Showing 15 results

Archival description
File
Print preview View:

7 results with digital objects Show results with digital objects

ทัศนาจรทางน้ำของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2 วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

บันทึกการเดินทาง “ทัศนาจรทางน้ำของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรครั้งที่ 2” โดยล่องเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปทางใต้ เส้นทางทัศนาจรทางน้ำคือ คลองบางหลวง คลองบางขุนเทียน คลองมหาชัย และออกไปทางแม่น้ำท่าจีน ซึ่งได้บรรยายถึงประวัติความเป็นมา ของจิตรกรรม สถาปัตยกรรมของวัดต่าง ๆ ดังนี้ วัดกัลยานิมิต วัดหงส์รัตนาราม วัดแก้วไพฑูรย์ (วัดบางประทุนใน) และวัดนางนอง

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี

นำบทความภาษาอังกฤษที่ทรงบรรยายในการประชุม London Colloquy on Early South East Asia ของสำนักการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางภาคระวันออกและอาฟริกา (School of Oriental and African Studies) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน พ.ศ. 2516 มาจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย มีเนื้อหากล่าวถึงลักษณะประติมากรรมประเภทต่าง ๆ ของสมัยทวารวดีที่ค้นพบในสถานที่หลายแห่ง ได้แก่ ลักษณะพระพุทธรูปและเทวรูป วัสดุที่นำมาปั้น ยุคสมัยของศิลปะทวารวดี

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ

บทบรรยายในการประชุมสัมนาของสมาคมประวัติศาสตร์ ที่ทรงกล่าวถึงความก้าวหน้าของการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ ซึ่งหลักฐานสำคัญที่มีอยู่คือ ศิลาจารึก จดหมายเหตุ และตำนาน เป็นต้น ตลอดจนความพยายามที่จะค้นคว้าหาหลักฐานใหม่ ๆ ที่หาได้ยาก รวมถึงการนำหลักฐานเดิมที่มีอยู่มาตีความใหม่ บทบรรยายที่ท่านอาจารย์ได้ประทานนี้ทรงชี้ให้เห็นถึงวิธีการศึกษา พัฒนาการและปัญหาต่าง ๆ ของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การท่องเที่ยวมีส่วนช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการท่องเที่ยวที่มีส่วนช่วยในการสนับสนุน อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม 2 ประการคือ 1. เป็นการตรวจสอบเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ 2. เกิดการตระหนักรู้ด้านการรักษาสมบัติของชาติ ตลอดจนการแนะนำการทัศนาจรในเรื่องของระยะเวลาและสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม รวมถึงข้อเสนอแนะในเรื่องของการทำนุบำรุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยอย่างยั่งยืน

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ขอส่งรายงานการประชุมจัดเตรียมโครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

จดหมายจากกรมศิลปากรถึง ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล เพื่อส่งรายงานการประชุมจัดเตรียมโครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่ท่านเสด็จเข้าร่วมการประชุมในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยการศึกษาโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในวันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2535 โดยได้ประทานข้อเสนอแนะ ในหลายประเด็นคือ การกำหนดนโยบายของพิพิธภัณฑ์ต้องเป็นไปในรูปแบบใด, ควรปรับปรุงป้ายจัดแสดงให้ครบถ้วนและถูกต้อง, ควรจัดปาฐกถาหรือการบรรยายทางวิชาการโดยภัณฑารักษ์เพื่อเผยแพร่ผลงาน และควรตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งทรงสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของพิพิธภัณฑ์

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การเสด็จประเทศแคนาดา

จดหมายจากกระทรวงการต่างประเทศถึง ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล แจ้งการได้รับหนังสือจากสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงออตตาวา แคนาดา เพื่อส่ง ข่าวตัดหนังสือพิมพ์การเสด็จประเทศแคนาดา ในสื่อต่าง ๆ ได้แก่ วารสาร Newsletter, หนังสือพิมพ์ The Province และหนังสือพิมพ์ North Shore Weekender สูจิบัตรและเอกสารแนะนำองค์ปาฐกในการเสด็จตามคำทูลเชิญของมูลนิธิเอเชียแปซิฟิค ในฐานะที่ทรงเป็นองค์ปาฐกในงานสัมมนาเรื่อง Art History of Bangkok ณ Museum of Vancouver ประเทศแคนาดา วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2530 โดยเอกสารแนะนำองค์ปาฐกได้กล่าวถึงพระประวัติและการศึกษาของท่านอาจารย์ ตลอดจนผลงานในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง อาทิ การนิพนธ์หนังสือ บทความ การร่วมงานกับองค์กรด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

เที่ยวดงเจดีย์ที่พม่าประเทศทางประวัติศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรม

หนังสือเล่มนี้รวมบทความเกี่ยวกับศิลปะพม่าของนักวิชาการ 2 ท่าน คือ ศ. หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ในส่วนต้นและ ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม ในส่วนท้าย ทั้งนี้เนื่องด้วย ศ.หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลได้เคยเสด็จนำชมพม่าอยู่บ่อยครั้ง จึงทรงนิพนธ์ “ประวัติศาสตร์พม่าโดยย่อ” เพื่อเป็นคู่มือนำชม ต่อมา สุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้เป็นบรรณาธิการจึงได้มีการนำเอกสารดังกล่าวมาเผยแพร่
เนื้อหาหลักเป็นการเล่าประวัติศาสตร์พม่าโดยย่อ ตั้งแต่สมัย พุกาม อังวะ ตองอู หงสาวดี จนถึงสมัยอมรปุระและมัณฑเล โดยกล่าวถึงกษัตริย์พม่ารัชกาลต่างๆโดยสังเขป แต่สงครามบางช่วงที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ไทยก็อาจเน้นเล่าเรื่องโดยละเอียด

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย

เนื่องด้วยได้ค้นพบเทวรูปสัมฤทธิ์ในสมัยสุโขทัยจำนวน 12 องค์ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าหล่อขึ้นพร้อมกันหรือมีระยะเวลาแตกต่างกันเพียงใด ศ.หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลจึงได้ทรงวิจัยวิวัฒนาการของลวดลายเทวรูปสัมฤทธิ์ในสมัยสุโขทัย โดยใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการของลวดลายเครื่องทรงส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมงกุฎ กรองศอ พาหุรัด ผ้าทรง ฯลฯ เพื่อการจัดหมวดหมู่และกำหนดอายุ ผลการวิจัยระบุว่าแต่ละองค์อายุมีอายุแตกต่างกัน และเครื่องทรงเทวรูปสัมฤทธิ์กลุ่มนี้มีอิทธิพลที่ต่อมาแก่พระพุทธรูปทรงเครื่องในศิลปะอยุธยา

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 15