จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 2]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-009
- Item
- 2505
Part of บทความ
การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 1]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-008
- Item
- 2502
Part of บทความ
การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
จดหมายเรื่องศิลปแบบเชียงแสน
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-006
- Item
- 2509
Part of บทความ
จดหมายของเอ.บี. กริสโวลด์ ถึง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เพื่อคัดค้านข้อความอ้างอิงในบทความเรื่อง “การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล” ที่ว่า กริสโวลด์เป็นผู้กล่าวว่าการผลิตพระพุทธรูปในศิลปแบบเชียงแสนเพิ่งเริ่มต้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2130) และแสดงความเห็นต่อไปว่า “ศิลปแบบเชียงแสน” ย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งผู้แปลไม่เห็นพ้องกับทฤษฎีของกริสโวลด์และเห็นว่า พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้ม ณ พระเจดีย์ทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวงนั้น แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปเชียงแสนรุ่นแรก เนื่องจากพระเจดีย์องค์นี้อาจสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1800 -1825 อันเป็นระยะแรกของสมัยสุโขทัย แสดงว่าศิลปเชียงแสนรุ่นแรกเกิดขึ้นก่อนศิลปสุโขทัย.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ความคิดเกี่ยวกับพระพุทธรูปนาคปรก ของศาสตราจารย์ ชอง บวสเซอลีเย่
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-005
- Item
- 2524
Part of บทความ
พระพุทธรูปนาคปรกมีอยู่เป็นจำนวนมากในศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะขอมและศิลปะลพบุรี ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปนาคปรกของขอมซึ่งเกิดขึ้นราวตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 ในรัชกาลของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 น่าจะได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปนาคปรกรุ่นเก่าในประเทศไทย ซึ่งเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับศิลปะทางภาคใต้ของประเทศอินเดีย และมีอายุอย่างช้าที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 10 ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ ผู้แปลให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ศิลปะสมัยศรีวิชัยและศิลปะลพบุรีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระพุทธรูปนาคปรกในสมัยนั้นอาจเป็นปางสมาธิหรือปางมารวิชัยก็ได้.
Boisselier, Jean
ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับศิลปะทวารวดี
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-004
- Item
- 2533
Part of บทความ
ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เชื่อว่า อาณาจักรทวารวดีส่วนใหญ่น่าจะตั้งอยู่บนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง จนกระทั่งถึงแถบเมืองเพชรบุรีทางทิศใต้ ศิลปะทวาราวดีมีแบบอย่างในการก่อสร้างที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานประติมากรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปยืนและธรรมจักร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดินแดนที่เป็นอาณาจักรทวาราวดีโดยเฉพาะจากนครปฐม สำหรับศิลปะทวาราวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ได้รับอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยที่แผ่ขยายขึ้นมายังภาคกลางและภาคตะวันออกของแหลมอินโดจีนทั้งหมด แม้จะไม่ได้เข้ามายังอาณาจักรทวาราวดีโดยตรงแต่ก็ทิ้งร่องรอยที่สำคัญไว้ทางสถาปัตยกรรมและลวดลายเครื่องประดับ อันอาจเห็นได้ชัดที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี.
Boisselier, Jean
การยกทัพของอาณาจักรศรีวิชัย
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-003
- Item
- 2514
Part of บทความ
จารึกของอาณาจักรศรีวิชัยที่เก่าที่สุดสลักอยู่บนก้อนหินซึ่งค้นพบที่เกดุกัน บุกิต เชิงเขาเซกุนตัง เมืองปาเล็มบัง ในเกาะสุมาตรา ศาสตราจารย์เซเดส์ มีความเห็นแย้งกับนักโบราณคดีอื่นที่สันนิษฐานว่า อาณาจักรศรีวิชัยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1225 แต่ ศาสตราจารย์ เซเดส์ คัดค้านว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ตั้งมาก่อนหน้านั้น สิ่งสำคัญในจารึกก็คือ ระยะเวลาการออกเดินทางจากราชธานีและการยกทัพออกจากจุดที่ยกพลขึ้นบก รวมทั้งระยะเวลาที่อาณาจักรศรีวิชัยได้ครอบครองประเทศ (วเนา) อาจสรุปได้ว่า จารึกนี้เป็นจารึกเพื่อฉลองการยกทัพของอาณาจักรศรีวิชัยที่มีชัยชนะต่อประเทศกัมพูชา โดยมีหลักฐานสนับสนุนดังนี้ 1) ระยะเวลาที่พ้องกันพอดี คือ พ.ศ. 1225 เป็นระยะเวลาสุดท้ายแห่งรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 2) พระราชาแห่งราชอาณาจักรศรีวิชัยทราบพระนามว่า ชัยนาศ ซึ่งอาจหมายถึง ผู้ทำลายชัยชนะ (ของศัตรู) หรือหมายถึง ผู้ทำลายชัย คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 4) คำว่า มินางะ ตามวัน อาจมาจากคำพื้นเมืองซึ่งหมายถึงกลุ่มชนชาติล้าหลัง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
การค้นคว้าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ เมืองนครปฐม
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-002
- Item
- 2512
Part of บทความ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงเป็นเจ้าฟ้าชายมงกุฎ ได้ทรงเน้นถึงว่า พระปฐมเจดีย์เป็นศาสนสถานที่น่าเคารพนับถือที่สุด สำคัญที่สุดในประเทศไทย และเป็นศาสนสถานที่เก่าแก่ที่สุด ในราว พ.ศ. 2405 พระองค์ทรงโปรดฯ ให้ก่อสร้างหุ้มพระปฐมเจดีย์องค์เดิมทั้งหมดไว้ภายในพระเจดีย์องค์ปัจจุบัน การริเริ่มของพระองค์ทำให้สังเกตเห็นว่า มีวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาซึ่งมีลักษณะดั้งเดิมอยู่ในบริเวณรอบ ๆ พระปฐมเจดีย์ ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาในศาสนา พระพุทธรูปมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ พระธรรมจักร ภาพสลักนูนต่ำบนหิน หรือปั้นด้วยปูน หรือดินเผา และพระพิมพ์ ใน พ.ศ. 2495 การค้นพบและการตีพิมพ์ของศาสตราจารย์ เซเดส์ เกี่ยวกับเศษจารึก 2 ชิ้น ทำให้กล่าวได้ว่า มีการใช้ภาษามอญอยู่ที่เมืองนครปฐมในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2509 ได้ค้นพบร่องรอยของเมืองโบราณตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก มีวัดพระประโทนเป็นจุดศูนย์กลาง เมืองนี้มีขนาดใหญ่ยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน การกำหนดอายุของเจดีย์จุลประโทนจากการก่อสร้าง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 การก่อสร้างเจดีย์พร้อมกับมีลานทักษิณซึ่งมีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ทิศ รวมทั้งลวดลายเครื่องประดับทำด้วยดินเผาในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 การก่อสร้างครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้ลานทักษิณหายไป รวมทั้งมีลวดลายเครื่องประดับปูนปั้น ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 15 การก่อสร้างครั้งที่ 3 อยู่ในราวต้นหรือกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งค้นพบวัตถุที่บรรจุเป็นศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงหันกลับไปยังลัทธิเถรวาทแบบดั้งเดิม.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
600 ปี แห่งประวัติเมืองพระนครของขอม
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-001
- Item
- 2532
Part of บทความ
ประวัติศาสตร์ของเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.1345 กษัตริย์ขอมที่ครองราชย์สมัยเมืองพระนครที่สำคัญได้แก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระองค์กระทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระจักรพรรดินับว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกในสมัยนี้และตั้งราชธานีที่เมืองหริหราลัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพระโคและปราสาทบากอง พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างสระบารายตะวันออกและปราสาทโลเลย ทรงสร้างปราสาทพนมบาแค็ง ปราสาทพนมกรมและปราสาทพนมบก พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรง พระเจ้าราเชนทรวรมันทรงสร้างปราสาทแม่บุญตะวันออกกลางบารายตะวันออกและปราสาทแปรรูป พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพนมชิสอร์ ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพิมานอากาศ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทบาปวน ปราสาทแม่บุญตะวันตก พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างประสาทนครวัด พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทตาพรหม ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาสม และปราสาท ทรงเป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเมืองพระนครและในประวัติศาสตร์ของขอม.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระนิพนธ์แปล เรียบเรียง
- TH Subhadradis 02 ACAR-02
- Series
- 2494-2542
Part of บทความ
บทความที่ ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดีศกุล ทรงแปล เรียบเรียง ที่จัดพิมพ์ในวารสาร ดังต่อไปนี้ คือ
- โบราณคดี
- เมืองโบราณ
- วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ศิลปวัฒนธรรม
- ศิลปากร
- สารคดี
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล