Showing 15 results

Archival description
Print preview View:

15 results with digital objects Show results with digital objects

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 2]

การเข้าร่วมประชุมสภาผู้มีความรู้ด้านตะวันออกระหว่างชาติครั้งที่ 27 โดยได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนไปยังกรุงวอชิงตันดีซี และนครนิวยอร์ค ก่อนที่จะเดินทางไปยังนครลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อเยี่ยมเยียนผู้รู้จักและหาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก และกรุงปารีส เข้าชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก เยี่ยมศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และเดินทางกลับประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ ทุก ๒ ปี ครั้งที่ ๒ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ หรือ International Council of Museums (ICOM) ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 17-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ผู้เขียนเป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าประชุมในแผนกพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งพิจารณาปัญหาสำคัญต่าง ๆ เช่น เรื่องพิพิธภัณฑ์ในโบราณสถาน การแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชาติของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ และการขุดค้นทางโบราณคดี การใช้แสงไฟฟ้าในพิพิธภัณฑ์ หนทางและวิธีการที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์และประชาชนที่พิพิธภัณฑ์นั้นรับใช้ การป้องกันอัคคีภัยในพิพิธภัณฑ์ ความร่วมมือกันในการจัดแสดงศิลปะระหว่างชาติ แผนการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ สเกลแสดงถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ นอกจากนั้น UNESCO ยังเสนอให้ประเทศสมาชิกส่งภาพศิลปวัตถุสถานต่าง ๆ ของตนมายัง UNESCO สิ่งละ 4 ภาพ เพื่อแบ่งแยกเก็บไว้ในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ในอนาคตถ้าตัวศิลปวัตถุสถานถูกทำลายไปในสงครามจะได้มีภาพเก็บไว้ให้ดูได้ต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของไทยเวลานี้ มีแต่เพียงพิพิธภัณฑ์โบราณคดีสมควรที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ที่สำคัญขึ้นอีก เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทย และศิลปะปลายบุรพทิศ (Thai and Far Eastern Museum) เพื่อจัดแสดงศิลปวัตถุยุคต่าง ๆ ในประเทศไทยและของต่างประเทศที่พบในประเทศไทย ศิลปะอินเดีย ลังกา ชวา เขมร จัมปา ฯลฯ พร้อมทั้งมีห้องประชุม หอรูปสำหรับเก็บรูปถ่ายศิลปวัตถุสถาน หอสมุดและหอแผ่นเสียง พิพิธภัณฑ์ชาติวงศ์วรรณา (Ethnological Museum) เพื่อจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมถึงชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย พิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อแสดงศิลปวัตถุของท้องถิ่น สำหรับบุคคลฝ่ายวิชาการควรส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศด้านโบราณคดีในหลายแขนง เพื่อจะได้กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ วิชาซ่อมของโบราณที่ขุดค้นได้ วิธีถ่ายรูปของโบราณ วิธีทำแผ่นภาพกระจก ฯลฯ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ไปประเทศเวียดนาม

ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาและศึกษาโบราณวัตถุสถานในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 17-30 กันยายน 2525 ซึ่งได้แสดงปาฐกถาเป็นภาษาฝรั่งเศสที่สถาบันโบราณคดีครั้งแรกเรื่อง การค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย กล่าวถึงโบราณวัตถุสำริดซึ่งค้นพบใหม่ที่บ้านดอนตาล จังหวัดนครพนม ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบ้านเชียง ปราสาทขอมที่ค้นพบใหม่ ณ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยเฉพาะการงมเครื่องถ้วยชามจากเรือที่สัตหีบ ครั้งที่ 2 เรื่องศิลปะสมัยคลาสสิคในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-24 ครั้งที่ 3 แสดงปาฐกถาที่สถาบันการศึกษาเกี่ยวกับภาคเอเชียอาคเนย์เกี่ยวกับการตั้งรัฐไทยสมัยโบราณในประเทศไทย ครั้งที่ 4 แสดงปาฐกถาที่สถาบันสังคมศาสตร์ เรื่องการค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ไปชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองดานัง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจามที่ดีที่สุด ปราสาทโพนคร หมู่บ้านจาม ปราสาทโพกลวงการาย และพิพิธภัณฑ์ Blanchard de la Brosse.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด

กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต โปรดให้รื้อตำหนักไทยของพระบิดา คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มาปลูกไว้ที่วังสวนผักกาด และทรงเริ่มตกแต่งตำหนักเหล่านั้นด้วยโบราณวัตถุไทยที่พระธิดาได้ทรงรวบรวมไว้แต่ก่อน ต่อมา เสด็จในกรมฯ ได้ประทานวังสวนผักกาดให้เป็นพิพิธภัณฑ์และตั้งชื่อให้ว่า พิพิธภัณฑ์จุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประกอบด้วยตำหนักไทยหลังแรกทางด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระพุทธรูป
คันธารราฐ เทวรูปพระอุมา รูปอรรธนารีศวร (ในบทความใช้ว่ารูปอรรธนารี) ภาพสลักบนไม้ จิตรกรรมบนไม้เรื่องพุทธประวัติสมัยอยุธยา ฯลฯ ตำหนักไทยด้านทิศใต้มีพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย เครื่องมุก เครื่องถม พัดรอง ฯลฯ หอเขียนมีภาพลายรดน้ำตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบริเวณวัง เรือนไทยทางทิศตะวันตกมีภาพเขียนสมัยปัจจุบันของศิลปินไทย เรือนไทยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยชามสมัยลพบุรีและสมัยก่อนประวัติศาสตร์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

มหิษมรรททินี

การประชุมสภาศึกษาวัฒนธรรมทมิฬระหว่างชาติ ครั้งที่ 2 (Second International Congress of Tamil Studies) ณ เมืองมาดราส ประเทศอินเดีย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-8 ม.ค. 2511 ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษพร้อมฉายภาพนิ่งประกอบเรื่อง มหิษมรรททินีในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปมหิษมรรททินี (Mahisa – marddini) หรือมหิษาสุรมรรทินี (Mahisasuramardini) ที่พบในประเทศไทยรูปนี้ เป็นประติมากรรมศิลาสูงทั้งเดือย 1.60 เมตร ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ลักษณะเป็นภาพสลักนูนสูงรูปพระอุมาหรือนางทุรคา 4 กร ประทับยืนอยู่บนศีรษะควาย กล่าวได้ว่าได้รับแบบมาจากประเทศอินเดีย สมัยราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ประติมากรรมแบบนี้จัดว่าเก่าที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในวิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ได้ถึงแก่กรรมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2512 สิริรวมอายุได้ 83 ปี ได้เข้ารับราชการในประเทศไทย 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 – 2472 ประวัติการทำงานของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้บันทึกไว้ในคำนำหนังสือ โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวมทั้งการฟังเรื่องราวมาจากศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และจากประสบการณ์ของหม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM

องค์การหรือสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ มีชื่อย่อว่า ICOM ย่อมาจากคำว่า International Council of Museums ประกอบด้วยสมาชิกจากชนชาติต่าง ๆ หลายชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2489 ICOM เป็นองค์การฝ่ายวิชาการในแผนกพิพิธภัณฑ์ของ Unesco ซึ่งมีกติกา (Constitution) และบทบัญญัติ ( by law) วางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ โดยมีสาระสำคัญคือ เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ มีประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิกกว่า 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย การประชุมของ ICOM ทุกคราวเป็นการรายงานกิจการพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศของตน ให้ประเทศที่เป็นสมาชิกทราบ การประชุมแต่ละคราวแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ ผู้แทนประเทศใดจะเข้าประชุมในแผนกที่ตรงกับวิชาและกิจการของตนก็ได้ เมื่อประชุมแผนกเสร็จแล้วถ้าเป็นเรื่องสำคัญก็มักจะมาพูดในการประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งและมีมติหลังการประชุมทุกคราว.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี--เสด็จไปมหาวิทยาลัย ท่านทรงพกขนมไปด้วย

สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เกี่ยวกับการเรียนระดับปริญญาโท ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร และพระนิพนธ์หนังสือเรื่อง ชมช่อมาลตี และบุหงารำไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 15