พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม (King Mongkut of Siam)
- TH Subhadradis 01 BK-02-13
- Series
- 2508-2547
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
6 results with digital objects Show results with digital objects
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม (King Mongkut of Siam)
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม (King Mongkut of Siam)
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of บทความ
จดหมายของเอ.บี. กริสโวลด์ ถึง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เพื่อคัดค้านข้อความอ้างอิงในบทความเรื่อง “การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล” ที่ว่า กริสโวลด์เป็นผู้กล่าวว่าการผลิตพระพุทธรูปในศิลปแบบเชียงแสนเพิ่งเริ่มต้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2130) และแสดงความเห็นต่อไปว่า “ศิลปแบบเชียงแสน” ย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งผู้แปลไม่เห็นพ้องกับทฤษฎีของกริสโวลด์และเห็นว่า พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้ม ณ พระเจดีย์ทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวงนั้น แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปเชียงแสนรุ่นแรก เนื่องจากพระเจดีย์องค์นี้อาจสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1800 -1825 อันเป็นระยะแรกของสมัยสุโขทัย แสดงว่าศิลปเชียงแสนรุ่นแรกเกิดขึ้นก่อนศิลปสุโขทัย.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับศิลปทางภาคเหนือของประเทศไทย
Part of บทความ
ศิลปทางภาคเหนือของประเทศไทยทั้งหมดตั้งแต่สมัยแรกลงมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ถูกจัดเป็นศิลปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปแบบสิงห์ถูกจัดเป็นศิลปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ซึ่งเจริญขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1300 และ 1900 แต่กริสโวลด์เห็นว่า พระพุทธรูปแบบสิงห์อยู่ในสมัยเดียวกับศิลปแบบเชียงแสนรุ่นหลัง หรืออาจเรียกชื่อใหม่ว่า “สกุลช่างเชียงใหม่” และเชื่อว่า สกุลช่างแบบเชียงแสนรุ่นแรกไม่ได้ผลิตพระพุทธรูปแบบใดออกมาเลย จากหลักฐานที่ค้นพบบ่งว่า สมัยแห่งการผลิตศิลปกรรมอย่างใหญ่ทางภาคเหนือเริ่มขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ราว พ.ศ. 2000 และพระพุทธรูปที่งามที่สุดทั้งในแบบสิงห์และแบบอื่นๆ คงผลิตขึ้นในระหว่างนั้นจนถึง พ.ศ. 2100 ซึ่งหลักฐานใหม่ที่น่าสนใจที่สุด คือ การค้นพบพระพุทธรูปซึ่งมีจารึกอยู่บนฐานบอกศักราชที่หล่อขึ้นกว่าร้อยองค์ ราว 12 องค์เป็นแบบสิงห์ และมีจารึกว่าหล่อขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2013 ถึง 2066.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ผลอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้ Radiocarbon ทดลองอายุพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย
Part of บทความ
การใช้ Radiocarbon ทดลองอายุของพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ครั้งแรกใน พ.ศ. 2504 ส่งตัวอย่างแกนดินเผาไป 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์ ภาคเหนือ ผลการทดลองพบว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1709-1904 ชิ้นที่สองมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์สมัยสุโขทัยจากวัดพระเชตุพนฯ ผลการทดลองให้อายุระหว่าง พ.ศ. 2148-2198 ต่อมาได้ส่งตัวอย่างไปทดลองซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มตัวอย่างชิ้นที่ 3 จากพระพุทธรูปที่มีจารึกบอกศักราชที่สร้างไว้เพื่อ่ใช้เป็นการบังคับได้ว่าผลจากการทดลองเหล่านี้เชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด ผลการทดลองสรุปได้ว่า การทดลองอายุของพระพุทธรูปด้วยการใช้ Radiocarbon ไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ เนื่องจากอายุของแกนดินซึ่งอยู่ภายในพระพุทธรูปไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอายุของพระพุทธรูปเหล่านั้นด้วย การทดลองอายุของ Radiocarbon ควรใช้เป็นเพียงหลักฐานสำหรับสนับสนุนเท่านั้น การกำหนดอายุตามแบบศิลปหรือตามหลักฐานอื่น ๆ อาจจะได้ผลแน่นอนกว่า.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามกับนางแอนนา ลิโอโนเวนส์
Part of บทความ
นางแอนนา ลิโอโนเวนส์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเดินทางกลับประเทศ นางแอนนาแต่งหนังสือขึ้น 2 เล่ม คือ “ครูหญิงชาวอังกฤษ ณ ราชสำนักไทย” (The English Governess at the Siamese Cour) และ “ความรักในฮาเร็ม” (The Romance of the Harem) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่นางแอนนาระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่นางได้พบระหว่างเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ในราชสำนักสยาม อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่บันทึกไว้หลายเหตุการณ์มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เนื่องจากนางแอนนาบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ตามทัศนคติและความเข้าใจของตนเอง รวมไปถึงเหตุการณ์หลายอย่างคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ไม่ใช่จากประสบการณ์ของนางแอนนาเอง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล