สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-096
- Item
- 2503
Part of บทความ
องค์การหรือสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ มีชื่อย่อว่า ICOM ย่อมาจากคำว่า International Council of Museums ประกอบด้วยสมาชิกจากชนชาติต่าง ๆ หลายชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2489 ICOM เป็นองค์การฝ่ายวิชาการในแผนกพิพิธภัณฑ์ของ Unesco ซึ่งมีกติกา (Constitution) และบทบัญญัติ ( by law) วางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ โดยมีสาระสำคัญคือ เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ มีประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิกกว่า 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย การประชุมของ ICOM ทุกคราวเป็นการรายงานกิจการพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศของตน ให้ประเทศที่เป็นสมาชิกทราบ การประชุมแต่ละคราวแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ ผู้แทนประเทศใดจะเข้าประชุมในแผนกที่ตรงกับวิชาและกิจการของตนก็ได้ เมื่อประชุมแผนกเสร็จแล้วถ้าเป็นเรื่องสำคัญก็มักจะมาพูดในการประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งและมีมติหลังการประชุมทุกคราว.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศิลปและประวัติศาสตร์สุโขทัย
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-095
- Item
- 2514
Part of บทความ
บทความทรงวิจารณ์ของศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ภายในกล่าวถึงบทความ "ศิลปสมัยสุโขทัย" ของ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี นายเขียน ยิ้มศิริ แปลต้นฉบับภาษาอังกฤษ บทความ "ประวัติศาสตร์สุโขทัย" นางจิรา จงกล เรียบเรียง บทความ "การเมืองของสุโขทัยจากศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ และ ๖๔" นายนิคม มูสิกะคามะ เรียบเรียง และบทความ "ประเพณีไทยสมัยสุโขทัย" น.ส.ทัศนีย์ นาวิกชีวิน เรียบเรียง
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-094
- Item
- 2546
Part of บทความ
ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในวิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ได้ถึงแก่กรรมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2512 สิริรวมอายุได้ 83 ปี ได้เข้ารับราชการในประเทศไทย 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 – 2472 ประวัติการทำงานของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้บันทึกไว้ในคำนำหนังสือ โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวมทั้งการฟังเรื่องราวมาจากศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และจากประสบการณ์ของหม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-093
- Item
- 2516
Part of บทความ
ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
วิจารณ์แบบศิลปในประเทศไทย ของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-092
- Item
- 2521
Part of บทความ
ผู้เขียนมีความเห็นตรงกันกับ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เห็นว่า คำว่า สมัยทางประวัติศาสตร์ และแบบของศิลปะนั้น เป็นระยะเวลาต่างกัน ไม่ควรนำมาใช้ปะปนหรือใช้แทนกัน แต่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ใช้คำว่าศิลปะมอญ แทนคำว่า ศิลปะทวาราวดี พร้อมทั้งยอมรับว่า คำว่า ศิลปะลพบุรี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมตามที่ ดร.พิริยะ กล่าว สำหรับศิลปะไทยที่เสนอให้แบ่งออกตามท้องถิ่น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะคงจะมีมากมายหลายสกุลช่างจนเป็นการยุ่งยากแก่นักศึกษา รวมทั้งเรื่องที่เสนอให้นำศิลปะอู่ทองมารวมกับ ศิลปะอยุธยา และเรียกว่า ศิลปะอยุธยา ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่า เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา และเสนอให้เรียกศิลปะก่อนหน้านั้นว่าศิลปะอยุธยา ผู้เขียนไม่เห็นด้วย สำหรับการศึกษาศิลปะศรีวิชัย หรือศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นคล้อยตามว่าควรจะแยกศึกษาจากกำเนิดที่มาต่าง ๆ กัน นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิจารณ์โบราณวัตถุที่นำมาจัดตั้งแสดงตามรูปในหนังสือ เฉพาะในส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกับ ดร.พิริยะ เท่านั้น.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
รูปพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย สมัยศรีวิชัยในพิพิธสถานแห่งชาติพระนคร
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-091
- Item
- 2517
Part of บทความ
ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปนี้ ขุดได้ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวบาน แสดงปางปฐมเทศนา พระเกตุมาลาค่อนข้างใหญ่ เครื่องอาภรณ์ประกอบด้วยกุณฑล กรองศอ และพาหุรัด มีสิงห์4 ตัว แบกบัลลังก์บนแท่นซึ่งรองรับฐานบัว มีผ้าทิพย์ห้อยลงมาเป็นรูปครึ่งวงกลม ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง สองข้างบัลลังก์มีดอกบัวซึ่งบนดอกบัวมีสตรียืนถือดอกบัวมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งแสดงปางประทานพร
ศ.เซเดส์ เชื่อว่า รูปบุคคลนี้เป็นรูปประโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงอย่างที่สุดกับประติมากรรมของสกุลช่างอินเดีย-ชวา และคิดว่าคงอยู่ในศิลปแบบนั้น แต่ ดร.เคมเปอร์ส (Dr. A-J. Bernet Kempers) เห็นว่าเป็นลักษณะของศิลปอินเดียทางทิศเหนือโดยเฉพาะ ไม่ใช่ลักษณะของประติมากรรมสัมฤทธิ์ในเกาะชวา.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
รายงานการเดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-090
- Item
- 2514
Part of บทความ
การสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษของคณะโบราณคดี ระหว่างวันที่ 21-27 มี.ค. 2513 ได้เยี่ยมชมโบราณวัตถุสถานที่สำคัญได้แก่ ที่อำเภออรัญญประเทศ ชมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สมาคมพุทธมามกสงเคราะห์ สำรวจซากโบราณสถานเมืองไผ่ ปราสาทเขาน้อย ที่อำเภอตาพญา ชมปราสาททัพเสียม ปราสาทหนองไผ่และประสาทสะล๊อกก๊อก ที่อำเภอวัฒนานคร ชมปราสาทสระหิน เสาประดับกรอบประตูศิลาจากปราสาทบ้านน้อย วัดนครธรรม ปราสาทอุโมงค์ ทับหลังศิลาหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านกรวดและปราสาทใบแขก ที่อำเภอขุนหาร จังหวัดศรีสะเกษ ชมปราสาทตำหนักไทร ทับหลังศิลาที่วัดภูฝ้าย และปราสาทบ้านเยอร์ ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชมปราสาทภูมิโพน.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
รายงานการนำนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรไปทำการขุดค้นที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-089
- Item
- 2502
Part of บทความ
ครั้งที่ 1 คณะโบราณคดีนำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองที่ซากพระเจดีย์นอกคูเมือง บริเวณแนวปูนปั้นที่เคยใช้ประดับพระเจดีย์ได้พบปูนปั้นจำนวนมาก และวัตถุต่างๆ ที่น่าสนใจ 30 ชิ้น มีทั้งองค์พระพุทธรูป ฐานพระพุทธรูป ฐานบัวพระพุทธรูปและพระบาท ครุฑและปีกครุฑ เศียรพระพุทธรูป ลายก้านขด องค์เทวรูป พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์แบบทวาราวดีปางเทศนาสูง 13 เซนติเมตร และพระพิมพ์ดินเผาแบบทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สูง 8 ½ เซนติเมตร หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พระเจดีย์องค์นี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยทวาราวดีรุ่นหลัง ครั้งที่ 2 ได้นำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองอีก ส่วนใหญ่พบวัตถุปูนปั้นและได้ขุดพบพระพุทธรูปปูนปั้นยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นแบบอู่ทองยุคที่ 1 สูง 34 เซนติเมตร เศียรเทวดาแบบทวาราวดีรุ่นหลังขนาดสูง 15 เซนติเมตร และลวดลายปูนปั้นแปลกๆ เช่นลายบันได ลายประจำยาม ลายวงกลมโค้งต่อกัน จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่า ศิลป ณ.เมืองอู่ทองมีสืบลงมาตั้งแต่แบบทวาราวดีจนถึงแบบอู่ทอง สันนิษฐานว่า เมื่อศิลปแบบคุปตะแพร่ออกมาจากประเทศอินเดีย คงจะมาเจริญแพร่หลายที่เมืองนครปฐม ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลก่อน ต่อจากนั้นจึงได้แผ่ขึ้นมายังอู่ทอง ทำให้ได้รับอิทธิพลของชาวพื้นเมืองมากขึ้นและฝีมือก็คลายลง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
รอยพระพุทธบาทคู่ที่สระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-088
- Item
- 2529
Part of บทความ
มีการค้นพบโบราณวัตถุชิ้นใหม่ที่สระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี คาดว่าสลักขึ้นในสมัยทวาราวดี อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-15 เชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาท เนื่องจากมีธรรมจักรสลักอยู่บนฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ส่วนหลุมเสาที่อยู่ระหว่างฝ่าพระบาทนั้น ดร.นันทนา ชุติวงศ์ กล่าวว่าอาจทำขึ้นเพื่อรองรับคันฉัตรอันเป็นเครื่องสูงและมักปรากฏอยู่ร่วมกับพระพุทธรูปและสัญลักษณ์แทนพระองค์อื่น ๆ นอกจากนั้น รอยพระทับของฝ่าเท้าไม่ใช่รอยเท้าที่นูนขึ้นเหนือฝ่าเท้าดังตัวอย่างพระบาทคู่อื่น ๆ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
เมืองฟ้าแดด
- TH Subhadradis 02 ACAR-01-087
- Item
- 2500
Part of บทความ
เมืองฟ้าแดดมีบริเวณล้อมรอบหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กำแพงเมืองประกอบด้วยเชิงเทินดิน มีคูน้ำอยู่กลาง ภายในเชิงเทินมีร่องรอยของเมืองที่เก่าและเล็ก มีพระธาตุยาคู ทางทิศตะวันตกของพระธาตุยาคูมีเนินอีกแห่งหนึ่งซึ่งได้ค้นพบพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ ทิศเหนือของเนินมีสระขนาดใหญ่ ใต้หมู่บ้านเสมามีวัดปัจจุบันชื่อ วัดโพธิศรีเสมา ซึ่งรวบรวมแผ่นหินทรายทำเป็นรูปใบเสมาขนาด 105 x 85 x30 เซนติเมตร ซึ่งค้นพบทั้งในและนอกเชิงเทินเมืองฟ้าแดด บางแผ่นมีภาพสลักศิลปแบบทวาราวดี แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ขั้นที่ 1 มี 4 แผ่น แผ่นที่ 1 แสดงรูปพระพุทธองค์ปางเสด็จลงจากดาวดึงษ์ แผ่นที่ 2 แสดงภาพพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังเมืองกบิลพัสด์ภายหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว แผ่นที่ 3 แสดงภาพเทวดาหรือเจ้าชาย แผ่นที่ 4 แสดงภาพบุคคลกำลังรับคำสั่งจากเจ้าชายและเจ้าหญิงหน้าบรรณ ศาลากลางป่า ขั้นที่2 มี 2 แผ่น สลักแบนกว่าขั้นที่ 1 แผ่นที่1 แสดงรูปเจ้าชายจ้องมองพระพุทธองค์ ซึ่งกำลังประทับอยู่เหนือเมฆ แผ่นที่ 2 แสดงถึงเวสสันดรชาดก ขั้นที่ 3 มี 1 แผ่น แสดงภาพพระพุทธองค์และสานุศิษย์.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล