รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-02-059
Item
2508
Part of บทความ
ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-02-039
Item
2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 7]
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-02-037
Item
2511
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะปลาย จำนวน 2 สมัย คือศิลปะนครวัดและศิลปะบายน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาศิลปะสมัยหลังอีก 2 สมัย คือ ศิลปะหลังบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูน มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสุนทรียภาพ.
Boisselier, Jean
A dated crowned Buddha image from Thailand
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-100
Item
1961
Part of บทความ
In the exhibition entitled "The Arts of Thailand", which recently completed a tour of the United States and which will later be seen in Europe, there's a bronze image of the standing Buddha wearing the crown of royalty. The image which is 1.87 m. high and belongs to the Monastery of the Fifth King (Pencamapabitra), Bangkok, is of unknown provenance; and until recently its date was a matter of doubt. Though crowned Buddhas are rare in Sukhothai art, it is clearly a work of that school. We can be sure from the face, the suave modeling, and especially the ‘hallmark’ in the form of the little hooks at the lower coners of the robe. The figure ought to be dated in the 15th century, a time when Sukhothai had already lost its political independence (to Ayutthaya), but not its artistic inspiration.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
การนำศิลปวัตถุไทยไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา
Add to clipboard
TH Subhadradis 02 ACAR-01-004
Item
2503
Part of บทความ
ศิลปวัตถุที่ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดแสดงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นศิลปวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพฯ และพระวิหารสมเด็จวัดเบญจมบพิตร พิพิธภัณฑสถานที่จังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ลพบุรีและลำพูน รวมทั้งศิลปวัตถุบางชิ้นของเอกชน แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้ ศิลปะแบบทวารวดี 29 ชิ้น แบบ เทวรูปรุ่นเก่า 3 ชิ้น แบบศรีวิชัย 7 ชิ้น แบบลพบุรี 52 ชิ้น แบบเชียงแสน 27 ชิ้น สุโขทัย 40 ชิ้น อู่ทอง 5 ชิ้น อยุธยา 69 ชิ้น นครศรีธรรมราช 1 ชิ้น รัตนโกสินทร์ 101 ชิ้น รวมทั้งหมด 334 ชิ้น โดยที่เป็นการตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับพิพิธภัณฑสถานและสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกา 8 แห่ง เพื่อนำศิลปกรรมไทยไปจัดแสดงเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า เมืองบลูมิงตัน รัฐอินเดียน่า ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 2503.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล