Showing 27 results

Archival description
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Print preview View:

27 results with digital objects Show results with digital objects

The Art of the Ancient Kingdom of Champa Its Originality and Diversity

For those who have visited the Bangkok National Museum, the art, or at least the sculpture, of ancient Champa is not completely unknown. And while this art, which is at times so admirable, yet often so perplexing, is not as well represented in the museum as Javanese art, the six sculptures in the collection which were presented to King Rama VII about seventy years ago, reveal certain tendencies which are the most striking and the most unvarying in Cham art. Dating from the 10th to 12th centuries, these six pieces are almost sufficient in showing how different, both in terms of aesthetics and popular themes, the schools of Cham art are from the rest of Southeast Asia.

บวสเซอลีเย่, ฌอง

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 6]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) แต่เดิมในอินเดีย ลัทธิไวษณพนิกายเชื่อว่าพระวาสุเทพเป็นเทวดาสูงสุด ต่อมาในสมัยราชวงศ์คุปตะจึงเปรียบเทียบพระวาสุเทพ หรือพระกฤษณะคือพระนารายณ์ ซึ่งในช่วงนี้เองที่ส่งอิทธิพลไปยังอาณาจักรขอม ชื่อของพระนารายณ์ปรากฏในคัมภีร์และจารึกต่าง ๆ โดยมีการเรียกนามแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละนามแสดงถึงปรัชญาที่คล้ายคลึงกับลัทธิไศวนิกาย พระนารายณ์คือพระพรหมันสูงสุด สิ่งมีชีวิตเบื้องต้น และสิ่งมีชีวิตที่สูงสุด เป็นเทพทั้งสามที่ออกมาเป็นต้นเหตุแห่งการเกิด การักษา และการทำลายของจักรวาล ในส่วนประติมานานวิทยาของพระนารายณ์เกี่ยวข้องกับการอวตารซึ่งมีถึง 39 ปาง เทวรูปนายรายณ์แสดงเป็นเทวรูป 8 กร หรือ 4 กร พระหัตถ์ทั้งถือสิ่งของต่าง ๆ รูปพระนารายณ์แสดงปางกวนเกษียรสมุทร รูปพระนารายณ์ทรงครุฑซึ่งอาจอยู่พร้อมกับพระศรีและพระภูมิพระชายาของพระนารายณ์ และรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์

Bhattacharya, Kamaleswar

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean

พระธรรมจักรจารึกภาษามคธ ได้มาจากจังหวัดนครปฐม

ธรรมจักรวงหนึ่งที่มาจากการขุดค้นพบระหว่างบริเวณพระปฐมเจดีย์และพระประโทน เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ของพระองค์เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุยุคล ปรากฏจารึกภาษามคธหลายตำแหน่ง ได้แก่ บนขอบกงรอบนอกล้อมรอบลายดอกไม้ บนกำ 15 ซี่ บนขอบล้อมรอบลวดลายซึ่งประดับดุมทั้งชั้นในและชั้นนอก เนื้อความในจารึกกล่าวถึงพระอริยสัจ 4 ประโยชน์แห่งมรรค ญาณ 9 ประการ และลักษณะของธรรมจักร จารึกดังกล่าวเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงวัฒนธรรมสมัยทวารวดี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]

บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

Results 1 to 10 of 27