Showing 24 results

Archival description
National Museum of Cambodia
Print preview View:

24 results with digital objects Show results with digital objects

ทับหลังแบบถาลาบริวัตรในประเทศไทย

นางมิเรย เบนิสตี (Mireille Benisti) กล่าวถึงทับหลังแบบถาลาบริวัต (Thala Borivat) ว่าเป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปขอมในราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งค้นพบทับหลังศิลา 6 ชิ้น ที่ถาลาบริวัต บริเวณฝั่งขวาของแม่โขง และพบที่ปราสาทขตป (Khtop) 2 ชิ้น นางเบนิสตี เห็นว่าทับหลังซึ่งค้นพบที่ถาลาบริวัตเก่ากว่าที่สมโบร์ไพรกุก และถาลาบริวัตอาจเป็นสถานที่ตั้งของเมืองภวปุระของพระเจ้าภรวรมัน สำหรับทับหลัง 2 ชิ้น ซึ่งค้นพบที่ปราสาทขตปนั้น นางเบนิสตีเห็นว่าคงสลักขึ้นในปลายศิลปแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ. 1200 ในประเทศไทยได้ค้นพบทับหลังแบบถาลาบริวัต 4 ชิ้นที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งนับว่าเป็นทับหลังขอมแบบถาลาบริวัตอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ยังได้ค้นพบศิลาจารึกขอมในพุทธศตวรรษที่ 12 หลักหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงการสร้างศาสนสถานของพระเจ้าอีศานวรมันท ี่1 พร้อมกันนี้ยังมีทับหลังอีกชิ้นหนึ่งซึ่งรักษาอยู่หน้าอุโบสถวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี อาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปขอมแบบ ถาลาบริวัตและสมโบร์ไพรกุก และอาจสลักขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1150.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรม 4 รูป ซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ภายในประเทศไทย

ได้ค้นพบประติมากรรมที่สำคัญ 4 รูป ภายในประเทศไทย 1) เทวรูปพระคเณศศิลา สูง 1.70 เมตร พบ ณ เทวาลัยเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี กำหนดอายุไว้ว่าอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 เทียบได้กับเทวรูปพระคเณศจาก Tuol Phak Kin อีก 3 องค์ พบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ 2) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สูง 47 เซนติเมตร อาจหล่อขึ้นในศิลปะขอมสมัยไพรกเมง อายุราว พ.ศ.1200-1250 3) พระโพธิสัตว์อีกองค์อาจเป็นพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเนื่องจากสัญลักษณ์บนมวยผมหลุดหายไป สูง 1.37 เมตร คงหล่อขึ้นหลังกว่ารูปแรก ระหว่าง พ.ศ.1250-1350 4) พระพุทธรูปสำริด สูง 1.20 เมตร ในศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 8]

กล่าวถึงวิวัฒนาการของประติมากรรมลอยตัวในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเองพระนคร นอกจากนี้ยังกล่าวถึงทวารบาลนูนต่ำ และรูปสัมฤทธิ์ด้วย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 1]

บทความกล่าวถึงวิธีการแบ่งยุคสมัยย่อยในศิลปะขอม และประติมากรรมขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งในแง่ของวัสดุต่าง ๆ ทั้งโลหะ ศิลา ปูนปั้น ไม้ ซึ่งมีเงื่อนไขทางด้านเทคนิคแตกต่างกันไป ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปร่างและท่าทางโดยเน้นถึงสุนทรียภาพของประติมากรรมขอม.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 3]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 3 สมัยคือศิลปะไพรกเมง ศิลปะแบบปราสาทอันเดตและศิลปะกำพงพระ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลัง โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 5]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมระยะต้นของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะบาแค็งและศิลปะเกาะแกร์ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาจากความแข็งกระด้างที่แสดงอำนาจในสมัยบาแค็งไปสู่ความเคลื่อนไหวสมัยเกาะแกร์ มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 6]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะกลาง จำนวน 4 สมัย คือศิลปะแปรรูป ศิลปะบันทายศรี ศิลปะคลังและศิลปะบาปวน มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญ ซึ่งมีทั้งพัฒนาการและการเลียนแบบศิลปะรุ่นเก่า มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 7]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะปลาย จำนวน 2 สมัย คือศิลปะนครวัดและศิลปะบายน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาศิลปะสมัยหลังอีก 2 สมัย คือ ศิลปะหลังบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูน มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสุนทรียภาพ.

Boisselier, Jean

Results 1 to 10 of 24