วิวัฒนาการแห่งจิตรกรรมฝาผนังของไทย
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-069
- Item
- 2502
Part of บทความ
จิตรกรรมฝาผนังของไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ศิลปะแบบสุโขทัย เช่น จิตรกรรมที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการจิตรกรรมของไทยซึ่งกำลังก่อรูปแบบเป็นแบบของตนเอง เฉพาะพระพุทธรูปมีลักษณะเป็นไทย ในขณะที่รูปบุคคลอื่น ๆ ยังคงมีลักษณะเป็นแบบอินเดียหรือเขมรอยู่
ศิลปะแบบอยุธยา เช่น ผนังในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ มีจิตรกรรมปูนเปียกเป็นรูปเทวดามีลักษณะเช่นเดียวกับลายสลักที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลลายเส้นจากเกาะลังกาได้มาแพร่หลายถึงกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกัน ภาพเขียนที่ฝาผนังในองค์พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบสุโขทัยเป็นส่วนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลศิลปะแบบอู่ทองและอินเดียอยู่บ้าง
ศิลปะแบบธนบุรี มีสมุดภาพเรื่องไตรภูมิพระร่วง ที่เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2335 ภายหลังสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยอยุธยา ในสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยธนบุรี ภาพสถาปัตยกรรมและภาพบุคคลได้เขียนไปตรามกฎเกณฑ์
ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ในสมัยนี้มีการสร้างวัดกันขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีหลายวัดประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนัง ช่างสมัยอยุธยาได้เข้ามาทำงาน และได้เกิดมีสกุลช่างเขียนที่สำคัญ สกุลช่างเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ในภาคกลางเขียนภาพเรื่องศาสนาหรือเรื่องนิยายต่าง ๆ แบ่งออกได้ 5 แบบ 1. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับเรื่องราวเทวดาและเรื่องนิยายต่าง ๆ 2. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับตัวละคอนในเรื่องรามเกียรติ์ 3. นักดนตรี นางรำ ข้าราชสำนัก และบรรดาชนชั้นสูง 4. ประชาชนธรรมดา 5. ภาพนรก
ศิลป์ พีระศรี
ปราสาทพระวิหารในแง่ศิลป
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-050
- Item
- 2503
Part of บทความ
ปราสาทพระวิหารได้วางแผนผังอย่างฉลาดยิ่ง เปรียบเสมือนการค่อย ๆ ก้าวขึ้นไปสู่ที่ประทับพระผู้เป็นเจ้า คือยังเขาไกรลาส ประกอบด้วยแผนผังที่สลับซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม ซึ่งสร้างบนเชิงเนินเขาสูงขึ้นไปตลอดระยะ 105 เมตร และสิ้นสุดตรงหน้าผาใหญ่ตั้งเด่นอยู่เหนือพื้นที่ราบเบื้องล่าง
บริเวณซุ้มประตูชั้นแรกใน 4 ชั้น มีภาพสลักบนซุ้มประตูแสดงรูปเทวดาและเรื่องราวต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อขึ้นไปยังซุ้มประตูหลังที่สองซึ่งมีแผนผังเป็นรูปกากบาทคล้ายกับซุ้มประตูชั้นอื่น เมื่อขึ้นไปยังซุ้มประตูที่ 3 และซุ้มประตูที่ 4 ก็จะพบเทวาลัยศาสนสถานสร้างบนยอดเขาซึ่งอีกด้านหนึ่งจะตัดดิ่งลงไปเป็นหน้าผาทันที
บริเวณเทวาลัยสร้างขึ้นตามต้นแบบของอินเดีย คือเป็นเขตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันศักดิ์สิทธิ์ล้อมรอบไปด้วยระเบียงมุงหลังคารูปโค้ง ลักษณะอันสวยงามอันหนึ่งของปราสาทพระวิหารคือ ความละเอียดอ่อนของลวดลายที่สลักขึ้น เส้นนอกของลวดลายกรอบหน้าบันแตกต่างไปจากรูปนาคซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่เสมอในศาสนสถานเขมร ลายนี้อาจวิวัฒน์มาจากลวดลายมการหรือเหราแบบอินเดียซึ่งปรากฎเช่นเดียวกันบนทับหลังปราสาทสมโบร์ไพรกุกในประเทศกัมพูชา
ศิลป์ พีระศรี
จิตรกรรมและประติมากรรมสมัยสุโขทัย
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-011
- Item
- 2503
Part of บทความ
เป็นความจริงที่ว่าศิลปแบบสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปสมัยอื่น ๆ เป็นต้นว่าจากพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย และจากเกาะลังกา แต่ศิลปแบบสุโขทัยนั้นมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะของตนเอง ซึ่งมาจากความชาญฉลาดและความเลื่อมใสในศาสนาอย่างลึกซึ้งของชนชาติไทย
พระพุทธรูปแบบสุโขทัยบางรูป สวยงามมากจนกระทั่งดูคล้ายกับว่ามีลักษณะของสตรีปนอยู่ มีบุคคลเพียงจำนวนน้อยที่ประจักษ์ว่าลักษณะเช่นนี้เกิดจากความเคารพนับถืออย่างลึกซึ้งที่ช่างไทยสมัยโบราณมีต่อพระพุทธองค์ และเกิดจากการทำรูปภาพขึ้นตามมโนภาพดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เป็นของโลกที่ไม่มีตัวตน ซึ่งรูปลักษณะของเพศไม่มีอยู่อีกต่อไป ดังนั้นพระพุทธรูปเป็นของสวรรค์ยิ่งกว่าของโลกมนุษย์
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล