Showing 24 results

Archival description
Boisselier, Jean
Print preview View:

24 results with digital objects Show results with digital objects

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมสัมฤทธิ์พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

กรมศิลปากรค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 ขนาดความสูงเฉพาะองค์ 140 เซนติเมตร รวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร คงหล่อขึ้นในศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย ระหว่าง พ.ศ. 1600-1650
ศาสตราจารย์ บวสเซอลีเย่ เห็นว่าเป็นประติมากรรมซึ่งมีแกนในเป็นดินพร้อมกับแกนในเป็นเหล็ก คงเป็นรูปของทวารบาล และมีลักษณะพิเศษคือ เป็นสัมฤทธิ์ชุบทองและหล่ออย่างดี เดิมคงตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลาง หรืออาจตั้งอยู่ภายในมุขหน้าปราสาทหลังนั้น หรือตั้งอยู่หน้าปราสาทองค์ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นปราสาทหลังที่สำคัญที่สุด รูปนี้น่าจะเป็นรูปของนันทิเกศวร หรือนันทีเกศวร โดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ทั้งนี้ ประติมากรรมนี้มีรอยแตกยาวอยู่บนทั้งประติมากรรมและฐาน ควรค้นหาวิธีหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของรายแตกแยกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ให้มีสนิมเกิดเพิ่มขึ้น สำหรับการจัดแสดงต้องมีเครื่องยึดภายใต้รักแร้เพื่อป้องกันมิให้ระดับที่ข้อเท้าต้องแตกแยกออก และจัดไว้ในตู้กระจกที่ป้องกันความชื้นได้.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 18]

นักวิชาการพยายามจัดกลุ่มเครื่องดินเผาที่พบในประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มแรกคือ เครื่องดินเผาสมัยเมืองพระนคร ซึ่งยังสามารถจัดเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 1) ภาชนะเนื้อดินปนทราย ไม่มีเคลือบ มีเคลือบไม่สม่ำเสมอ หรือเคลือบสีน้ำตาลแก่ และ 2) เครื่องดินเผาเนื้อดินค่อนข้างแดงมีเคลือบสีน้ำตาล
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังพบเครื่องดินเผากลุ่มอื่น ๆ อีก คือ 1) เครื่องดินเผาสมัยหลังเมืองพระนคร 2) เครื่องถ้วยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 3) เครื่องถ้วยจีน 4) เครื่องถ้วยไทย 5) เครื่องถ้วยต่างประเทศอื่น ๆ 6) พระพิมพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 17]

มีนักวิชาการศึกษาเครื่องดินเผาในศิลปะขอมไม่มากนัก ในบทความนี้แบ่งเครื่องดินเผาออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) เครื่องดินเผาที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม และ2) ภาชนะดินเผา โดยในกลุ่มเครื่องดินเผาที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคสมัย คือ สมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร สำหรับกลุ่มภาชนะดินเผา แบ่งออกเป็น 2 สมัย ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนคร และสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 16]

ประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยหลังเมืองพระนครสามารถแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ประติมากรรมขนาดเล็ก เครื่องใช้ในกิจพิธีและเครื่องใช้สอย เชิงเทียน กระดึง ภาชนะต่าง ๆ เครื่องม้า และอาวุธ ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงรักษารูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร แต่บางส่วนแสดงถึงอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะไทย นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ ของศิลปะเขมรทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร ที่น่าศึกษา ได้แก่ เครื่องเหล็ก เครื่องทองและเงิน (ในบทความใช้คำว่า “เครื่องเพชรพลอย) โดยในกลุ่มหลังนี้ ประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอย แม่พิมพ์เครื่องประดับ ที่ประทับตรา และเงินตรา.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]

บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

Results 1 to 10 of 24