Showing 475 results

Archival description
Print preview View:

345 results with digital objects Show results with digital objects

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 14]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงสถาปัตยกรรมจีนและญี่ปุ่นไปพร้อมกัน โดยเน้นศิลปะญี่ปุ่นมากกว่าเพราะหลงเหลือตัวอย่างมากกว่า เช่น ศาลเจ้าที่มักสร้างขึ้นเลียนแบบของโบราณ วัดโฮริวจิ และศาลาฟินิกซ์ที่เบียวโดอิน
ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะเอเชียกลาง ที่ได้รับอิทธิพลคันธาระผสมผสานกับศิลปะจีน ตะวันตกและอิหร่าน มีการยกตัวอย่างจิตรกรรมที่มิราน กิซีล ดันดันอุยลิค เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 13]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงจิตรกรรมสมัยราชวงศ์ซึ่งมีความเป็นธรรมชาตินิยม นิยมเขียนภาพทิวทัศน์และพันธุ์พืช มีการยกตัวอย่างชิ้นงานพร้อมกับชื่อจิตรกรคนสำคัญ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่น ทั้งระฆังสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมเล่าเรื่องนิทานพื้นเมือง (ยามาโตเอะ) และหน้ากากสำหรับละครโนะ ท้ายสุดกล่าวถึงภาพพิมพ์ในระยะหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 12]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงพุทธประติมากรรมและจิตรกรรมในศิลปะจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งได้รับอิทธิพลอินเดียและส่งอิทธิพลไปถึงศิลปะญี่ปุ่น ในช่วงกลางกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่นทั้งประติมากรรมและจิตรกรรม เช่นที่วัดโฮริวจิ ในช่วงท้ายของบทความพูดถึงศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่งซึ่งจิตรกรรมโดดเด่นกว่าประติมากรรม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 11]

ประติมากรรมในศิลปะสมัยราชวงศ์เว่ย (เว้) สมัยราชวงศ์เหลียง และสมัยราชวงศ์สุย ทั้งรูปสิงห์ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงอิทธิพลพุทธศิลป์จีนต่อศิลปะญี่ปุ่นระยะต้น รวมถึงกล่าวถึงศิลปะจีนในสมัยราชวงศ์ถังด้วย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 10]

ช่วงต้นของบทความให้ข้อมูลสังเขปศิลปะจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งปรากฏเครื่องสัมฤทธิ์และประติมากรรมสลักหิน ในช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงจิตรกรรมภาพม้วนในสมัยราชวงศ์เว่ย (เว้).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 9]

สังเขปศิลปะจีนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยสัมฤทธิ์ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง จนถึงสมัยโจว (ในบทความเขียนว่าเจา) มีการยกตัวอย่างภาชนะสัมฤทธิ์แบบต่าง ๆ เช่น ภาชนะติ่ง หลี่ ซุน ฯลฯ มีการกล่าวถึงลวดลายหน้ากากเทาเถ้ย (เต้าเจ้) และลายรูปสัตว์

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 8]

กล่าวถึงวิวัฒนาการของประติมากรรมลอยตัวในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเองพระนคร นอกจากนี้ยังกล่าวถึงทวารบาลนูนต่ำ และรูปสัมฤทธิ์ด้วย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 7]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงวิวัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม โดยยกตัวอย่างนาคตั้งแต่สมัยพระโคจนถึงศิลปะบายน ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงภาพจำหลักเล่าเรื่องในศิลปะขอม โดยมีการยกตัวอย่างจากปราสาทบันทายสรี นครวัดและบายน (ในบทความเรียกศิลปะบายนว่า “บรรยงก์)

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 6]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 5]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 121 to 130 of 475