Showing 226 results

Archival description
Print preview View:

225 results with digital objects Show results with digital objects

ทัศนาจรทางน้ำของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2 วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

บันทึกการเดินทาง “ทัศนาจรทางน้ำของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรครั้งที่ 2” โดยล่องเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปทางใต้ เส้นทางทัศนาจรทางน้ำคือ คลองบางหลวง คลองบางขุนเทียน คลองมหาชัย และออกไปทางแม่น้ำท่าจีน ซึ่งได้บรรยายถึงประวัติความเป็นมา ของจิตรกรรม สถาปัตยกรรมของวัดต่าง ๆ ดังนี้ วัดกัลยานิมิต วัดหงส์รัตนาราม วัดแก้วไพฑูรย์ (วัดบางประทุนใน) และวัดนางนอง

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การเสด็จประเทศแคนาดา

จดหมายจากกระทรวงการต่างประเทศถึง ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล แจ้งการได้รับหนังสือจากสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงออตตาวา แคนาดา เพื่อส่ง ข่าวตัดหนังสือพิมพ์การเสด็จประเทศแคนาดา ในสื่อต่าง ๆ ได้แก่ วารสาร Newsletter, หนังสือพิมพ์ The Province และหนังสือพิมพ์ North Shore Weekender สูจิบัตรและเอกสารแนะนำองค์ปาฐกในการเสด็จตามคำทูลเชิญของมูลนิธิเอเชียแปซิฟิค ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ปาฐกในงานสัมมนาเรื่อง Art History of Bangkok ณ Museum of Vancouver ประเทศแคนาดา วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2530 โดยเอกสารแนะนำองค์ปาฐกได้กล่าวถึงพระประวัติและการศึกษาของท่านอาจารย์ ตลอดจนผลงานในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง อาทิ การนิพนธ์หนังสือ บทความ การร่วมงานกับองค์กรด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Reviews : Art styles in Thailand : a selection from National Provincial Museums, and an essay in conceptualization : ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ แบบศิลปในประเทศไทย คัดเลือกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สาขาส่วนภูมิภาค

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล นิพนธ์บทความปริทัศน์เกี่ยวกับหนังสือ Art Styles in Thailand: A Selection from National Provincial Museum, and an Essay in Conceptualization โดยนิพนธ์ร่วมกับ H.G. Quaritch Wales นอกจากจะสรุปเนื้อหาของหนังสือแล้ว ยังมีการให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาบางส่วนด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Reviews : [Piriya Krairiksh. Art in peninsular Thailand prior to the fourteenth century A.D.]

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลนิพนธ์บทความปริทัศน์เกี่ยวกับหนังสือเรื่อง Art in Peninsular Thailand Prior to the Fourteenth Century A.D. ซึ่งเป็นผลงานของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ โดยกล่าวถึงเนื้อหาในแต่ละบทของหนังสืออย่างย่อๆ พร้อมทั้งให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาบางส่วนด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Pierre Dupont: L'archaeologie mone de Dvaravati

This article is a book review of L'archaeologie mone de Dvaravati, written by Pierre Dupont. This book is dedicated to Pierre Dupont’s teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont Thanks whose who helped to prepae the work for publication after Pierre Dupont’s death. Then after a short preface by the author, comes text itself, consisting of 9 chapters. Finally, there are inventories of the objects discovered in the excavations of Dvaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Art of the Ancient Kingdom of Champa Its Originality and Diversity

For those who have visited the Bangkok National Museum, the art, or at least the sculpture, of ancient Champa is not completely unknown. And while this art, which is at times so admirable, yet often so perplexing, is not as well represented in the museum as Javanese art, the six sculptures in the collection which were presented to King Rama VII about seventy years ago, reveal certain tendencies which are the most striking and the most unvarying in Cham art. Dating from the 10th to 12th centuries, these six pieces are almost sufficient in showing how different, both in terms of aesthetics and popular themes, the schools of Cham art are from the rest of Southeast Asia.

บวสเซอลีเย่, ฌอง

อายุของภาพสลักนูนต่ำรุ่นหลัง 2 ภาพที่ปราสาทนครวัด

ที่ผนังระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดนั้นมีภาพสลักทั้งหมด 8 ภาพ โดยมี 2 ภาพที่สลักบนปีกเหนือของระเบียงด้านตะวันออก แสดงการรบพุ่งระหว่างพระนารายณ์และอสูร กับที่สลักอยู่บนปีกตะวันออกของระเบียงด้านเหนือแสดงรูปพระกฤษณะรบชนะพระเจ้ากรุงพาณ อาจสลักขึ้นหลังการก่อสร้างปราสาทนครวัด และหลังกว่าภาพสลักนูนต่ำอีก 6 ภาพ โดยทั้ง 2 ภาพมีศักราชจารึกอยู่ใต้ภาพระบุว่า ใน พ.ศ. 2089 พระราชาเขมรพระนามว่า นักองค์จันท์ได้เป็นผู้สั่งให้สลักภาพบนระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดให้แล้วสำเร็จ ซึ่งสำเร็จลงใน พ.ศ. 2106 และภาพสลักทั้ง 2 ภาพนี้ มีอิทธิพลของศิลปะจีนอยู่บ้าง แต่อิทธิพลส่วนใหญ่มาจากศิลปะไทย เพราะมีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่างรูปเทวดาบางองค์บนภาพสลักนี้กับรูปเทวดาในหนังสือตำนานเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ของไทย รวมทั้งฆ้องวง เครื่องประดับ ลวดลายดอกไม้ภายในเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายรูปกินรีแบบไทยและฉัตร ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ในศิลปะอยุธยาของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 1975.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรเจนละ

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่อง ประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Les Etats Hindouises d’Indochine et d’Indonesie) ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศูนย์กลางดั้งเดิมของอาณาจักรเจนละ คงตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำโขงแถบเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาวปัจจุบัน อาณาจักรเจนละเป็นอาณาจักรขอมรุ่นต้นที่เคยเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรฟูนัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าภววรมันที่1 ลงมาจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นระยะที่แผ่ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้แถบปากแม่น้ำโขง และทิศตะวันตกแถบทะเลสาบใหญ่ อันเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนันมาก่อน ต่อมาหลัง พ.ศ. 1249 อาณาจักรเจนละได้แบ่งแยกเป็น 2 แคว้น คือ ทางภาคเหนือหลายเป็นแคว้นเจนละบก ทางภาคใต้กลายเป็นแคว้นเจนละน้ำ ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่งเมืองศัมภุปุระ (สมโบร์) ได้ทรงรวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกันเป็นการเริ่มต้นอาณาจักรขอมอย่างแท้จริง ใน พ.ศ. 1345.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 226