จัดพิมพ์ในวารสาร ดังต่อไปนี้

  1. โบราณคดี
  2. เมืองโบราณ
  3. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
  4. ศิลปวัฒนธรรม
  5. ศิลปากร
  6. สารคดี
    บทความทรงนิพนธ์ที่จัดพิมพ์ในหนังสือ ดังต่อไปนี้
  7. ศิลปและโบราณคดีในประเทศ ไทย (Art and archaeology in Thailand)
  8. หอเขียนวังสวนผักกาด
  9. ยอร์ช เซเดส์กับไทยศึกษา (George Coedes and Thai studie)

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัย ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุศิลปะในหนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา และบทความเรื่องศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัยระหว่าง พ.ศ.1750-1900 ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เป็นการเขียนตามแนวนอน แทนที่จะเขียนตามประวัติของศิลปะแต่ละแบบตามแนวดิ่ง (vertical) โดยเฉพาะการกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัยใหม่ ดร.พิริยะ มิได้คำนึงถึงลักษณะร่วมกันเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสถานที่ค้นพบเป็นสำคัญที่สุด ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลปะสมัยสุโขทัย เช่น วัดศรีสวาย เจดีย์หรือสถูปศิลาแลงในวัดพระพายหลวง ปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ ประติมากรรมที่ค้นพบที่วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง สถูปจำลองสัมฤทธิ์ กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในวัดมหาธาตุ พระพิมพ์ดินเผา ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 วัดสะพานหิน เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเชลียง พระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดช้างล้อม พระพุทธรูปบุเงินที่วัดพระพายหลวง เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ฯลฯ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จ. สุโขทัย

วัดพระพายหลวงตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยเก่า ศาสนสถานของวัดนี้ คือ พระปรางค์ 3 องค์ตั้งเรียงกัน จากการขุดแต่งค้นพบหลักฐานแสดงถึงศิลปขอมที่เผยแพร่เข้ามา ณ เมืองสุโขทัย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพระปรางค์องค์กลางมีหลักฐานแสดงว่า สมัยสุโขทัยชาวไทยได้มาแก้ไขใหม่เป็นแบบสุโขทัย ภายในซุ้มของพระเจดีย์สำคัญมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสนประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหลายองค์ ด้านหน้าพระเจดีย์มีผนังสูงใหญ่และมีพระพุทธรูปยืนอยู่ 5 องค์ จากร่องรอยโบราณวัตถุสถานที่พบแสดงว่าระหว่าง พ.ศ. 1800 -1825 เป็นระยะที่ก่อสร้างศิลปแบบสุโขทัยขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม ศิลปะลังกาและศิลปะแบบเชียงแสน และมีการดัดแปลงตกแต่งวัดนี้อีกหลายครั้ง แสดงว่าวัดพระพายหลวงเป็นวัดสำคัญอยู่ตลอดสมัยสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การซ่อมปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานก่อน พ.ศ. 1650 เล็กน้อย เป็นปราสาทสำคัญแห่งแรกที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาในระยะนี้ การซ่อมปราสาทหินพิมายด้วยวิธีอะนัสติโลซิส (Anastylosis) ทำให้ได้ขุดค้นพบทับหลังศิลาหลายชิ้น ทับหลังชิ้นที่1 อยู่บนลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก แสดงภาพพระพุทธรูปหลายองค์ทรงเครื่องประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรียงต่อกันไปแสดงปางวิตรรกะ (แสดงธรรม) อาจสลักขึ้นก่อน พ.ศ. 1650 เล็กน้อย ทับหลังชิ้นที่2 อยู่ในลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ตรงกลางสลักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ด้านบนเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ด้านล่างเป็นภาพนางอัปสรกำลังฟ้อนรำ ทับหลังชิ้นที่3 อยู่ในลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ด้านบนสลักเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเรียงเป็นแถวอยู่ภายในซุ้ม องค์กลางใหญ่กว่าองค์ด้านข้างเล็กน้อย ใต้องค์กลางมีสิงห์กำลังแบกอยู่ สองข้างของสิงห์ตัวกลางมีสิงห์อีกข้างละตัว อาจสลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 ทับหลังชั้นที่4 เดิมอาจอยู่ในประตูซุ้มด้านทิศตะวันออก ตรงกลางสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิสำเร็จเพียงครึ่งองค์ ประทับบนบัลลังก์ที่มีหงส์กำลังแบกอยู่ ด้านขวาของพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอีก 4 องค์ คงสลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 ส่วนภาพสลักบนทับหลังของปราสาทองค์กลางบนมุขทิศตะวันออก มีภาพสลักเป็นบุรุษทำท่ากำลังจะฆ่ายักษ์อยู่กลางทับหลัง และมีภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์บนหน้าบันด้านนี้ มุขด้านตะวันออกมีทับหลังเป็นภาพเทวดาหรือกษัตริย์ประทับนั่งอยู่ในเรือที่มีฝีพายหลายคน หน้าบันสลักเป็นภาพพระอิศวรและพระ อุมาทรงโคนนทิ มุขด้านใต้มีหน้าบันสลักเป็นภาพพระศิวนาฎราช มุขด้านตะวันตกมีทับหลังสลักเป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์แต่ยังสลักไม่สำเร็จ ทับหลังหลายชิ้นในบริเวณปราสาทหินพิมาย แสดงภาพบุคคลนุ่งผ้าในตอนปลายศิลปะแบบบาปวน และศิลปะแบบนครวัด อาจกล่าวได้ว่า ปราสาทหินพิมายนี้คงสร้างขึ้นราว พ.ศ. 1625-1675.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การนำศิลปวัตถุไทยไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา

ศิลปวัตถุที่ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดแสดงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นศิลปวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพฯ และพระวิหารสมเด็จวัดเบญจมบพิตร พิพิธภัณฑสถานที่จังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ลพบุรีและลำพูน รวมทั้งศิลปวัตถุบางชิ้นของเอกชน แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้ ศิลปะแบบทวารวดี 29 ชิ้น แบบ เทวรูปรุ่นเก่า 3 ชิ้น แบบศรีวิชัย 7 ชิ้น แบบลพบุรี 52 ชิ้น แบบเชียงแสน 27 ชิ้น สุโขทัย 40 ชิ้น อู่ทอง 5 ชิ้น อยุธยา 69 ชิ้น นครศรีธรรมราช 1 ชิ้น รัตนโกสินทร์ 101 ชิ้น รวมทั้งหมด 334 ชิ้น โดยที่เป็นการตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับพิพิธภัณฑสถานและสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกา 8 แห่ง เพื่อนำศิลปกรรมไทยไปจัดแสดงเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า เมืองบลูมิงตัน รัฐอินเดียน่า ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 2503.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การบูรณะโบราณสถานที่เขาสีคิริยะ ประเทศศรีลังกา

เขาสีคิริยะ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะลังกา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา พระเจ้ากัสสปซึ่งขึ้นครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1020 – 1038 ได้ย้ายราชธานีมาตั้งที่นี่และก่อสร้างอาคารด้วยอิฐเป็นอันมาก รวมทั้งสร้างพระราชวังสองชั้นลดหลั่นกันอยู่เหนือยอดเขา ตรงกลางมีภาพเขียนรูปนางอัปสรเป็นคู่ ๆ ปัจจุบันเหลือเพียง 15 รูปเท่านั้น กรมโบราณคดีและเจ้าหน้าที่โครงการสามเหลี่ยมวัฒนธรรมยูเนสโก - ศรีลังกา ดำเนินการบูรณะโบราณสถานโดยการขุดค้น การบำรุงรักษา การปรับปรุงและตกแต่งบริเวณสถานที่ พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและบริการสนับสนุน การดูแลและออกกฎควบคุมการพัฒนาในบริเวณใกล้เคียง ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2525-2529 แต่ไม่สามารถกระทำได้ จึงต่อเวลาออกไปคาดว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2534.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 2]

การเข้าร่วมประชุมสภาผู้มีความรู้ด้านตะวันออกระหว่างชาติครั้งที่ 27 โดยได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนไปยังกรุงวอชิงตันดีซี และนครนิวยอร์ค ก่อนที่จะเดินทางไปยังนครลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อเยี่ยมเยียนผู้รู้จักและหาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก และกรุงปารีส เข้าชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก เยี่ยมศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และเดินทางกลับประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ ทุก ๒ ปี ครั้งที่ ๒ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ หรือ International Council of Museums (ICOM) ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 17-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ผู้เขียนเป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าประชุมในแผนกพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งพิจารณาปัญหาสำคัญต่าง ๆ เช่น เรื่องพิพิธภัณฑ์ในโบราณสถาน การแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชาติของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ และการขุดค้นทางโบราณคดี การใช้แสงไฟฟ้าในพิพิธภัณฑ์ หนทางและวิธีการที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์และประชาชนที่พิพิธภัณฑ์นั้นรับใช้ การป้องกันอัคคีภัยในพิพิธภัณฑ์ ความร่วมมือกันในการจัดแสดงศิลปะระหว่างชาติ แผนการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ สเกลแสดงถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ นอกจากนั้น UNESCO ยังเสนอให้ประเทศสมาชิกส่งภาพศิลปวัตถุสถานต่าง ๆ ของตนมายัง UNESCO สิ่งละ 4 ภาพ เพื่อแบ่งแยกเก็บไว้ในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ในอนาคตถ้าตัวศิลปวัตถุสถานถูกทำลายไปในสงครามจะได้มีภาพเก็บไว้ให้ดูได้ต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 218