Showing 9 results

Archival description
Print preview View:

9 results with digital objects Show results with digital objects

การบูรณะโบราณสถานที่เขาสีคิริยะ ประเทศศรีลังกา

เขาสีคิริยะ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะลังกา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา พระเจ้ากัสสปซึ่งขึ้นครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1020 – 1038 ได้ย้ายราชธานีมาตั้งที่นี่และก่อสร้างอาคารด้วยอิฐเป็นอันมาก รวมทั้งสร้างพระราชวังสองชั้นลดหลั่นกันอยู่เหนือยอดเขา ตรงกลางมีภาพเขียนรูปนางอัปสรเป็นคู่ ๆ ปัจจุบันเหลือเพียง 15 รูปเท่านั้น กรมโบราณคดีและเจ้าหน้าที่โครงการสามเหลี่ยมวัฒนธรรมยูเนสโก - ศรีลังกา ดำเนินการบูรณะโบราณสถานโดยการขุดค้น การบำรุงรักษา การปรับปรุงและตกแต่งบริเวณสถานที่ พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและบริการสนับสนุน การดูแลและออกกฎควบคุมการพัฒนาในบริเวณใกล้เคียง ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2525-2529 แต่ไม่สามารถกระทำได้ จึงต่อเวลาออกไปคาดว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2534.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อปุจฉาเรื่องบ้านเชียงระหว่าง ดร. สุด แสงวิเชียร กับ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อสงสัยของ ดร.สุด แสงวิเชียร ที่มีต่อบทความเรื่อง Prehistoric art ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล เกี่ยวกับอายุของวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียทดลองอายุโดยวิธี Thermoluminescence พบว่า มีอายุราว 4000 B.C. หรือประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง ดร.สุด แสงวิเชียร ไม่เชื่อถือการหาอายุบ้านเชียงโดยวิธีคาร์บอน 14 ดังกล่าว ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล แจ้งแหล่งข้อมูลบทความการทดลองอายุบ้านเชียงของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียและแหล่งข้อมูลบุคคลชื่อ Dr. H.G. Quaritch Wales พร้อมยืนยันว่า การค้นคว้าทางด้านโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยยังไม่เป็นที่ยุติ เป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้ากันต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ

การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ 3 เรื่อง 1) ปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละ โดยทั่วไป ประวัติศาสตร์สมัยโบราณในประเทศกัมพูชาสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (pre-Angkorean period) และมีอายุก่อน พ.ศ. 1355 นั้น นิยมใช้ชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น ศาสตราจารย์โคลด ชาค (Claude Jacques) ศาสตราจารย์เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ศาสตราจารย์ฟิโนต์ (Louis Finot) ศาสตราจารย์ดูปองต์ (P. Dupont) 2) เดิม ศาสตราจารย์เซเดส์ เขียนไว้ในหนังสือว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอมทรงเป็นเชื้อชาติมาลายู และเสด็จขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เปลี่ยนความเห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นจ้าชายขอมแต่ดั้งเดิม 3) หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นซากโบราณสถานที่เนินทางพระ พบวัตถุสำคัญที่สลักจากศิลาคือ องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืน เศียรพระพุทธรูป ประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น เศียรพระพุทธรูปหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็ก และพระพิมพ์ เครื่องประดับปูนปั้นรูปเทวดา มนุษย์และยักษ์ ประติมากรรมปูนปั้นในศาสนาฮินดู เศียรเทวดา ครุฑ ลวดลายพันธุ์พฤกษา แผ่นอิฐมีจารึกตัวอักษรขอมว่า “ ก “ และเครื่องมือเหล็กสำหรับสกัดศิลา หลักฐานที่ค้นพบนี้ยืนยันว่า เมืองสุวรรณปุระในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา คงจะเป็นเมืองสุพรรณบุรีของไทยอย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Notes : further notes on Prasat Muang Singh, Kanchanaburi province

บทความใน Journal of Siam Society ใน ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521) เป็นบทความที่วิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมปราสาทเมืองสิงห์ซึ่งอยู่ในระหว่างการขุดแต่งโดยกรมศิลปากร และวิเคราะห์ประเด็นประติมากรรมที่ค้นพบ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

This is an article originally published in the Journal of Siam Society in 1978 focusing on the architecture and the sculpture during the excavation by the Fine Art Department. The article also studies the image of Avalokiteshvara discovered from the site.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 1]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 2]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean